บูรณะหลังคาโบสถ์วัดดังเจอกรุพระเก่า

00010003เมื่อเวลา 09.39 น. วันที่ 19 มี.ค.2556  พระครูสิทธิธรรมวิภัช เจ้าอาวาสวัดราชบูรณะ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก ได้ทำพิธีนำพระนางพญาที่พบบนหลังคาอุโบสถลงมา เพื่อเก็บไว้ให้กับผู้ที่ร่วมทำบุญซื้อกระเบื้องและผู้มีจิตศรัทธาได้เช่าบูชาจำนวนหนึ่ง หลังจากกรมศิลปากรได้อนุมัติงบประมาณมาให้ทำการบูรณะหลังคาอุโบสถ โดยว่าจ้างห้างหุ้นส่วนจำกัด จ.วิศวะก่อสร้าง ในวงเงินงบประมาณ 1,500,000 บาท และทางวัดต้องหาเงินสมทบอีกจำนวนหนึ่ง สัญญาจ้างกำหนดให้แล้วเสร็จภายในวันที่ 7 พ.ค.2556  ต่อหน้าสื่อมวลชนในจังหวัดทุกแขนง0004

พระครูสิทธิธรรมวิภัช เปิดเผยว่า อุโบสถหลังนี้สันนิษฐานว่าสร้างมาในสมัยสุโขทัย มีพระประธานที่ชาวบ้านเรียกกันว่าหลวงพ่อขาว ก่อนหน้านี้เคยมีการบูรณะหลังคามาแล้วครั้งหนึ่ง ช่วงตัดถนนมิตรภาพผ่านวัดราชบูรณะและวัดนางพญา หรือ ประมาณ 50 ปีที่แล้ว เจ้าอาวาสสมัยนั้นได้ทำพิธีหว่านพระนางพญาไว้ใต้กระเบื้องจำนวนมาก อาทิ พิมพ์เข่าโค้ง, เข่าตรง, เทวดา และสังฆาฏิ ทั้งนี้มีพระนางพญาจำนวนหนึ่งด้านหลังพิมพ์สัญลักษณ์เจดีย์ไว้ด้วย เบื้องต้นรื้อกระเบื้องไปแล้ว 3 ด้านพบกว่า 3,000 องค์ ซึ่งพระนางพญาที่พบครั้งนี้จะเก็บไว้ให้กับญาติโยมที่มาทำบุญซื้อกระเบื้องมุงหลังคาอุโบสถกับทางวัด และอีกจำนวนหนึ่งจะแบ่งให้ผู้มีจิตศรัทธา ได้เช่าบูชาเก็บไว้เป็นที่ระลึก โดยตั้งชื่อพระที่พบว่ารุ่น “บูรณะหลังคาอุโบสถ์”

 0005

“วัดราชบูรณะ  เป็นวัดเก่าแก่โบราณวัดหนึ่งของจ.พิษณุโลก มีอายุถึงสมัยสุโขทัย วัดแห่งนี้เดิมมีอาณาเขตติดต่อกับวัดนางพญา  ในเดือนเมษายน พ.ศ. 2502  กรมทางหลวงได้ตัดถนนสายพิษณุโลก-หล่มสัก คือ ถนมิตรภาพ  ถนนสายนี้ได้ตัดผ่านเข้าไปในเนื้อที่วัดนางพญาและวัดราชบูรณะ  ถนนมิตรภาพได้ตัดเฉียดพระอุโบสถไปอย่างใกล้ชิด  จนต้องรื้อย้ายใบเสมามุมพระอุโบสถด้านตะวันออกเฉียงเหนือ  0007

0008กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนวัดราชบูรณะไว้เป็นโบราณสถาน  ในราชกิจจานุเบกษา  เล่มที่  53ตอน  34  วันที่  27 กันยายน  พ.ศ. 2479 และกรมศิลปากรได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์วัดราชบูรณะ  ดังนี้  คือ ปี พ.ศ. 2528  บูรณะวิหารหลวง  ปี พ.ศ. 2530  อนุรักษ์ภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ และปี พ.ศ. 2533  บูรณะเจดีย์หลวง  โดยเสริมความมั่นคงทางรากฐาน  และต่อยอดพระเจดีย์ทรงลังกาซึ่งหักชำรุดหายไปให้บริบูรณ์

 0008

ในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้นสันนิษฐานว่าได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์  ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ 4   เพราะได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ แล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง  เรื่องรามเกียรติ์  และมีการบูรณปฏิสังขรณ์พระวิหารแล้วให้ช่างเขียนภาพจิตรกรรมฝาผนัง  เรื่องพระพุทธประวัติ    โดยจิตรกรรมฝาผนังภายในอุโบสถนั้น ได้รับความเสียหายจากน้ำฝนและความชื้น จากสภาพหลังคาที่อายุเก่าแก่ จึงนำมาสู่การบูรณะครั้งล่าสุดในเดือนมีนาคม 2556 นี้

 

แสดงความคิดเห็น