ลายไทยบนปรางค์วัดจุฬามณี

ลายหน้ากระดานจีน6
ลายหน้ากระดานจีน
ซุ้มประตูเรือนแก้ว5พญานาค
ซุ้มประตูเรือนแก้ว5พญานาค

ลายปูนปั้นบนปรางค์สร้างจากศิลาแลง ที่ วัดจุฬามณี อ.เมือง จ.พิษณุโลก นั้นสื่อได้ถึงอารยธรรมความเจริญงานศิลปกรรมและสถาปัตยกรรมไทยเป็นคติแบบไทยในความเชื่อและนับถือบูชาทางศาสนา ประกอบกันหลายๆด้าน จวบจนผ่านกาลเวลามาจนปัจจุบัน     ได้กลายมาเป็นเครื่องบ่งบอกยุคสมัยของกรุงศรีอยุธยา มีการผสมศิลปะแบบขอมและจีนให้รู้ถึงการเชื่อมโยงการติดต่อต่างชาติกว่า500ปี

ลายปูนปั้นประดับ เช่น

เทวดาและเฟื่องอุบะพวงสด
เทวดาและเฟื่องอุบะพวงสด

ลายเฟื่องอุบะสลับฟันปลาแบบขอมสามเหลี่ยมมีช่อดอกไม้แบบจีนคล้ายการแขวนห้อยดอกไม้สดประดับบนผนังฝั่งบน

–         ลายกรวยเชิงมีส่วนโค้งมนเป็นกรอบอิทธิพลจีนแต่ภายในมีลายกนก

แบบขอม ที่ผสมคลายมาเป็นแบบกรุงศรีอยุธยา

ประตูหลอก32
ประตูหลอก

–         ลายเทวดาพนมชั้นบนเหนือเฟื่องอุบะพวงสด เทวดาที่หน้าตาสงบนิ่งในดอกไม้ สลับกับกลีบบัวหงายที่สวยอ่อนช้อย

–         ประตูหลอกเป็นคติขอม มีลายก้านเกลียวเทพ ลายเทวดาพนมผสมอิทธิพลจีน

หงส์ลายแถบย้อมุม
หงส์ลายแถบย่อมุม

ซุ้มประตูคติขอมหน้าบรรณซ้อนชั้น เป็นซุ้มเรือนแก้วพญานาคห้าเศียร

–         ลายแถบเหนือชั้นหงส์รอบปรางค์ เป็นลวดลายประดับแนวจีนที่ชัดเจนมากของปรางค์นี้

กรวยเชิง22
ลายกรวยเชิง

–         ลายดอกซีก ดอกซ้อนเป็นแถบรอบปรางค์ชั้นต่ำลงมาจากหงส์ ก่อนจะพัฒนามาเป็นลายประจำยามก้ามปูที่อ่อนช้อยตามวัดวาอารามในปัจจุบัน

หากกล่าวถึง ลายหงส์คาบสร้อยดอกไม้ถือว่าเป็นอัตตลักษณ์ของลายปูนปั้นแห่งเดียว ที่วัดจุฬามณี แต่ละตัวลวด

 

ลายแตกต่างกันในรายละเอียด เช่น ลายที่หางหงส์,ลายที่ปีก,ลายสร้อยดอกไม้ที่

เทวดาและเฟื่องอุบะพวงสด
เทวดาและเฟื่องอุบะพวงสด

คาบ,การก้าวเท้า ถือเป็นงานศิลป์ของช่างปั้นคนนั้นในสมัยกรุงศรีอยุธยา

นี่คือลายละเอียดบนปรางค์ เพียงบางสิ่ง  ยังมีเรื่องราวที่สามารถเรียนรู้และประทับใจและภาคภูมิใจในความเป็นไทยแม้กาลเวลาจะผ่านไปเราควรช่วยกันอนุรักษ์ รักษาโบราณสถานไว้ให้คงคู่ไทยตลอดไป…วัดจุฬามณี…พิษณุโลกบ้านเรา

อุบะสามเหลี่ยม1
ลวดลายอุบะสามเหลี่ยม

กล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ

รถรางนำเที่ยวเมืองพิษณุโลก

24 มีนาคม 2556

แสดงความคิดเห็น