จังหวัดพิษณุโลก ถือว่าเป็นเมืองทางด้านเศรษฐกิจ ทางด้านภาคเกษตรในพื้นที่ภาคเหนือ ซึ่งมีการเจริญเติบโตทุกหลายภาคส่วน ส่งผลให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะต้องมีพัฒนาตนเองอยู่เสมอ โดยเฉพาะทางด้านการเกษตร ที่นับวันจะไม่หยุดนิ่งในด้านการพัฒนาสายพันธุ์พืชผักต่างๆ เพื่อให้ได้มาตรฐานของกำหนดไว้ อีกทั้งในปี 2558 ประเทศไทยก็จะก้าวสู่ประชาคมอาเซียน ที่จะเสรีทางทางการค้า ส่งผลให้หน่วยงานเร่งพัฒนาเมล็ดสายพันธุ์ของพืชเศรษฐกิจของประเทศ
โดยที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก ได้มีการนำเอาเทคโนโลยีและพัฒนาสายพันธุ์เมล็ดพันธุ์พืชมาอย่างต่อเนื่อง เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกร นางกัลยา เนตรกัลยามิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก กล่าวว่า ขณะนี้ทางศูนย์ฯ ได้มีการพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชอย่างต่อเนื่อง เพื่อให้พี่น้องเกษตรกรได้ใช้เมล็ดพันธุ์ที่มีคุณภาพ และสามารถนำไปเพาะปลูกได้ผลผลิตที่ดี ไม่ว่าจะเป็นถั่วเขียว พันธุ์ชัยนาท 72,กำแพงแสน 2 ถั่วลิสง พันธุ์ขอนแก่น 60,กาฬสินธุ์ 2 ข้าวโพดพันธุ์นครสวรรค์ 3 ถั่วเหลือง พันธุ์เชียงใหม่ 60 ซึ่งขณะนี้เมล็ดพันธุ์พืชเหล่านี้ได้รับความนิยมในการเพาะปลูกของพี่น้องเกษตรกรเป็นอย่างมาก โดยทางศูนย์ฯ ก็จะนำเมล็ดพันธุ์เหล่านี้มาวิจัยและขยายเมล็ดพันธุ์ลักษณะที่ 4 ชั้นพันธุ์คือพันธุ์คัด พันธุ์หลัก พันธุ์ขยาย และพันธุ์เครือข่ายจำหน่าย
ทางศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก เราได้เน้นการวิจัยที่พืชไร่ เป็นพืชตระกูลถั่วที่เป็นอาหารนำร่องคือ ถั่วเหลือง ถั่วเขียว ถั่วลิสง ข้าวโพด โดยในการส่งออกเมล็ดพันธุ์พืชนั้น ภาคราชการไม่ได้ส่งออกและภาคเอกชนจะเป็นผู้ส่งออกมากกว่า 4,000 กว่าล้านบาท โดยเฉพาะเมล็ดพันธุ์ข้าวโพดและพืชผัก เมล็ดพันธุ์ข้าว ถั่วเหลืองถั่วเขียว ส่วนใหญ่จะใช้ภายในประเทศ เนื่องจากถั่วเหลืองถั่วเขียวเป็นพืชควบคุมแต่หลังจากเปิดอาเซียนเสรีแล้ว หลายประเทศก็จะมีการสั่งซื้อกัน แต่ประเทศเพื่อนบ้านเรานั้นเทคโนโลยีทางการผลิตยังไม่เท่าเทียมไทย จึงทำให้ประเทศเรายังได้เปรียบกว่าหลายประเทศ เนื่องจากขณะนี้ที่ศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก ได้มีเครื่องมือที่ทันสมัย สามารถตรวจสอบเมล็ดพันธุ์ที่มีชีวิต ด้วยกล้องไมโครสโคป นำไปตรวจขยายพันธุ์พืชได้อย่างมีคุณภาพ
ส่วนความพร้อมในการก้าวสู่อาเซียนนั้น ทางศูนย์ฯ ได้งบประมาณกว่า 20 ล้านบาทในการสร้างอาคารอบรมถ่ายถอดเส้นทางเทคโนโลยี ห้องแลปต่างๆ เพื่อพัฒนาสายพันธุ์เมล็ดได้อย่างมีคุณภาพ ซึ่งในการก้าวสู่อาเซียน ก็จะมี 2 กรณี คือ คู่ค้า กับคู่แข่ง คู่ค้า คือ ประเทศที่ปลูกพืชตระกูลถั่ว มีเวียดนาม ลาว พม่า ประเทศเหล่านี้เทคโนโลยีด้อยกว่าบ้านเรา ก็จะชักชวนมาฝึกอบรมให้มีคุณภาพ
ผู้สื่อข่าวถามว่า การเป็นฮับของอาเซียน ได้อย่างไร นางกัลยา เนตรกัลยามิตร ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยและพัฒนาเมล็ดพันธุ์พืชพิษณุโลก กล่าวว่า ขณะนี้ เราเริ่มโดยทางกรมวิชาการเกษตร ก็จะให้ทางศูนย์ฯ เป็นศูนย์กระจายของเมล็ดพันธุ์ของกรมส่งเสริม เมล็ดพันธุ์พืชทั้งหลาย ก็จะมารวมอยู่ที่ศูนย์ฯแห่งนี้ จากนั้นก็จะกระจายไปยังเครือข่ายและนำไปขยายต่อ หลังจากนั้นเมื่อก้าวสู่อาเซียน ประเทศต่างๆ ก็จะมีทราบว่าต้องการหาข้อมูลเมล็ดพันธุ์พืชเหล่านี้ได้ที่ใด
/////