ฟังและร้องเพลงลอยกระทงมาตั้งแต่เด็ก เพิ่งหายสงสัยข้อคาใจได้ก็ช่วงนี้ จากการสืบเสาะค้นหาข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำก็น้องเต็มตลิ่ง แต่ไอ้เรามันเกิดที่พิษณุโลก โตที่พิษณุโลก ถึงลอยกระทงทีไร น้ำมันไม่ลอยเต็มตลิ่งซักที ยิ่งปี 2555 น้ำน่านเมืองพิษณุโลก ยิ่งต่ำมาก ตุลาคมที่ผ่านมาอยูแค่ 1 เมตร 24 พย.2555 อยู่ที่ระดับ 2.5 เมตร ก็เป็นระดับพอเหมาะคุ้นเคยสำหรับงานลอยกระทงพิษณุโลกบ้านเรา
ที่ผ่านมาก็ออกเก็บภาพบรรยากาศแม่น้ำน่านเมืองพิษณุโลกทุกวัน น้ำนองเต็มตลิ่ง ที่เห็นชัดสุดคือช่วงน้ำท่วมไทยกันยายน 2554 ช่วงนั้นน้ำน่านนองเต็มตลิ่งจริง ๆ ครับ
แม่น้ำน่าน มีต้นกำเนิดอยู่ในเทือกเขาหลวงพระบาง จังหวัดน่าน มีความยาวตลอดลำน้ำ 740 กิโลเมตร ซึ่งยาวที่สุด ในบรรดาแควต้นน้ำเจ้าพระยาด้วยกัน นับเป็นหนึ่งในแม่น้ำสายหลักในภาคเหนือและภาคกลางของไทย โดยได้ไหลรวมกับแม่น้ำปิง กลายเป็นแม่น้ำเจ้าพระยา แม่น้ำสำคัญสายหนึ่งของประเทศ ช่วงไหลผ่านจ.พิษณุโลก ไหลผ่านอ.พรหมพิราม อ.เมือง และอ.บางกระทุ่ม ชาวพิษณุโลกเรามีความผูกผันกับสายน้ำน่านมาตั้งแต่อดีต ยิ่งเทศกาลลอยกระทง เราได้รับการปลูกฝังเรื่องการขอขมาแม่คงคา เป็นประเพณีที่ดีที่เราชาวพิษณุโลกได้ร่วมขออภัยแม่แห่งสายน้ำ
ส่วนข้อหายสงสัย เมื่อสืบค้นข้อมูลทางอินเตอร์เน็ต ก็หายคาใจ ก็คนแต่งเพลงรำวงลอยกระทงเขาบรรยายบรรยากาศแม่น้ำช่วงวันเพ็ญเดือนสิบสองโดยมีแม่น้ำเจ้าพระยาเป็นฉากสำคัญ แม่น้ำเจ้าพระยาช่วงไหลผ่านกรุงเทพฯ อยู่ในระดับใกล้เคียงกับระดับน้ำทะเล ทำให้ระดับน้ำใกล้เคียงกับระดับตลิ่งพอดี ต่างจากเมืองพิษณุโลกบ้านเรา ที่แม่น้ำน่านตลิ่งสูงถึงระดับ 10 เมตรครับ
ผู้แต่งเพลงนี้คือ คุณครูเอื้อ สุนทรสนาน แต่งเพลงรำวงลอยกระทง ร่วมกับครูแก้ว (แก้ว อัจฉริยะกุล) แต่งที่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ให้คณะพาณิชยศาตร์และการบัญชี มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ บรรเลงในงานวันลอยกระทงของคณะ ท่านใช้เวลาแต่งเพลงนี้ประมาณ 30 นาที แล้วบรรเลงในงานวันนี้เลย คือในปี พ.ศ. 2498
นายเอื้อ สุนทรสนาน หรือเรียกกันว่า “ครูเอื้อ” หัวหน้าวง สุนทราภรณ์ (21 มกราคม พ.ศ. 2453 – 1 เมษายน พ.ศ. 2524) เป็นทั้งนักร้อง นักประพันธ์เพลง อาทิ เพลงถวายพระพร เพลงวันลอยกระทง เพลงปลุกใจ เพลงสดุดี เพลงประจำจังหวัด และเป็นหัวหน้าวงดนตรีสุนทราภรณ์ นอกจากนี้ยังเป็นหนึ่งในผู้ก่อตั้ง สมาคมดนตรีแห่งประเทศไทยในพระบรมราชูปถัมภ์อีกด้วย [1]เอื้อ สุนทรสนาน ได้แต่งเพลงร่วมกับแก้ว อัจฉริยกุล และท่านอื่นๆ ไว้มากมายจนนับไม่ถ้วน ซึ่งคาดว่ามีมากกว่า 2,000 เพลง มีเพลงที่เป็นที่รู้จักกัน เช่น เพลงรำวงลอยกระทง เพลงรำวงเริงสงกรานต์ เพลงนางฟ้าจำแลง เป็นต้น นอกจากนั้นยังถือได้ว่าท่านเป็นหนึ่งในผู้ที่บุกเบิกเพลงไทยสากลและได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ตติยจุลจอมเกล้าวิเศษ ในปี พ.ศ. 2518 เมื่อวันที่ 5 เมษายน พ.ศ. 2550 กระทรวงวัฒนธรรม ได้เสนอ เอื้อ สุนทรสนาน ต่อองค์การยูเนสโกในวาระครบรอบ 100 ปีชาตกาลเพื่อให้เป็นบุคคลดีเด่นของโลก ซึ่งต่อมาในวันที่ 23 ตุลาคม พ.ศ. 2552 ทางองค์การยูเนสโกก็ได้ยกย่องครูเอื้อเป็นบุคคลสำคัญของโลกสาขาวัฒนธรรมดนตรีไทยสากล [2]
เพลงลอยกระทง ภาษาไทย
เพลง รำวงวันลอยกระทง
คำร้อง แก้ว อัจฉริยะกุล
ทำนอง เอื้อ สุนทรสนาน
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ
วันเพ็ญเดือนสิบสอง น้ำนองเต็มตลิ่ง
เราทั้งหลายชายหญิงสนุกกันจริง วันลอยกระทง
ลอย ลอยกระทง ลอย ลอยกระทง
ลอยกระทงกันแล้ว ขอเชิญน้องแก้วออกมารำวง
รำวงวันลอยกระทง รำวงวันลอยกระทง
บุญจะส่งให้เราสุขใจ บุญจะส่งให้เราสุขใจ ฯ
เนื้อเพลงลอยกระทง (ภาษาอังกฤษ)
November full moon shine loy kratong loy kratong
And the water’s high in local river and the klong
loy loy kratong loy loy kratong
loy kratong is here and everybody’s full of cheers
We’re together at the Klong each on with each krathong
as we push away we pray we woul see a better day