56 ปี อาคารราชพัสดุ

P7180167 P7180169 ภาพข่าว4แยก “อาคารราชพัสดุ” ในเขตเทศบาลนครพิษณุโลก ต้องย้อนไปครั้งเมื่อวันที่ 2 มกราคม พ.ศ.2500    หรือ  56ปีที่ผ่านมา มีเรื่องราวประวัติศาสตร์ท้องถิ่นที่นำสู่พิษณุโลก ในปัจจุบันของคนในเมืองพิษณุโลก พื้นที่ที่เคยมีการก่อสร้างบ้านเรือนจับจองที่ดินบนที่ของหลวงหรือรัฐ ต่างคนต่างสร้างต่อเติม จากวิถีน้ำที่อาศัยเรือนแพ,เรือเดินทางและทำมาหากินขนส่งสินค้าและเดินทางทางน้ำ เปลี่ยนแปลงความเจริญ มีถนนหนทาง,การเดินรถไฟสายเหนือ , หันมาสร้างบ้านเรือนติดถนนและใช้หอนาฬิกา,สถานีรถไฟเป็นศูนย์กลางP7180173

ชื่ออาคารจากความสะดวกของน้ำประปา,การไฟฟ้า,การคมนาคมขนส่งทางบกและที่นโยบายพัฒนาประเทศเท่าเทียมประเทศชาติตะวันตก สนองตอบนโยบายรัฐฯ ให้ทำการค้าขายปัจจัยการดำรงชีวิตและมีการค้าขายส่งสิ้นค้าให้กับทหารไทยและญี่ปุ่นในสงครามโลกครั้งที่2 ก่อให้เกิดการค้าขายมากมายตลาด

 

และคราวนั้นเองที่ความเปลี่ยนแปลงของชาวเมืองทีได้สร้างบ้านไม้ห้องแถวอย่างหนาแน่นในใจกลางเมืองตามยุคการสร้างบ้านแปรงเมืองสมัยนั้น อยู่อย่างแน่นแออัด ทางเดินแคบๆ  มีเรื่องราวของเมืองที่เกิดไฟไหม้อยู่ประจำเป็นปกติ รัฐได้ส่งงบประมาณมา เรื่องการเตรียมพร้อมป้องกันการเกิดอัคคีภัยกลับสูญหาย  จนวันที่ 2มกราคม2500ที่ยังอยู่ในช่วงเฉลิมฉลองปีใหม่ 25ศตวรรษ ต้นเพลิงเกิดที่บ้านประกอบอาชีพเย็บผ้าโดยเด็กชายอายุประมาณ4ขวบ ที่เล่นไม้ขีดไฟบนชั้นสองแม่เย็บผ้าด้านล่างบริเวณ  (ปัจจุบันเป็นบ้านพักอัยการหรือซอยหมอศิวะฤทธิ์ ถ.เอกาทศรถลุกลามไปถึง ถ.พุทธบูชาตลาดใต้เทศบาล1เพลิงดับที่ ถ.สุรสีห์  ศาลพ่อปุ่นเถ้ากง, ทิศเหนือสุดสถานีตำรวจ ถ.นเรศวร)  ตามผลสรุปของการสอบสวนในสมัยนั้น ความสูญเสียของคนสมัยนั้น ขาดที่อยู่อาศัย สิ้นเนื้อประดาตัวกว่า6,000คน ต้องนอนตามสถานที่ๆจัดให้,บ้านญาติ,โรงเรียนหรือวัดวาอาราม ฯลฯ

 

เปิด2502กว่าจะมาเป็นอาคารปูนแบบตะวันตก ทำธุรกิจค้าขาย  ถนนที่มีการวางผังที่ดีตามยุคสมัย บนที่ส่วนพระองค์หรือที่ราชพัสดุ ให้เป็นย่านการค้าที่ทำให้เรากลับมาพัฒนาแซงหน้าจังหวัดรอบข้างอีกครั้ง สมัยท่านนายกจอมพล ป.พิบูลสงคราม   ที่น่าประทับใจคือพระเจ้าอยู่หัวให้ใช้ที่ดิน,ทรงมอบเงินเยียวยาหนึ่งแสนบาทสมัยนั้น จังหวัดอื่นและต่างชาติส่งเงินมาเป็นน้ำใจช่วยเหลือP7180169

ผลอัคคีภัยครั้งนั้นก่อเกิดผังเมืองใหม่ ฝั่งค้าขายและฝั่งหน่วยงานข้าราชการ ,อาคารบ้านเรือนที่ทันสมัย,มีตราสัญลักษณ์และชื่อปีพ.ศ., ถนนที่มีชื่อเป็นเอกลักษณ์สะดวกในการจราจรยุคนั้น ,การเปลี่ยนแปลงการเมืองท้องถิ่น มีคณะ18อาสามาเป็นเทศบาล,ให้ชาวเมืองมีบทบาทมากกว่าข้าราชการของรัฐ  และที่สำคัญสุดคือการเกิดความสามัคคีมีน้ำใจของชาวเมืองมุ่งพัฒนาท้องถิ่นภาพข่าว4แยก

ปีที่ 56  นำความเจริญให้คนรุ่นหลัง สู่เทศบาลนครในปัจจุบันนี้        นี่คือตำนานเมือง,มรดกทางประวัติศาสตร์และสัจจะธรรม…..จากเด็ก4ขวบP7180167

 

กล้าณรงค์  ภักดิ์ประไพ

รถท่องเที่ยวชมเมืองพิษณุโลก

17 มกราคม 2556

แสดงความคิดเห็น