เริ่มติดตั้งพระอัฏฐารสวัดวิหารทอง

a02a07วันที่ 11 มีนาคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ที่วัดวิหารทอง โบราณสถานสำคัญในเขตพระราชวังจันทน์ อ.เมือง จ.พิษณุโลก ขณะนี้ผู้รับเหมาที่ได้รับการว่าจ้างจากกรมศิลปากร กำลังดำเนินการติดตั้ง พระอัฏฐารส องค์จำลอง ขนาดสูง 10 เมตร  บริเวณวัดวิหารทอง โดยทีมงานได้ติดตั้งโครงเหล็ก บนวิหาร หันหน้าองค์พระมาทางทิศตะวันออก โครงเหล็ก จะเป็นแกนหลักในการยึดส่วนประกอบขององค์พระ ที่หล่อด้วยปูน และแยกชิ้นส่วนประกอบจากโรงหล่อมาเป็นชิ้น ๆ การดำเนินงานขณะนี้ได้เตรียมเครื่องปั่นจั่นขนาดใหญ่มาเตรียมการยกชิ้นส่วนเข้าประกอบเป็นองค์พระ

a03

การดำเนินการติดตั้งพระอัฏฐารส องค์จำลอง ที่วัดวิหารทอง มีที่มาที่ไปจากการดำเนินงานของ คณะกรรมการและคณะทำงานการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังจันทน์ ภายใต้กรอบความร่วมมือระหว่างกรมศิลปากร มูลนิธิเย็นศิระเพราะพระบริบาลและบริษัท ปตท.สำรวจและผลิตปิโตรเลียม จำกัด มหาชน เมื่อปี 2555 เพื่อติดตามความคืบหน้าการดำเนินงานตลอดจนปัญหา อุปสรรค ของโครงการอนุรักษ์และพัฒนาพระราชวังจันทน์และศูนย์ประวัตศาสตร์พระราชวังจันทน์ โดยมีผู้แทนจากกรมศิลปากรและหน่วยงานที่เกี่ยวข้องร่วมดำเนินงาน มีการพัฒนาพระราชวังจันทน์ในหลาย ๆ ด้าน และมีข้อสรุปส่วนหนึ่งว่า จะดำเนินการจัดสร้างพระอัฏฐารสองค์จำลองที่วัดวิหารทอง ประดิษฐาน ณ วัดวิหารทอง ตามข้อมูลทางประวัติศาสตร์ที่ระบุชัดว่า ในอดีต มีพระอัฏฐารส ประดิษฐานอยู่ที่วิหาร วัดวิหารทอง

a06

DSC_0189พระอัฏฐารส มีพระนามเต็มว่า พระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ศิลปะสกุลช่างสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุ ๗๐๐ ปี เป็นพระพุทธรูปยืนที่มีความสูงที่สุด ในกรุงเทพมหานคร มีความสูงถึง ๕ วา ๑ ศอก ๑๐ นิ้ว (๒๑ ศอก ๑ นิ้ว) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ โดยไม่มีการเชื่อมต่อ นับว่าเป็นการหล่อพระพุทธรูปด้วยโลหะ ที่มีขนาดสูงใหญ่ที่สุดเป็นครั้งแรก ในประวัติศาสตร์ชนชาติไทย เดิมประดิษฐานอยู่วัดวิหารทอง อ.เมืองพิษณุโลก วัดประจำพระราชวังจันทน์ ซึ่งเคยเป็นที่ประทับของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่พระวิหาร วัดสระเกศ กรุงเทพมหานครa09

วัดวิหารทอง วัดนี้ตั้งอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำน่าน เยื้องกับวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เล็กน้อย เป็นวัดขนาดใหญ่อีกวัดหนึ่งในยุคสมัยสุโขทัย ที่สร้างอยู่ใกล้กับพระราชวัง (พระราชวังจันทร์) มีวัดที่สร้างอยู่ใกล้ๆ กันอยู่เหนือขึ้นไป ก็คือ วัดสุดสวาสดิ์ กับวัดไก่เขี่ย (ไกล่เกลี่ย) คงหลงเหลือให้เห็นในปัจจุบัน คือ พระวิหารและพระเจดีย์ บ่งบอกให้เห็นว่าในอดีต วัดวิหารทองเป็นวัดใหญ่ และมีความสำคัญกับบ้านเมืองในยุคสมัยที่มีการสร้างเมืองสองแคว ความสำคัญของวัดนี้อยู่ที่ว่า เดิมเป็นที่ประดิษฐานของพระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร ซึ่งต่างจากพระอัฏฐารสของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ (วัดใหญ่) เพราะเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ นับเป็นพระพุทธรูปยืนที่สูงใหญ่ ที่หล่อขึ้นในยุคสมัยสุโขทัยเพียงองค์เดียวของประเทศไทย ที่มีความสำคัญคู่กับพระพุทธรูปนั่งทั้งสามองค์ (พระพุทธชินราช พระพุทธชินสีห์ พระศาสดา)

a11
พระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร วัดสระเกศ กรุงเทพฯ

เมื่อรัชกาลที่ 3 เห็นจะเป็นเพราะด้วยวิหารหักพังทรุดโทรมไปมากแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดฯให้อัญเชิญพระอัฏฐารสที่อยู่ในวิหารลงมากรุงเทพฯ ทรงสร้างวิหาร ประดิษฐานไว้ที่วัดสระเกศ เมื่อปี พ.ศ.2368 ถึงรัชกาลที่ 4 จึงทรงเฉลิมพระนามพระอัฏฐารสองค์นี้ว่า พระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร

a05ชมภาพวิดีโอกำลังดำเนินการติดตั้ง

แสดงความคิดเห็น