พระปรางค์วัดใหญ่ วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ วรมหาวิหาร อ.เมือง จ.พิษณุโลก ในช่วงงานวัดใหญ่ของทุกปี เป็นโอกาสอันดี สำหรับบางท่านที่อาจจะไม่เคยขึ้นไปกราบนมัสการองค์สถูปเจดีย์ ที่เชื่อกันว่าบรรจุพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า เป็นศูนย์รวมยึดเหนี่ยวจิตใจชาวพุทธศาสนิกชน โดยเฉพาะที่สำคัญของพระมหากษัตริย์คู่พิษณุโลกสองแควเนิ่นนานมาตั้งแต่สมัยสุโขทัยในพระมหาธรรมราชาที่1ลิไท
เดิมนั้นพระปรางค์วัดใหญ่น่าจะเป็นเจดีย์ทรงดอกบัวตูม หรือพุ่มข้าวบิณฑ์ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนารถ สมัยอยุธยาตอนต้น พิษณุโลกได้เป็นเมืองหลวงถึง 25 ปี จึงทำนุบำรุงพุทธศาสนานำเอาศิลปะแบบอยุธยาเข้ามาสร้างให้ มีเอกลักษณ์เพื่อเป็นขอบเขตอาณาจักร สัญลักษณ์ ขอบเขตที่เป็นพื้นที่ๆ ห้ามลุกลาน เจดีย์จึงได้ฟอกบูรณะปรับปรุงให้เป็นพระปรางค์ตามยุคสมัย เป็นพระปรางค์ทรงคล้ายฝักข้าวโพด มีการซ่อมแซมเปลี่ยนแปลงโดยการบูรณะตามยุคสมัยกาลเวลา เช่น การนำเอากระเบื้องโมเสทที่ฉาบด้วยทองไปปิดทำให้เกิดความสวยงาม เรียก“นพเก้า” ปัจจุบันมีการบูรณะใหม่เปลี่ยนกระเบื้องโมเสค”นพเก้า” ลอกปูนที่หมดอายุนำเอาปูนปั้นรูปพญาครุฑยุดนาคลงทั้ง12ตนและนำครุฑที่เรียกครุฑพาห์ทิศละ1ตนและยักษ์พระเวสสุวัณทิศละ6ตน สี่ทิศด้วยกันที่เห็นได้ในปัจจุบันนี้
ครั้งในข่วงสมัยรัชกาลที่7 ได้กำหนดให้มีงานประจำปีๆกำหนด ขึ้น 6 ค่ำ เดือน3 จึงเกิดเป็นงานสมโภชประจำปีๆละครั้ง ที่สำคัญได้ให้โอกาสประชาชนที่ศรัทธาได้เข้าใกล้องค์สัมมาสัมพุทธเจ้า กราบพระบรมสารีริกธาตุ โดยทางวัดเปิดให้ขึ้นพระปรางค์ ในช่วงงานสมโภชพระพุทธชินราชเป็นประจำทุกปี ซึ่งต่างจากเจดีย์หรือพระธาตุจังหวัดอื่นๆที่มักจะไม่ให้คนทั่วไปได้เข้ากราบและได้ชมเป็นที่อันสงวนถึงความศักดิ์สิทธิต้องห้าม (โดยเฉพาะผู้หญิง) จึงถือว่าน่าเป็นโอกาสที่ดี ในงานวัดใหญ่ทุกๆปีหากมีโอกาสควรขึ้นไปกราบนมัสการ ชมความสวยงามศิลปะไทย
สิ่งที่น่าประทับใจ
– สถูปเจดีย์สีทองที่เป็นทรงลังกาหรือคล้ายระฆังคว่ำบรรจุพระบรมสารีริกธาตุศูนย์รวมจิตใจพุทธศาสนิกชน
– บนฐานบัลลังก์สามชั้น ลงพื้นสีชาดแดงและปิดทองมีลายไทยลายประยามประดับกระจก2ชันบน,กระเบื้องทอง,คาดลายดอกไม้ฐานบน,คาดลายประจำยามก้ามปูฐานกลาง,ลายกระจังตาอ้อยคว่ำหงายฐานล่าง, ด้านหลังประดิษฐานพระปรางมารวิชัยในคูหา ,ตัวดาวเพดานบูรณะคราวเดียวกันลงชาดปิดทอง ล่องลงสีเขียวที่รอบดาวเดือน สีเขียวเข้ามาสร้างความสวยงามตามสมัยนิยม หากได้นมัสการจะรู้สึกความอิ่มใจอิ่มตาในความสวยงามพุทธศิลป์
– บานประตูใหม่จากที่เริ่มผุพัง แกะลายไทยกนกเปลวสีทองล่องลงสีชาดแดง(บานเดิมอยู่หน้าพิพิธภัณฑ์ให้ชม)
– ขั้นบันได25ขั้น เสริมราวแสตนเลท เพื่อความปลอดภัย(เดิมหากมีงานประจำปีจะเป็นลำไม้ไผ่ให้ชาวเมืองได้จับขึ้นไป)มีพญานาค7เศียรเป็นราวบันไดให้คนสมัยก่อนได้ ค่อยๆลูบราวหรือเกล็ดพญานาคขึ้นไปอย่างมีสติแฝงกรุศโลบาย หน้าพญานาคมีเทวดา2องค์คอยดูแลเรียกเทพดาพนมดั้งเดิมจากรูปภาพเก่าเล่ากาล อ้างอิงในสมัยรัชกาลที่7เสด็จ พ.ศ.2469 ขวามือทางขึ้นพระปรางค์ มีพระองค์ใหญ่ที่ชำรุดเพียงองค์เดียว สิงห์สองตัวบนฐานเฝ้าประตู ระเบียงคดที่สร้างในยุคหลังที่มีซุ้มประตูลายไทย
– ซุ้มประตู ประกอบเครื่องบนด้วยช่อฟ้าใบระกาหางหงส์ หน้าจั่วลายพุ่มข้าวบิณฑ์เทพพนม ในซุ้ม เรือนแก้วลายกนก เป็นสัญลักษณ์ ปิดทองประดับกระจกหุงเน้นช่อใบด้วยสีน้ำเงินสีกระจก ขั้นด้วยลายกระจัง,แถบลายประจำยามก้ามปู อีกมากมายที่ให้สังเกตและศึกษาศิลปกรรมไทย หลากหลายยุคสมัย เพลิดเพลินกับความรู้และมุมถ่ายภาพที่สวยงามน่าเก็บบันทึก เพื่อบอกเล่าความเป็นไทย ก่อนที่จะไม่รู้ตัวตน ว่าเราเป็นใคร ช่วยกันเผยแผ่ ก่อนอาเซียนฯ จะทำให้เราไม่เหลือความเป็นชาติไทย
กล้าณรงค์ ภักดิ์ประไพ
รถรางนำเที่ยวพิษณุโลก
21 กุมภาพันธ์ 2556