โดยทั่วไปวิหารหรืออุโบสถ์ สถาปัตยกรรมไทยเครื่องบนจั่วหลักคามักจะมี ช่อฟ้า,ใบระกา,หางหงส์(หรือพญานาค) สำหรับ วัดนางพญา ที่เรารู้จักกันดีว่ามีอายุเก่าแก่คู่เมืองมานั้น หากท่านได้สังเกตจะเห็นว่าไม่มีช่อฟ้า
“แล้วช่อฟ้าไปไหนหล่ะ ลักษณะเป็นอย่างไร” ท่านสามารถเข้าไปชมได้ เชื่อว่าในไม่นานนี้จะต้องขึ้นไปประดับยังตำแหน่ง และวันนั้นจะเป็นประวัติศาสตร์อีกหน้าหนึ่งของพิษณุโลก เพราะทางวัดได้ทำเรื่องไปถึงสำนักพระราชวังให้เจ้าฟ้าเชื้อพระวงศ์มาทำพระราชพิธียกช่อฟ้าขึ้นไป
ให้สมกับที่เคยเป็นวัดของพระมหากษัตริย์ และเชื่อว่าสมัยพระมหาธรรมราชา(อยุธยา)400กว่าปีที่แล้ววัดนี้เป็นวัดของพระวิสุทธิกษัตรีย์พระราชมารดาของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช และมีเรื่องยิ่งใหญ่อีกที่ถ่ายทอดไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานชาวพิษณุโลกคือ พระพิมพ์นางพญา หนึ่งในพระชุดเบญจภาคีเนื้อดินที่เลื่องลือชื่อในพุทธคุณและเอกลักษณ์ในความสวยงามเป็นศรีคู่เมืองของเรา สืบต่อไป
*( ดำริของท่านเจ้าอาวาสม้วน เมื่อปีพ.ศ.2514-15 ได้บูรณะวิหาร เพื่อให้เป็นอุโบสถ์ เพื่อใช้ในพิธีสำคัญเช่นอุปสมบทหรือพิธีทางศาสนาอื่นๆในสภาพเนื้อที่ของวัดที่จำกัด )
-พระนางพญาเรือนแก้ว พระประธานปิดทองใหม่สวยงาม -จิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติและภาพประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชที่จำลองมาจากวัดสุวรรณดาราราม จ.อยุธยา
– ช่อฟ้า และความสวยงามภายในวิหาร
-ตราสัญลักษณ์ ภปร. พญาครุฑ ประจำรัชกาลที่9
-ขอพร พระสังกัจจายน์ ศาสนาพุทธทั้งสองนิกายหน้าประตูทางเข้า3บาน
– เจดีย์เก่าด้านหลังอุโบสถ์,พระห้ามญาติ,พระสิวลี
-จิตรกรรมแนวใหม่ที่มีสีสันเล่าเรื่องรามเกียรติ์ฯที่ระเบียงด้านนอก
กิจกรรม
ตีหรือลูบฆ้อง,ไหว้พระประจำวันและอย่าลืมบูชาพระนางพญาปัจจุบันนี้มีพิธีรุ่น พิเศษ สร้างตำหนักฯให้ได้เป็นสิริมงคล
กล้าณรงค์ ภักดิ์ประไพ
รถท่องเที่ยวชมเมืองพิษณุโลก
14 ธค.2555