ก้าวสู่ปีที่ ๑๕ พิพิธภัณฑ์ผ้า

พระเทพฯ

กว่าจะเป็นเส้นด้ายให้เจ้าเห็น                    กว่าจะเน้นลายสวยให้เจ้าใส่

กว่าจะทอสักผืนได้ดั่งใจ                                       ต้องทุ่มทั้งกายใจใช้เวลา

เส้นต่อเส้นลายต่อลายใช้ความคิด ตาเพ่งพิศจิตมั่นมือผสาน

เหล่านี้คือภูมิปัญญามาช้านาน                             หวังสืบสานงานฝีมือคือคนไทย

วันเวลาหมุนเวียนเปลี่ยนแนวทิศ               โลกแห่งวิทยาการล้ำสมัย

เทคโนโลยีรุดหน้าล้วนก้าวไกล                              คนรุ่นใหม่เห็นดีงามเดินตามกาล

เจ้าหลงลืมภูมิปัญญาของแม่เฒ่า              เป็นของเก่าค่าเพียงเสียงเล่าขาน

บรรพบุรุษกลั่นจากจิตวิญญาณ                            เหล่าลูกหลานเบือนหน้าตราว่าเชย

 

DSC07332  ด้วยความมุ่งมั่นในอันที่จะฟื้นฟู อนุรักษ์ และสืบสานภูมิปัญญาผ้าทอไทย โดยเฉพาะอย่างยิ่งผ้าฝ้าย อันเป็นวิถีที่มีมาแต่ดั้งเดิมของกลุ่มชนในแถบภาคเหนือตอนล่าง มหาวิทยาลัยนเรศวรจึงได้จัดตั้งพิพิธภัณฑ์ผ้าขึ้น โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณจากร้านจิตรลดา อันเป็นโครงการเนื่องมาจากพระราชดำริในสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ และได้รับพระมหากรุณาธิคุณจากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารีเสด็จพระราชดำเนินทรงเปิดพิพิธภัณฑ์ผ้าเมื่อวันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๔๒ จากนั้นมหาวิทยาลัยได้รับการสนับสนุนจากการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทยจัดตั้งพิพิธภัณฑ์ชีวิตขึ้นเมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๕๔๔ไทครั่ง2

เมื่อเข้าสู่มหาวิทยาลัยนเรศวร ประมาณ ๓๐๐ เมตร ณ พิพิธภัณฑ์ชีวิต จะเห็นเด็กหญิงปุยฝ้ายยืนคู่กับช้างน้อยใบหม่อนที่พร้อมพาทุกท่านสัมผัสกระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ผ้าไหม โดยมีช่างทอผ้าสาวน้อยวัยใส อนงค์ วงศ์สุวรรณ์ ที่รักการทอผ้าเป็นชีวิตจิตใจ คอยแนะนำพร้อมสาธิตกระบวนการต่าง ๆ ตั้งแต่การปลูกฝ้าย เก็บฝ้าย ตากฝ้าย เลี้ยงไหม สาวไหม การทำเส้นฝ้าย เส้นไหม การย้อมสี ไปจนถึงการทอเป็นผืนผ้าด้วยเทคนิคต่าง ๆ ซึ่งในแต่กระบวนการยังมีรายละเอียดอันประณีตซับซ้อน บางคนนึกสนุกลองลงมือทำบ้าง แล้วก็ถึงกับอึ้งพร้อมเปรยด้วยน้ำเสียงอันหนักแน่นว่า ซื้อผ้าฝ้าย ผ้าไหมครั้งต่อไปจะไม่ต่อราคาแม้แต่บาทเดียว

            ระหว่างการเดินชมกระบวนการผลิตผ้าฝ้าย ผ้าไหมในแต่ละอาคาร ยังได้ชื่นชมผลงานประติมากรรมของศิลปินระดับแนวหน้าของประเทศท่ามกลางบรรยากาศอันร่มรื่นในสวนประติมาธรรม และสถานที่แห่งนี้ยังเปิดให้บริการใช้จัดกิจกรรมต่าง ๆ ได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่ายใด ๆ ทั้งสิ้นจิตรลดา ฉลองพระองค์

กว่าจะเป็นผืนผ้าต้องอาศัยทั้งเวลา ฝีมือ และความอดทน นอกจากนั้นแล้วผ้าแต่ละผืนยังแฝงด้วยคุณค่าและความหมายอันแตกต่าง…ณ พิพิธภัณฑ์ผ้า ล้วนละลานตากับผ้าหลายรูปแบบ หลากชาติพันธุ์ ประกอบด้วยห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าจิตรลดา ห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าไทครั่ง ห้องนิทรรศการหมุนเวียน และมุมบริการข้อมูลและสารสนเทศจิตรลดา

ห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าจิตรลดา พบกับชุดฉลองพระองค์ในสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ที่พระราชทานให้แก่มหาวิทยาลัยนเรศวร ฉลองพระองค์เหล่านี้ล้วนเป็นต้นแบบของชุดไทยอันหลากหลาย เป็นต้นกำเนิดของการฟื้นฟู อนุรักษ์และสืบสานผ้าทอไทยให้ดังกระฉ่อนไปทั่วโลก ครั้งหนึ่ง Her Excellency Kristie Kenney เอกอัครราชฑูตสหรัฐอเมริกาประจำประเทศไทย แสดงความประทับใจ ตื่นตาตื่นใจในความงดงามของฉลองพระองค์ และชื่นชมในพระปรีชาสามารถ ความมุ่งมั่นของพระองค์ในการพลิกฟื้นและดำรงภูมิปัญญาผ้าทอไทย เป็นความภาคภูมิใจของคนไทยทั้งประเทศ นอกจากนี้ในห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าจิตรลดายังมีสินค้าลายกระต่ายหรือตราสัญลักษณ์ สืบเนื่องมาจากเป็นปีพระราชสมภพของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว คือปีเถาะหรือปีกระต่าย และสีประจำพระชนมวารวันที่พระองค์พระราชสมภพคือ วันจันทร์ ได้แก่ สีเหลือง หลายคนที่มาเยี่ยมชมรบเร้าขอซื้อสินค้าเหล่านี้ ก็ต้องอธิบายให้ฟังว่ามีเฉพาะที่จัดแสดงเท่านั้น และพยายามเบี่ยงเบนความสนใจไปชมส่วนอื่น ๆ แทน ได้แก่ ดอกไม้ประดิษฐ์ ผ้าปักลาย ดอกไม้พระนามสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ซึ่งมีประวัติที่น่าสนใจอย่างยิ่ง ตลอดจนผ้าประเภทต่าง ๆ ประกอบด้วยผ้าดอกจอก ผ้ายก ผ้ากะเหรี่ยง ผ้าจก ของใช้ประจำตัวบุคคล และมุมผ้าขาวแสดงแบบ

ห้องพิพิธภัณฑ์ผ้าไทครั่ง เป็นการจัดแสดงวัฒนธรรมและผ้าโบราณของกลุ่มไทครั่ง (ลาวคั่ง, ลาวครั่ง หรือลาวกา) ซึ่งเป็นกลุ่มชนที่สืบเชื้อสายมาจากประเทศลาว สันนิษฐานว่าอพยพมาตั้งแต่สมัยกรุงธนบุรีและสมัยรัชกาลที่ ๓ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ถูกกวาดต้อนเข้ามาอยู่ตามหัวเมืองใกล้ ๆ เพื่อเสริมกำลังแก่พระนคร ปัจจุบันมีลูกหลานชาวไทครั่งอาศัยอยู่ในหลายจังหวัดในแถบภาคเหนือตอนล่าง เช่น พิษณุโลก สุโขทัย กำแพงเพชร นครสวรรค์ ชัยนาม อุทัยธานี เมื่ออพยพมาชาวไทครั่งได้นำผ้าทอชนิดต่าง ๆ ติดตัวมาด้วย ทั้งผ้าที่ใช้ในชีวิตประจำวัน เช่น ผ้านุ่ง ผ้าห่ม ผ้าหน้ามุ้ง ผ้าล้อ และผ้าที่ใช้ในพระพุทธศาสนา เช่น ผ้าตุง ผ้าอาสนะ ผ้าปกหัวนาค เป็นต้น ซึ่งผ้าที่จัดแสดงอยู่ที่นี่บางชิ้นมีอายุมากกว่า ๑๐๐ ปีทีเดียว

ห้องนิทรรศการหมุนเวียน เป็นการจัดแสดงผ้าและวัฒนธรรมของกลุ่มชนต่าง ๆ อย่างต่อเนื่อง เช่น นิทรรศการกษัตริยา, นิทรรศการผ้าไทย ๔ ภาค นิทรรศการผ้าย้อมคราม นิทรรศการผ้าในพิธีกรรม นิทรรศการผ้าชนเผ่าไท เป็นต้น นอกจากนี้ยังมีมุมบริการข้อมูลและสารสนเทศ ให้ได้ศึกษาข้อมูลเกี่ยวกับผ้าและวัฒนธรรมต่าง ๆ อีกด้วย

ณ พิพิธภัณฑ์ผ้าแห่งนี้ยังมีกิจกรรม การดำเนินการในด้านต่าง ๆ เพื่อสร้างองค์ความรู้ เกิดความซาบซึ้งในภูมิปัญญาไทย เป็นแหล่งข้อมูลข่าวสาร และแหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมที่สำคัญ ในโอกาสก้าวเข้าสู่ปีที่ ๑๕ ของพิพิธภัณฑ์ผ้า สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน จึงได้รวบรวมกิจกรรมการดำเนินงานของพิพิธภัณฑ์ผ้านำเสนอในรูปแบบของงานนิทรรศการ “๑๕ ปี พิพิธภัณฑ์ผ้า” เพื่อเป็นการเฉลิมฉลองการก้าวสู่ปีที่ ๑๕ ของพิพิธภัณฑ์ผ้า ในปี พ.ศ. ๒๕๕๖     พิพิธภัณฑ์ชีวิต3

พบกับการจัดแสดงกิจกรรมการดำเนินงาน ๑๕ เรื่องเด่น ในรอบ ๑๕ ปี อันสอดคล้องกับพันธกิจของมหาวิทยาลัยนเรศวรในด้านการทำนุบำรุงศิลปวัฒนธรรม การบริการวิชาการ และการวิจัย ประกอบด้วยเรื่องราวของนักออกแบบ, บริการชุมชน, งานวิจัย, นิทรรศการ, การบริจาค, คนดัง, ฝึกอบรม, การทอผ้า, ราชวงศ์, ผ้าทอ, แสดงแบบผ้าไทย, สื่อ, การเป็นวิทยากร, ความทรงจำ และส่งเสริมการแปรรูปนิทรรศการหมุนเวียน

ขอเชิญร่วมชื่นชม ซึมซับภูมิปัญญาไทยที่ผ่านการประยุกต์ พัฒ

พิพิธภัณฑ์ชีวิต

นา

สร้างสรรค์ มาตลอดระยะเวลา ๑๕ ปี ในนิทรรศการ “๑๕ ปี พิพิธภัณฑ์ผ้า” ทุกวันจันทร์ – วันเสาร์ เวลา ๐๘.๓๐ – ๑๖.๓๐ น. วันนี้จนถึงวันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๕๖ ณ พิพิธภัณ
…เพราะเป็นหน้าที่ของลูกหลานไทยในการสืบสานปณิธานของบรรพชน…ฑ์ผ้า มหาวิทยาลัยนเรศวร

 

พรปวีณ์  ทองด้วง

นักประชาสัมพันธ์

สถานอารยธรรมศึกษา โขง-สาละวิน มหาวิทยาลัยนเรศวร

แสดงความคิดเห็น