ครั้งหนึ่ง…อุกกาบาตตกที่พิษณุโลก

วัตถุลึกลับเทียบกับอุกาบาต03thai_meteorite_map15 กุมภาพันธ์ 2556 เกิดปรากฏการณ์ทางดาราศาสตร์ที่สร้างความขวัญผวากับชาวโลก อุกกาบาติตกที่เมือง ‘เชเลียบินสค์’ ทางภาคกลางของรัสเซีย 16 ก.พ.56 องค์การนาซ่าของสหรัฐฯ ประเมินว่า อุกกาบาตที่ตกลง มีขนาดเท่ากับรถเมล์ 1 คัน มีน้ำหนักราว 7 พันตัน และแรงระเบิดเทียบเท่าระเบิดปรมาณู 20 ลูก

ทั้งนี้ อุกกาบาตลูกนี้ ถือว่ามีขนาดใหญ่ที่สุดที่ตกสู่โลก ตั้งแต่เคยมีการบันทึกสถิติไว้ในช่วงศตวรรษที่ผ่านมา และเกิดขึ้นเพียงไม่กี่ชั่วโมง ก่อนที่ดาวเคราะห์น้อยขนาดกว้างเท่ากับสนามฟุตบอลที่ชื่อ 2012 ดีเอ 14 เดินทางเฉียดใกล้โลก เมื่อเวลาราวตี 2 วันที่ 16 กุมภาพันธ์ 2556 ตามเวลาไทย แต่ผู้เชี่ยวชาญจากองค์การด้านอวกาศยุโรป ชี้ว่า ไม่มีความเกี่ยวข้องกัน

rongdu
อุกกาบาตบ้านร่องดู่ (ภาพจากนิตยสารอัพเดท กรกฎาคม 2536)

องค์การวิทยาศาสตร์รัสเซียระบุว่า อุกกาบาตลูกดังกล่าวร่วงลงมาจากท้องฟ้า เหนือเขตไซบีเรียตะวันตก กลายเป็นแสงสว่างวาบ และเกิดการระเบิดเหนือพื้นดินราว 30-50 กิโลเมตร แรงระเบิดส่งผลกระทบต่อพื้นที่เป็นบริเวณกว้างถึง 1 แสนตารางเมตรทำให้อาคารกว่า 3 พันหลังในเมือง ‘เชเลียบินสค์’ เสียหาย กระจกแตกและปลิวกระจายซึ่งเป็นสาเหตุหลักที่ทำให้มีผู้ได้รับบาดเจ็บ เพราะผู้คนยืนชิดกระจก เพื่อดูแสงสว่างวาบช่วงหนึ่ง

วุตถุลึกลับเทียบกับอุกาบาต02
ก้อนบน อุกกาบาตตกที่ชุมชนดีอินทร์พิษณุโลก 21 พค.52

               ขณะที่อุกกาบาตกำลังร่วงจากท้องฟ้ากระทรวงมหาดไทยรัสเซียระบุว่า มีประชาชนราว 1,100 คนต้องเข้ารับการรักษาอาการบาดเจ็บส่วนใหญ่จากกระจกบาด โดยยังไม่มีรายงานผู้เสียชีวิต หรือ ผู้ที่ได้รับบาดเจ็บจากการโดนชิ้นส่วนของอุกกาบาตโดยตรง

ครั้งหนึ่ง ที่จ.พิษณุโลก มีบันทึกเกี่ยวกับวัตถุจากฟากฟ้า อุกกาบาต ตกที่จ.พิษณุโลก และมีการบันทึกสถิติอุกกาบาตตกในประเทศไทยหลายครั้งแล้วเช่นกัน แต่ขนาดไม่ใหญ่เท่าที่ตกในประเทศรัสเซีย โดยคุณวรเชษฐ์ บุญปลอด สมาคมดาราศาสตร์ไทย http://thaiastro.nectec.or.th

crater
หลุมอุกกาบาตขนาด 1,186 เมตร ลึก 200 เมตร ที่แอริโซนา สหรัฐอเมริกา ประเมินว่าเกิดจากการชนของอุกกาบาตขนาด 30 เมตร ด้วยอัตราเร็ว 20 กิโลเมตรต่อวินาที เมื่อราว 49,000 ปีก่อน (ภาพจาก D. Roddy (U.S. Geological Survey), Lunar and Planetary Institute)

ก้อนหินจากอวกาศที่ตกลงบนพื้นโลกซึ่งเราเรียกว่าอุกกาบาตนั้นเป็นชิ้นส่วนของวัตถุในระบบสุริยะ เช่น ดาวเคราะห์น้อย ดาวหาง ดวงจันทร์ และดาวเคราะห์ อุกกาบาตเหล่านี้ช่วยนักวิทยาศาสตร์ในการศึกษาการก่อกำเนิดและความเป็นมาของระบบสุริยะที่เราอยู่ อาจแบ่งประเภทของอุกกาบาตที่พบได้เป็น 3 ประเภทใหญ่ ๆ คือ อุกกาบาตหิน อุกกาบาตเหล็ก และอุกกาบาตเหล็กปนหิน นับถึงปัจจุบันประเทศไทยมีรายงานการค้นพบก้อนอุกกาบาตที่ได้รับการยืนยันว่าเป็นของจริงบันทึกไว้ 3 ครั้ง ได้แก่ อุกกาบาตนครปฐม (2466) อุกกาบาตเชียงคาน (2524) และอุกกาบาตบ้านร่องดู่ (2536) ข้อมูลด้านล่างนี้บางส่วนนำมาจากบทความของคุณพิชิต อิทธิศานต์ ตีพิมพ์ในนิตยสารอัพเดท ฉบับกรกฎาคม 2536 และจากฐานข้อมูลอุกกาบาตของสหรัฐอเมริกาที่ค้นได้จากอินเทอร์เน็ต

อุกกาบาตนครปฐม

พิสูจน์รอยกระแทกวัตถุลึกลับ04
นักวิชาการพิสูจน์อุกกาบาตตกที่ชุมชนดีอินทร์พิษณุโลก

อุกกาบาตนครปฐมตกลงมาจากฟ้าเมื่อเวลาประมาณ 21.00 น. ของคืนวันศุกร์ที่ 21 ธันวาคม 2466 โดยทะลุผ่านหลังคายุ้งข้าวของนายยอด ตำบลดอนยายหอม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครปฐม อุกกาบาตนครปฐมมีสองก้อน ก้อนเล็กหนัก 9.6 กิโลกรัม รวมสองก้อนหนักถึง 32.2 กิโลกรัม จัดเป็นอุกกาบาตหิน มีเหล็กเป็นส่วนผสมประมาณ 22% รัฐบาลไทยได้อนุญาตให้สหรัฐอเมริกาขอยืมก้อนเล็กไปศึกษา และได้บริจาคชิ้นส่วนหนัก 413 กรัมให้พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติสหรัฐฯ

อุกกาบาตเชียงคาน

วัดปริมาตรวัตถุลึกลับ
วัดปริมาตร อุกกาบาตที่ชุมชนดีอินทร์

อุกกาบาตเชียงคานเป็นอุกกาบาตหิน ประกอบด้วยอุกกาบาตก้อนเล็ก ๆ หลายก้อน ค้นพบหลังจากมีลูกไฟขนาดใหญ่สว่างกว่าแสงจันทร์ พุ่งผ่านท้องฟ้าภาคกลางและภาคตะวันออกเฉียงเหนือของประเทศเมื่อเวลา 5.30 น. ของเช้ามืดวันอังคารที่ 17 พฤศจิกายน 2524 ลูกไฟนั้นไประเบิดเหนือท้องฟ้าอำเภอเชียงคาน จังหวัดเลย ใกล้พรมแดนไทย-ลาว มีเสียงดังกึกก้องกัมปนาทได้ยินไปทั่วจังหวัดเลยและจังหวัดที่อยู่ใกล้เคียง อุกกาบาตตกกระจัดกระจายในพื้นที่ประมาณ 24 ตารางกิโลเมตร

ทีมสำรวจจากคณะวิทยาศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย นำโดย ดร.ระวี ภาวิไล เก็บรวบรวมอุกกาบาตได้ 31 ก้อน น้ำหนักรวม 367 กรัม ลูกใหญ่ที่สุดหนัก 51.3 กรัม มีข้อสันนิษฐานว่าหากอุกกาบาตเชียงคานไม่ได้เป็นชิ้นส่วนจากแถบดาวเคราะห์น้อยหลักซึ่งโคจรอยู่ระหว่างวงโคจรของดาวอังคารกับดาวพฤหัสบดี มีความเป็นไปได้ว่ามันอาจจะเป็นชิ้นส่วนของดาวหางเทมเพล-ทัตเทิล ต้นกำเนิดของฝนดาวตกสิงโต ฝนดาวตกที่เกิดเป็นประจำในวันที่ 16-17 พฤศจิกายนของทุกปี ซึ่งประเทศไทยและเอเชียมองเห็นได้มากและชัดเจนเมื่อเดือนพฤศจิกายน 2541 และ 2544

อุกกาบาตบ้านร่องดู่

อุกกาบาตบ้านร่องดู่เป็นอุกกาบาตลูกสุดท้ายที่มีรายงานพบในประเทศไทย ตกลงมาในคืนวันอาทิตย์ที่ 13 มิถุนายน 2536 เวลาประมาณ 20.45 น. บริเวณพื้นที่ใกล้บ้านของนายสาลีและนางคำหล้า รักก้อน บ้านร่องดู่ ตำบลลานบ่า อำเภอหล่มสัก จังหวัดเพชรบูรณ์ การตรวจสอบโดยนายสิโรตม์ ศัลยพงษ์ และ ดร.ปริญญา พุทธาภิบาล ฝ่ายวิจัยธรณีวิทยา กองธรณีวิทยา กรมทรัพยากรธรณี ยืนยันว่าเป็นอุกกาบาตเหล็ก มีประกายโลหะและความถ่วงจำเพาะสูง พบริ้วโลหะเป็นทางบนผิวอุกกาบาตซึ่งเกิดจากการเสียดสีกับบรรยากาศโลก ผิวนอกสุดมีรอยไหม้ ด้านหนึ่งมีรอยยุบบุบแบบก้นหม้อ อีกด้านฉีกขาดเป็นร่องหลืบ ลักษณะทั่วไปคล้ายตะกรันโลหะ ต่างกันที่ไม่มีรูพรุน

รูปร่างของอุกกาบาตบ้านร่องดู่คล้ายลูกสะบ้า กว้าง 7.5 นิ้ว ยาว 10 นิ้ว หนา 4.5 นิ้ว น้ำหนัก 16.7 กิโลกรัม ความถ่วงจำเพาะ 8.08 บริเวณที่พบอุกกาบาตเป็นที่ดอนดินปนทราย เนื้อแน่นปานกลาง ความชื้นต่ำ ลูกอุกกาบาตมุดลงไปในดิน ขณะไปตรวจสอบซึ่งเป็นเวลาหลังจากเอาลูกอุกกาบาตออกมาแล้วพบว่าบริเวณนั้นเป็นหลุมลึก 110 เมตร ประเมินได้คร่าว ๆ ว่าอุกกาบาตพุ่งมาจากทิศใต้เฉียงไปทางตะวันตก 15 องศา และพุ่งลงมาโดยทำมุมประมาณ 80 องศากับพื้นราบ

รู้ได้อย่างไรว่าเป็นอุกกาบาต?

เบื้องต้นมีวิธีสังเกตก้อนหินที่อาจเป็นลูกอุกกาบาตได้ง่าย ๆ เช่น ลักษณะแตกต่างจากก้อนหินที่อยู่ในบริเวณข้างเคียง น้ำหนักของวัตถุนั้นผิดปกติ มีความแข็งมากเป็นพิเศษ ผิวไหม้เกรียมคล้ายถูกเผา อุกกาบาตส่วนใหญ่มีปฏิกิริยากับแม่เหล็กเนื่องจากมีส่วนผสมของเหล็กและนิกเกิล

ข้อมูลเพิ่มเติม (4 มิถุนายน 2552)

วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 มีรายงานข่าวการค้นพบวัตถุสีดำ ลักษณะคล้ายอุกกาบาต ตกทะลุหลังคาบ้านของนายสมศักดิ์ เชี่ยววิจิตร เขตเทศบาล จังหวัดพิษณุโลก ได้มีการตรวจสอบจากคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร และยืนยันเมื่อวันที่ 31 พฤษภาคม โดยสถาบันวิจัยดาราศาสตร์แห่งชาติ (องค์การมหาชน) ร่วมกับคณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ ว่าเป็นอุกกาบาตจริง โดยพบว่าเป็นอุกกาบาตหินเนื้อเม็ด (chondrite) คาดว่ามาจากแถบดาวเคราะห์น้อย ซึ่งเป็นซากที่เหลือจากการก่อกำเนิดระบบสุริยะ

ย้อนอดีตไปเมื่อวันที่ 25 พฤษภาคม 2552 รศ.ดร.ดร.ชยันต์  บุญรักษ์ คณบดีคณะวิทยาศาสตร์ ม.นเรศวร ได้ขนอุปกรณ์เครื่องมือมาตรวจวัดก้อนหินลึกลับที่บ้านนายสมศักดิ์ สุขวัฒนะ เลขที่ 357/2 ชุมชนดีอินทร์พัฒนา ถ.มหานุภาพ ต.ในเมือง อ.เมือง จ.พิษณุโลก หลังมีวัตถุลึกลับสีดำ ลักษณะเหมือนก้อนหิน ชาวบ้านคาดว่าเป็นอุกาบาตรที่ตกมาจากฟ้า โดยเก็บรายละเอียดจากการซักถามถึงเหตุการณ์ที่เกิดขึ้น ที่นายสมศักดิ์ระบุว่า ช่วงเกิดเหตุเวลาประมาณ 11.30 น. วันที่ 21 พฤษภาคม 2552 ขณะนั้นนายสมศักดิ์กำลังเดินเข้ามาในบ้านไปที่เตียงนอน ได้ยินเสียงดังสนั่นบริเวณเตียงนอน สายมุ้งขาด และพบวัตถุดังกล่าวกลิ้งตกอยู่ในบ้าน คณบดีฯได้นำเครื่องน้ำหนักมาวัดพบว่ามีน้ำหนัก 162.68 กรัม วัดปริมาตร โดยใส่แท่งตวงมีปริมาตร 48 ลูกบาศก์เซนติเมตร นำทั้งสองค่ามาคำนวณหาค่าความถ่วงจำเพาะ ได้ที่ 3.389 กรัมต่อซีซี และตรวจร่องรอยรูทะลุบนหลังคาสังกะสี พบว่า สังกะสีชั้นบนมีร่องรอยแตกและมีรอยไหม้ ขณะที่แผ่นสังกะสีชั้นล่างมีรอยแตกที่ใหญ่กว่า และมีร่องรอยไหม้บริเวณด้านหลัง

อุกาบาตหรือไม่02
พิสูจน์อุกกาบาตชุมชนดีอินทร์

ช่วงนั้น รศ.ดร.ชยันต์ เผยว่า ยังไม่สามารถฟันธงได้ว่าเป็นอุกาบาตรจริงหรือไม่ ผู้เชี่ยวชาญด้านธรณีก็ยังไม่สามารถตอบได้ เบื้องต้นมีลักษระคล้ายหินบะซอล ที่เป็นชนิดหนึ่งของหินอัคนี แต่เมื่อมาพิสูจน์ที่บ้านของนายสมศักดิ์ ตรวจสอบร่องรอยของแผ่นสังกะสีหลังคาบ้านพบว่า ต้องเป็นแรงกะแทกที่รุนแรงมาก และมีร่องรอยไหม้ให้เห็นด้วย ถ้าโยนก้อนหินลงมาธรรมดาจะไม่มีร่องรอยเช่นนี้ให้เห็น และจากค่าความถ่วงจำเพาะที่ตรวจวัดได้ ที่ 3.389 กรัมต่อซีซีนั้น เมื่อเทียบกับค่าความถ่วงจำเพาะของวัตถุอื่น เหล็กหล่อ  ที่มีค่าความถ่วงจำเพาะ 3.0 หรือ หินชนิดต่าง ๆ ที่มีค่าความถ่วงจำเพาะประมาณ 3 กว่า ๆ ก็ยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่าเป็นอุกาบาตรหรือไม่ อยากได้ให้เจ้าของบ้านเก็บแผ่นสังกะสีไว้ให้ดี รวมถึงก้อนวัตถุดังกล่าวด้วย เพราะกรณีนี้จะเป็นประโยชน์ต่อวงการดาราศาสตร์ถ้าเป็นอุกาบาตรจริง เพราะไม่บ่ยอครั้งนักที่จะพบอุกาบาตรตกและพบเห็นได้ ส่วนใหญ่แล้วจะเก็บได้ตามพื้นหลังจากตกมานานแล้ว อาจจะมีนักดาราศาสตร์มาเก็บร่องรอยที่สังกะสีและก้อนวัตถุดังกล่าวไปพิสูจน์ ส่วนคณะวิทย์ ได้เก็บข้อมูลโดยระเอียดทุกอย่าง และจะส่งไปให้ รศ.ดร.บุญรักษา  สุนทรธรรม ผู้อำนวยการสถาบันดาราศาสตร์แห่งชาติพิสูจน์ต่อไป

 

นายสมศักดิ์ ผู้พบก้อนวัตถุลึกลับดังกล่าว เผยกับผู้สื่อข่าวว่า ขอเก็บวัตถุดังกล่าวไว้ที่บ้าน ไว้ให้ลูกหลานได้ชม  ไม่อยากให้นำไปผ่าพิสูจน์ แต่ขอยืนยันว่า ช่วงเกิดเหตุตนอยู่ในเหตุการณ์จริง เวลาประมาณ 11.30 น.ของวันที่ 21 พฤษภาคม 2552 ขณะกำลังเดินเข้าไปในห้องนอนเพื่อเก็บรวบมุ้งบนเตียง เกิดเสียงดังสนั่นขึ้นมา ตนถึงกับตกใจต้องวิ่งออกมา เพื่อนบ้านต่างวิ่งมาถามว่าเกิดอะไรขึ้น นึกว่าใครมาขว้างหลังคา และเมื่อพบรูบนแผ่นสังกะสี และพบก้อนหินดังกล่าว ตนเชื่อว่าต้องตกมาจากฟ้าด้วยความเร็วแรงมาก

 

แสดงความคิดเห็น