สำรวจเสือปลาที่พิษณุโลก

เสือปลาที่ทุ่งสามร้อยยอด
กล้องอัตโนมัติ ถ่ายเสือปลาที่ทุ่งสามร้อยยอด อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ พื้นที่ชุ่มน้ำแหล่งอาศัยของเสือปลาที่พบมากที่สุดในประเทศไทย ทีมงานวิจัยมาสำรวจแหล่งกระจายพันธ์ที่ต.หัวรอและต.วัดจันทร์ แต่ยังไม่พบตัว
เสือปลาบ้านสระโคล่พบเมื่อธค.55-01
เสือปลาเพศผู้ ชาวบ้านจับได้กลางทุ่งนาบ้านสระโคล่ ม.10 ต.หัวรอ อ.เมืองพิษณุโลกเมื่อธค.56 จับได้ไม่นานก็เสียชีวิต ทีมงานวิจัยลงพื้นที่สำรวจแหล่งกระจายพันธ์
ติดกล้องดักถ่ายเสือปลา01
ทีมงานวิจัยและอนุรักษ์เสือปลา ติดกล้องอัตโนมัติเฝ้าถ่ายภาพเสือปลา บ้านสระโคล่ เป็นเวลา 5 คืน แต่ยังไม่พบตัว เจอแต่มูลและรอยเท้า

วันที่ 31 มกราคม 2556 ผู้สื่อข่าวรายงานว่า ทีมนักวิจัยเสือปลา จาก องค์กรพัฒนาเอกชน ที่ออกเก็บข้อมูลและสำรวจถิ่นอาศัยกระจายพันธุ์ของเสือป่า สัตว์ป่าสงวนหายากของไทย ได้เดินทางลงพื้นที่พิษณุโลก เพื่อเก็บข้อมูลหลักฐานการพบเสือปลา หลังจากวันที่ 24 ธันวาคม 2555 มีชาวบ้านบ้านสระโคล่ ม.10 ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก พบเสือปลาเพศผู้ขนาดโตเต็มวัยกลางทุ่งนาบ้านสระโคล่ และช่วยกันล้อมจับไว้ได้ แต่ปรากฏว่า เสือปลาตัวดังกล่าว ได้เสียชีวิตลงในภายหลัง

 

มูลเสือปลาบ้านสระโคล่02
จุดพบมูลเสือปลาริมคลองสระโคล่
มูลเสือปลาบ้านสระโคล่
มูลเสือปลาบ้านสระโคล่ พบร่องรอยเศษขนหนูนา
รอยเท้าเสือปลาบ้านสระโคล่
รอยเท้าเสือปลาบ้านสระโคล่

ทีมวิจัยและอนุรักษ์เสือปลาได้เดินทางมาเก็บข้อมูลหลักฐานการพบเสือปลาในเขตอำเภอเมืองพิษณุโลก นำทีมโดยน.ส.พัสนัน  คัตเตอร์ และนายนิรุตต์  ท้าวโกษา ได้มาเก็บข้อมูลการพบเสือปลาในพิษณุโลกสองจุด พร้อมลงพื้นที่ตั้งกล้องดักถ่ายทั้งภาพนิ่งและวิดีโอ ในทุ่งนาบ้านสระโค่ ม.10 ต.หัวรอ ข้างคลองสระโคล่ จุดที่ชาวบ้านจับเสือปลาเพศผู้ได้  โดยวางกล้องไว้ 6 จุด ริมคลองสระโคล่ คันนา และในสวนป่าของชาวบ้าน และที่บริเวณสวนกฤษศิริ ต.วัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโลก พื้นที่จัดสรรเนื้อที่เกือบ 1,000 ไร่ ที่รกร้าง เต็มด้วยป่าละเมาะ ได้ข้อมูลจากชาวบ้านว่าเคยพบเห็นและจับเสือปลาได้ รวมถึงตัวชะมด ได้วางกล้องดักถ่ายไว้จำนวน 3 จุ

 

น.ส.พัสนัน  คัตเตอร์ ทีมวิจัยจากโครงการวิจัยและอนุรักษ์เสือปลา เปิดเผยว่า ได้ทำงานศึกษาวิจัยและอนุรักษ์เสือปลามาเป็นเวลา 8 ปีแล้ว เสือปลาเป็นสัตว์สงวน และหายากของประเทศไทย ถิ่นกระจายพันธุ์มักอยู่ในพื้นที่ชุ่มน้ำ ในอดีตเคยพบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำหลายจุดทั่วประเทศไทย แต่ปัจจุบันแหล่งอาศัยของเสือปลาได้กลายสภาพเป็นพื้นที่การเกษตร การกระจายพันธุ์จึงอยู่ในวงจำกัด ที่ทีมวิจัยพบเสือปลาและเข้าทำการศึกษามากที่สุดคือ ทุ่งสามร้อยยอด อ.สามร้อยยอด จ.ประจวบคีรีขันธ์ พบเสือปลาอาศัยอยู่ประมาณ 200 ตัว อีกจุดหนึ่งที่สำรวจพบคือทะเลน้อย จ.พัทลุง พบกระจายพันธุ์ในพื้นที่ชุ่มน้ำ นอกจากนี้ยังมีรายงานการพบเสือป่าในพื้นที่ป่าชายเลน ของจ.เพชรบุรี แต่ยังไม่ได้ลงพื้นที่สำรวจอย่างละเอียด

 

เสือปลาบ้านสระโคล่พบเมื่อธค.55-02
เสือปลาบ้านสระโคล่พบเมื่อธค.55
กล้องถ่ายภาพเจอแมวที่บ้านสระโคล่
กล้องถ่ายภาพอัตโนมัติดักถ่ายเสือปลาที่บ้านสระโคล่ 5 คืน แต่ยังไม่พบตัว เจอแต่แมวบ้าน

สำหรับจังหวัดพิษณุโลก หลังโครงการวิจัยทราบข่าวชาวบ้านจับเสือปลาได้ที่ทุ่งนาที่บ้านสระโคล่ ต.หัวรอ อ.เมือง จ.พิษณุโลก จึงรีบเดินทางขึ้นมาสำรวจทันที และเมื่อมาถึงก็พบว่า เสือปลาเพศผู้ตัวดังกล่าว ที่นายอวิรุธ  นาทิพย์ นำไปเลี้ยงจากชาวบ้านนั้น ได้เสียชีวิตลงจากอาการเครียดที่โดนล้อมจับ น่าเสียดายมาก จากนั้น จึงวางแผนสำรวจแหล่งกระจายพันธุ์ของเสือปลาในจ.พิษณุโลก เพราะถ้าพบจะเป็นแหล่งกระจายพันธุ์ของเสือปลาที่อยู่เหนือสุดของประเทศไทย โดยลงข้อมูลสอบถามจากชาวบ้านในพื้นที่ และมาลงตั้งกล้องดักถ่ายภาพนิ่งและภาพวิดีโอในต.หัวรอ และต.วัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโล

 

น.ส.พัสนัน เผยต่อว่า สำหรับบ้านสระโคล่ที่ชาวบ้านพบเสือปลาเมื่อเดือนธันวาคม 2555 นั้น จากการสอบถามผู้พบได้ความว่า ชาวบ้านพบเสือปลาเดินอยู่บนถนนกลางทุ่งนา เมื่อเห็นคนได้วิ่งหนีขึ้นต้นยูคาลิปตัส จากนั้นชาวบ้านมาช่วยกันล้อมจับได้ จากการสอบถาม ชาวบ้านไม่เคยพบเห็นเสือปลาในพื้นที่มาก่อน แต่จากการสำรวจทางกายภาพแล้วพบว่า เป็นทุ่งนา ที่ติดกับคลอง และยังมีป่าละเมาะที่เสือปลาน่าจะอาศัยได้ มีแหล่งอาหารทั้งปลาและหนูนา และจากการลงสำรวจ ได้พบรอยเท้าจำนวนหนึ่ง แต่ยังไม่มั่นใจว่าเป็นของเสือปลาหรือไม่ และพบกลิ่นฉี่เหมือนกลิ่นฉี่ของเสือปลา ที่สำคัญคือ พบมูลที่ลักษณะเหมือนมูลของเสือปลามากที่สุด เป็นมูลที่แห้งแล้ว ประมาณ 5 วัน ในมูลพบเศษขนของหนูนา แต่จากการตั้งกล้องดักถ่ายมา 5 คืน ยังไม่สามารถถ่ายภาพเสือปลาได้ จุดนี้เป็นจุดที่ชาวบ้านพบเสือปลาเพศผู้ มีโอกาสที่จะพบเสือปลาเพศเมีย เพราะเพศผู้จะมีอาณาเขตการหาอาหารครอบคลุมอาณาเขตเสือปลาเพศเมีย 2 ตัว

 

ส่วนที่สวนกฤษศิริตำบลวัดจันทร์ อ.เมืองพิษณุโลกนั้น เป็นอีกจุดหนึ่งที่นำกล้องดักถ่ายภาพไปวางไว้ สภาพเป็นที่ดินจัดสรร ที่กว่างประมาณ 1,000 ไร่ แต่ไม่ได้ใช้ประโยชน์ มีข้อมูลจากชาวบ้านว่าพบเสือปลาและชะมด และมีคนหนึ่งเคยจับเสือปลาและนำมากินได้ แต่จากการตั้งกล้องดักถ่าย 5 คืน ก็ยังไม่พบตัวเสือปลา

 

น.ส.พัสนัน  เผยต่อว่า โอกาสที่จะดักถ่ายเสือปลาในพิษณุโลกได้ค่อนข้างยาก เนื่องจากเป็นสัตว์ที่เปรียวมาก แต่จากการลงพื้นที่ได้พบกลิ่นฉี่และมูลของเสือปลาที่บ้านสระโคล่ ก็ยังพอมีโอกาสอยู่บ้าง หลังจากสำรวจตั้งกล้องดักถ่าย 5 คืนรอบนี้แล้ว ทีมงานจะกลับไปทำงานที่จ.ประจวบฯต่อ และได้ประสานกับคนในพื้นที่เพื่อสังเกตเฝ้าติดตามเบาะแสของการพบเสือปลา และจะกลับขึ้นมาสำรวจอีกรอบหนึ่ง เพราะถ้าพบเสือปลาในพื้นที่พิษณุโลก จะเป็นจุดที่สำคัญมาก เป็นจุดที่พบการกระจายพันธ์ของเสือปลาเหนือสุดของประเทศไทย และจะต้องทำงานร่วมกับชุมชน ในการอนุรักษ์เสือปลา ทำความเข้าใจว่า เสือปลา มีความสำคัญต่อระบบนิเวศน์ กินทั้งปลา และหนูนา เป็นสัตว์ป่าที่พบได้ยากในประเทศไทยติดกล้องดักถ่ายเสือปลา04

/////

ชมภาพวีดีโอ

แสดงความคิดเห็น