ในครั้งสมัยพระบรมราชาธิราชที่2 อยุธยาตอนต้น ได้ทรงส่งพระราเมศวรมาเป็นอุปราชปกครองพิศณุโลกย์ ที่ถือว่าเป็นเมืองลูกหลวงเป็นหัวเมืองฝ่ายเหนือในสมัยอยุธยา มีการทำศึกกับล้านนาโดยพระเจ้าติโลกราช ปีพ.ศ.1911
ต่อมา พระราเมศวรได้ขึ้นครองราชย์ ทรงพระนามว่าสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ ทรงเสด็จประทับครองเมืองพิษณุโลกตั้งแต่ พ.ศ.2006-พ.ศ.2031 รวมทั้งสิ้น25ปี ที่พิษณุโลกได้เป็นเมืองหลวง ได้มีร่องรอยทางประวัติศาสตร์ ด้านศาสนา โดยมีโบราณสถานเป็นสถาปัตยกรรม ประติมากรรม ศิลปกรรมที่เป็นอัตตลักษณ์ ให้คนรุ่นหลังได้สืบสานประวัติศาสตร์ การผสมผสาน อารยธรรมความเจริญทางด้านวัตถุและจิตใจ
สมเด็จพระบรมไตรโลกนารถได้ทรงผนวช 8 เดือน15วัน และมีทหารหาญร่วมผนวชถึง2,348รูป ทำนุบำรุงศาสนา สร้างองค์พระปรางค์ศิลปะแบบขอม ก่อด้วยศิลาแลง ลวดลายปูนปั่น ลายหงส์คาบสร้อยดอกไม้ที่เป็นอัตตลักษณ์หนึ่งเดียว ลายเฟื้องอุบะ ลายไทยที่อ่อนช้อย อีกทั้งทรงบูรณะวัดวาอาราม เพื่อให้เป็นแบบอยุธยา สร้างอารยะที่เป็นหนึ่งของไทย บอกกล่าวเล่ายุคสมัยชาติไทย
ได้ทรงเผยแผ่ให้มีการเทศน์มหาชาติคำหลวง มหาเวชสันดรชาดก 13 กัณฑ์,และในด้านการปกครองได้นำการปกครองแบบจัตุสดมภ์ เวียง,วัง,คลัง,นา ทำให้พิษณุโลกสมัยนั้นเป็นเมืองหลวง สมัยอยุธยาสามารถสงบสุขได้นานถึง 25 ปี มีพงศาวดารลิลิตยวนพ่ายบันทึกประวัติศาสตร์ ปักหมุดยืนยัน ความสำคัญของวัดจุฬามณี
อีกทั้งยุคต่อมาในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช ทรงมาประทับและพระองค์ได้ทรงดำเนินพระราชกิจเช่นเดียวกัน ในด้านการศาสนาได้สร้างรอยพระพุทธบาทโดยนำผ้าขาวไปทาบรอบพระพุทธบาทที่เขาสุวรรณบรรพต จังหวัดสระบุรีมาจำลองที่วัดจุฬามณี สร้างมณฑปครอบเพื่อเป็นศูนย์รวม ที่ยึดเหนี่ยวจิตใจให้กับประชาชนสมัยนั้น
ได้บันทึกไว้ในศิลาจาลึก ในศิลายังทรงบันทึกประวัติฯในสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถไว้อีกด้วย
สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้กล่าวว่าการที่มีการบวชพร้อมกันในสมัยพระบรมไตรโลกนารถ
2,348รูปมิน่าจะจำวัดอยู่วัดจุฬามณีเพียงวัดเดียวเป็นแน่ แสดงถึงว่าเมืองพิษณุโลกสมัยนั้นต้องมีวัดวาอารามมากมาย อย่างแน่นอน
จวบจนสมัย รัชกาลที่ 5 ได้สืบและค้นพบหลักศิลาจาลึกแปลได้ตามข้อมูลข้างต้นที่ได้นำเสนอมา การค้นหาวัดจุฬามณี เพื่อหาอารยธรรมความเจริญของประวัติศาสตร์ชาติไทย
สิ่งที่น่าสนใจ
ปรางค์ประธานศิลาแลง ที่เชื่อว่าประดิษฐานพระเกศาธาตุ ทรงอิทธิพลแบบขอมที่มีมุกกสันบันไดประตูหันหน้าไปทางทิศตะวันออก ส่วนยอดพระปรางค์ชำรุดหักไป ตัวองค์ประกอบที่ภายนอกประดับปูนและมีลายปูนปั้นตามคติโลกภูมิชั้นฐานไพที ,มียักษ์ภูต,สูงขึ้นไปมีลายหงส์คาบสร้อยดอกไม้รอบองค์ปรางค์ที่เป็นอัตลักษณ์ ของพิษณุโลกแต่ละตัวลวดลายต่างๆกันจึงเป็นหนึ่งเดียวและมีลายไทยต้นแบบที่อ่อนช้อยลายเฟื่องอุบะ,ลายกนก,ลายซุ้มที่มีพญานาคตัวเหรา สูงขึ้นมีปูนปั้นเทพพนมฯลฯ ที่หาชมได้ยากนับวันจะชำรุดหายไป
– ใบเสมาขนาดใหญ่ทำจากหินชนวนบางใบสูงถึง130ซ.ม.ของ อุโบสถหลวงพ่อขาว
– วิหารหลวงพ่อคงองค์สีเหลือง ด้านหน้ามีพระสังกัจจายน์ และขวาหลวงพ่อคงมีหลวงพ่อดำที่อัญเชิญมาจากจากวัดจูงนาง
– มณฑปพระพุทธบาทที่มีประวัติฯการสร้างในสมัยพระนารายณ์มหาราช ทรงนำผ้าขาวไปทาบมาจากสระบุรีที่โดดเด่นหลังมณฑปมีหลักศิลาจารึกเขียนเรื่องประวัติฯสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถที่ครองเมืองพิษณุโลก ,เรื่องกำเนิดรอยพุทธบาท,เรื่องการสาปแช่งในการห้ามเคลื่อนย้ายหรือห้ามทำลายเมืองที่มีพุทธศาสนาของเรา
– กราบนมัสการหลวงพ่อเพชรที่เป็นปางขัดสมาธิเพชร ฐานบัวประดับกระจกหุงสี ตามพุทธประวัติก่อนตรัสรู้ เพื่อความสำเร็จและความมั่นคง ในวิหารที่สร้างยุคใหม่ ที่สร้างบนรากฐานเดิมยังเหลือฐานและผนังช่องแสงลูกตั้ง วิหารที่สร้างแกนเดียวกับพระ ปรางค์หันไปทางทิศตะวันออก
– อุโบสถ์หลังใหม่ที่สร้างกว่า20ปี ทรงจัตุรมุขที่หน้าจั่วมีตราประจำของพระเจ้าอยู่หัว ประดิษฐานหลวงพ่อเพชรพุทธศิลป์ที่อ่อนช้อยแบบสุโขทัย แต่ปางขัดสมาธิเพชร มีใบเสมาบนฐานที่มียักษ์แบก ใบเสมาหน้าประตูมีประวัติการสร้างเปิดโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ 30ธันวาคม 2539 กำแพงแก้วมีนางฟ้าเทวดาพนมล้อมอุโบสถ์
– ซุ้มประตูที่บูรณะมีลายไทยแบบวัดจุฬามณีทุกทางเข้ามีพระอินทร์ที่ดูแลชั้นจุฬามณีตามชื่อ สวรรค์ชั้นสูงสุด
ทุกซุ้มที่ทำใหม่โดยนำลายเดิมจากองค์ปรางค์มาสร้าง
– ประเพณีทางศาสนา ที่มีมาสมัยอดีต การเทศน์มหาคำหลวงเข้าพรรษาและการบวชนาคหมู่ในวันครบรอบของพระชนม์มายุของพระเจ้าอยู่หัวฯและพระราชินีนารถ
อีกมากมายของวัดจุฬามณีเป็นที่มาของพิษณุโลก และประวัติศาสตร์ของชาติที่สร้างอารยธรรม ที่มีความรุ่งเรืองทางศาสนา,ทางการเมืองการปกครอง,ทาง สถาปัตยกรรม,ศิลปกรรมไทย พิษณุโลกจึงเป็นเมืองที่มีความยิ่งใหญ่ในประวัติศาสตร์ ของชาติไทย
วัดจุฬามณีได้ขุดตบแต่ง จัดผังใหม่เมื่อปลายปี2555 เห็นภาพประวัติฯได้ชัดเจน และมีแผนทำภาพข้อมูลอธิบาย สามารถชมและเข้าใจได้ง่ายเชิญพาครอบครัวไปชม จะได้ประโยชน์มาก
กล้าณรงค์ ภักดิ์ประไพ
รถรางนำเที่ยวเมืองพิษณุโลก
3 มีนาคม 2556