รัฐหนุน 4 โปรเจ็คยักษ์พัฒนาพิษณุโลก

กรอ1 (1) ครม2นายวิโรจน์  จิรัฐติกาลโชติ  กรรมการรองเลขาธิการหอการค้าไทย และประธานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจพื้นที่ภาคเหนือ  เปิดเผยถึงผลการประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) จัดการประชุมนอกสถานที่ ในจังหวัดอุตรดิตถ์ เมื่อ 20-21 มกราคม 2556 ว่า คณะกรรมการร่วมภาคเอกชน 3 สถาบัน (กกร.) ประกอบด้วย สภาหอการค้าแห่งประเทศไทย สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย และสมาคมธนาคารไทย รวมทั้งสภาอุตสาหกรรมท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย และสภาธุรกิจตลาดทุนไทย ได้จัดทำ “ข้อเสนอเพื่อส่งเสริมการพัฒนากลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง 1” ประกอบด้วย 5 จังหวัด คือ จังหวัดตาก สุโขทัย พิษณุโลก อุตรดิตถ์ และเพชรบูรณ์ เป็นผลจากการประชุมหารือร่วมกับหอการค้าจังหวัด สภาอุตสาหกรรมจังหวัด และผู้ที่เกี่ยวข้องในกลุ่มจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง เสนอต่อที่ประชุมร่วมภาครัฐและเอกชนเพื่อแก้ไขปัญหาทางเศรษฐกิจในภูมิภาค (กรอ.ภูมิภาค) ครั้งที่ 1/2556 ที่มี น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี เป็นประธานการประชุม  นับว่าจังหวัดพิษณุโลกได้รับการเสนอโครงการมากที่สุด 6  ประเด็นเป็นเรื่องของ จ.พิษณุโลก 4 ประเด็น และเป็นโครงการที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจได้อย่างมาก  419753_470830832979544_465396631_n

 

โดยเรื่องแรกที่เสนอเป็นการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์  ได้เสนอเร่งรัดโครงการขยายทางหลวงแผ่นดินหมายเลข 12 (พิษณุโลก-หล่มสัก) จาก 2 ช่อง จราจรเป็น 4 ช่องจราจร  จากเดิมที่มีมติดำเนินโครงการในช่วงระยะเวลา 2554-2563  ขอให้เร่งรัดโครงการให้แล้วเสร็จภายในปี 2558 นี้ เพื่อรองรับการเข้าสู่เออีซีของประเทศไทย  เชื่อมโยงเส้นทางกันประเทศเพื่อนบ้าน ซึ่ง รมว.กระทรวงคมนาคมรับว่าจะดำเนินการ โดยเริ่มก่อสร้างเดือน กุมภาพันธ์ 2556 นี้แล้ว  ครม

 

เรื่องที่ 2 เป็นกาทบทวนแผนโครงการที่มหาวิทยาลัยหอการค้าได้เคยศึกษาการก่อสร้างศูนย์ลอจิสติกส์ไว้เมื่อปี 2547แต่เรื่องถูกเก็บไว้  จึงนำโครงการศึกษาและพัฒนาจังหวัดพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางการขนส่งทางภาคเหนือ เสนอเพื่อขอสนับสนุนงบประมาณจัดตั้ง ใน 2 เรื่อง คือ  1.ศูนย์บริการขนส่งผู้โดยสาร (Bus Terminal )และ 2.ศูนย์กระจายสินค้าเนื่องจากสี่แยกอินโดจีน จังหวัดพิษณุโลกเป็นพื้นที่ยุทธศาสตร์บนระเบียงเศรษฐกิจเหนือ-ใต้ (North-South Economic Corridor ; NSEC) และระเบียงเศรษฐกิจตะวันออก-ตะวันตก (East-West Economic Corridor ; EWEC) ประกอบกับการเข้าสู่ประชาคมอาเซียนในปี พ.ศ.2558 จะทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทั้งด้านเศรษฐกิจ สังคม วัฒนธรรม และความมั่นคง นอกจากนี้ ยังเป็นการเตรียมความพร้อมรองรับการเชื่อมต่อระบบขนส่งสาธารณะและรถไฟความเร็วสูงของภาคเหนือ อย่างไรก็ตาม ปัจจุบันพื้นที่สี่แยกอินโดจีนยังไม่ได้รับการพัฒนาเพื่อรองรับการเปลี่ยนแปลงของภูมิภาค และไม่ได้รับการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานต่างๆ ให้มีความพร้อมเพื่อรองรับตลาดแข่งขันที่มีขนาดใหญ่72935_472315779497716_69603303_n

 

นายวิโรจน์  กล่าวอีกว่า  ภาคเอกชนยังไดเสนอขอให้รัฐบาลสนับสนุน โครงการก่อสร้างเขื่อนป้องกันตลิ่ง อ.เมือง จ.พิษณุโลก วงเงินทั้งสิ้น 248 ล้านบาท  โดยโครงการดังกล่าว มีที่ตั้งโครงการบริเวณริมแม่น้ำน่าน ฝั่งทิศตะวันออก ตั้งแต่วัดท่ามะปรางถึงสะพานสุพรรณกัลยา อ.เมือง จ.พิษณุโลก ความยาวรวม 1,420 เมตร ขนาดพื้นที่โครงการประมาณ 33.5 ไร่ ทั้งนี้ เพื่อป้องกันผลกระทบจากอุทกภัยต่อภาคเศรษฐกิจและประชาชนโดยรวมของจังหวัดพิษณุโลก จากปัญหาน้ำท่วมล้นตลิ่ง และกัดเซาะตลิ่งพังทลาย รวมทั้งป้องกันการบุกรุกที่สาธารณประโยชน์ทำลายสิ่งแวดล้อม พัฒนาโครงสร้างพื้นฐานพร้อมระบบสาธารณูปโภคบริเวณริมแม่น้ำน่านอย่างเป็นรูปธรรม ได้ศึกษาและออกแบบการก่อสร้างเสร็จแล้ว  ที่เสนอโครงการนี้ เนื่องจากมองว่า เป็นการป้องกันพื้นที่เศรษฐกิจสำคัญ และเป็นเส้นทางเศรษฐกิจของ จ.พิษณุโลก

 

เรื่องสุดท้าย ที่เป็นอีกเรื่องสำคัญของ จ.พิษณุโลก คือ ด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวและบริการสุขภาพ คือโครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่าง จ.พิษณุโลก เพื่อเป็น Medical Excellent Centre)/Medical Tourismวงเงินงบประมาณทั้งสิ้น 2,900 ล้านบาท มีระยะเวลาดำเนินการ 3 ปี ในรูปแบบความร่วมมือระหว่างภาครัฐ และเอกชน เพื่อสร้างความมั่นคงทางระบบบริการสุขภาพ ในเขตจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง รองรับการเข้าสู่เออีซี โดยกำหนดให้จังหวัดพิษณุโลก เป็นศูนย์กลางในการพัฒนาบริการทางสุขภาพทั้งนี้ โครงการพัฒนาระบบบริการสุขภาพภาคเหนือตอนล่างจะเป็นการสร้างความมั่นคงทางสุขภาพ บริการประชากรมากกว่า 6 ล้านคนในเขตภาคเหนือตอนล่าง  โดยมีโรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร เป็นหน่วยหลัก เนื่องจากเป็นโรงพยาบาลที่มีอัตราการเติบโต การให้บริการ วิจัย วิชาการอย่างต่อเนื่อง และเป็นศูนย์ผลิตบุคคลกรทางด้านการแพทย์ จึงเสนอให้พัฒนา โรงพยาบาลมหาวิทยาลัยนเรศวร ให้สามารถรองรับการให้บริหารการแพทย์ระดับสูง (ทุติยภูมิ) จากเดิมประชาชนที่ป่วยหนักต้องการเครื่องมือการแพทย์ที่ทันสมัยจะต้องเดินทางไปรักษาที่ จ.เชียงใหม่ และในกรุงเทพมหานคร ซึ่งต้องใช้เวลาในการเดินทางไปรักษาทั้ง 2 แห่งประมาณ 5 ชั่วโมง เสี่ยงต่อชีวิตสูง  จ.พิษณุโลก อยู่กึ่งกลางระหว่าง กรุงเทพฯ และเชียงใหม่ จึงให้ รพ.พุทธชินราชเป็นโรงพยาบาลศูนย์ปฐมภูมิ และ รพ.ม.นเรศวร เป็น โรงพยาบาลทุติยภูมิ อีกทั้งมีโรงพยาบาลเอกชนในเขตเมืองหลายแห่ง มีบุคคลกรแพทย์เชี่ยวชาญ จะช่วยลดความแออัดในโรงพยาบาลทั้ง 2 แห่งได้อีกทั้งในอนาคตจะเป็น Medical Tourism ทำให้เงินไหลเวียนประเทศเพิ่มขึ้น จากการได้เที่ยวและใช้บริการทางการแพทย์  ที่สามารถรองรับทั้งในประเทศและต่างประเทศ ที่จะเข้ามาใช้บริการ ซึ่ง ครม.มีมติให้ทางกระทรวงศึกษาธิการ โดยการอุดมศึกษาแห่งชาติ กระทรวงสาธารณสุข และกระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬาประสานด้านงบประมาณร่วมกัน  ครม1

 

สำหรับเรื่องอื่นๆ ประกอบด้วย 5 เรื่อง ดังนี้  1.การยกระดับบุคลากรในอุตสาหกรรมท่องเที่ยวภาคเหนือตอนล่างและทั่วประเทศ โดยเป็นค่าใช้จ่ายในการอบรมวงเงินรวม 60 ล้านบาท  2.ขอให้มีมาตรการเร่งด่วนเพื่อผลักดันประเทศไทยเป็นศูนย์กลางอุตสาหกรรมพลาสติกชีวภาพในภูมิภาคอาเซียน  3.เร่งรัดการพัฒนาโครงข่ายคมนาคมและระบบโลจิสติกส์ (ระบบราง) 4.เร่งรัดการส่งเสริมการค้าการลงทุนกับประเทศเพื่อนบ้าน 5.รับทราบบทบาทภาคเอกชนในการขับเคลื่อนแผนพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ ฉบับที่ 11 ไปสู่การปฏิบัติต่อไป

 

ส่วนทางด้านภาครัฐ ในการประชุมครม.มีการจัดสรรงบกลางให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเสนอของบประมาณได้จังหวัดละ100 ล้านบาท ซึ่งได้งบประมาณมาดำเนินการได้ทันที่  สำหรับจังหวัดพิษณุโลกได้เสนอไป 4 โครงการ  ประกอบด้วย 1.โครงการพัฒนาแหล่งน้ำแก้มลิงคลองกรุงกรัก อ.บางระกำ 35 ล้านบาท   2.โครงการพัฒนาปรับปรุงพื้นที่ฟื้นฟูแหล่งน้ำ (ขุดลอกคลองแพงพวย) 30 ล้านบาท 3.โครงข่ายซ่อมทางผิวแอสฟัลต์ ทางหลวง 1309 ตอนป่าแดง-หนองตม 14 ล้านบาท  4.โครงการจัดตั้งห้องเรียนรู้ด้านภาษาพร้อมก้าวสู่เออีซี เพื่อพัฒนาทักษะทางภาษา 21 ล้านบาท

 

นายวิโรจน์ กล่าวว่า ในการประชุม ครม. ของ นายกรัฐมนตรีกับ ทางภาคเอกชน เป็นโครงการที่เป็นโปรเจ็คใหญ่ ที่สามารถกระตุ้นเศรษฐกิจ   รองรับการเจริญเติบโตทางด้านการลงทุน จากการเปิดสู่ประชาคมเศรษฐกิจอาเซียน และเป็นการสนองการบริการด้านสุขภาพให้ประชาชนภาคเหนือตอนล่างได้เป็นอย่างดี

 

กรรณิการ์  สิงหะ / รายงาน

ขอบคุณภาพประกอบจากมน. และ สนข.

 

แสดงความคิดเห็น