สิ่งก่อสร้างทางศาสนาในสถาปัตยกรรมโบราณ วัดเก่าต่างๆในสมัยสุโขทัยนั้น ไม่เน้นการสร้างโบสถ์
โดยจะเน้นเดินทักษิณาวัตร รอบสถูปเจดีย์ กราบนมัสการพระพุทธรูป ที่เสมือนองค์พระพุทธเจ้า เรียกอุเทสิกะเจดีย์
หากเป็นวัดที่สำคัญที่เป็นวัดหลวงของพระมหากษัตริย์หรือสมัยหลังๆ จึงมีการสร้าง “อุโบสถ” มีการสร้างอุโบสถ์วัตถุประสงค์เพื่อ สำหรับบวชพระภิกษุ หากเป็นวัดหลวงให้เรียกพระอุโบสถ์
ประวัติครั้นสมัยสมเด็จพระนเรศวรมหาราช มาขึ้นครองพิษณุโลก ทรงขึ้นเป็นพระมหาอุปราช
เชื่อว่าทรงผนวชที่วัดนี้ สร้างพระอุโบสถ์และบูรณะอาราม ตามภาพจิตรกรรมฝาผนัง ของพระอุโบสถ์ ที่เล่าตำนานอันยิ่งใหญ่ ของพระองค์ท่านไว้ หลังจากสมันนั้น หลักฐานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับพระอุโบสถ์นั้นมีน้อยมาก
จนมาถึงช่วงสมัยรัตนโกสินทร์ที่มีเทคโนโลยีภาพถ่ายเข้ามาในประเทศไทย การเสด็จพระราชดำเนินประพาสหัวเมืองต่างๆตั้งแต่รัชกาลที่4เป็นต้นมา จะบันทึกโดยเอกสารพระราชหัตถเลขา,จดหมายเหตุ อีกยังมีภาพถ่ายบันทึกเล่าประวัติศาสตร์ไว้ ให้เป็นหลักฐานที่ดีแสดงถึงอารยความเจริญของประเทศไทยสมัยนั้นๆ ให้คนรุ่นหลังได้เรียนรู้ เช่นภาพพระอุโบสถ์และเจดีย์ขาว พระปกเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่7ได้ทรงเสด็จพระราชดำเนิน มาเมือปีพุทธศักราช2469 จึงได้เห็นว่าสมัยนั้นมีอาคารอยู่แต่เก่าทรุดโทรมลงไปบ้าง (เสนอรูปเก่าร.7แนบมาให้)
ในปี2553-2554 ทางวัดและกรมศิลปากรที่ดูแลได้บูรณะครั้งใหญ่ ร่วม30ล้านบาท เพื่อให้สวยงามและคงอยู่ต่อๆไปอีกตามศิลปะยุครัตนโกสินต่อไป บูรณะพระประธาน”หลวงพ่อโต” ลงลักปิดทองสวยงาม ตามศิลปะสุโขทัย ตัวอาคารได้อิทธิพลพระวิหารหลวงพ่อพุทธชินราช ลวดลาย, ,เครื่องบนปิดทองลงชาตสีแดงลายดอกพุฒ ดาวเพดานล้อมเดือน,บานประตูประดับมุขจำลองแบบจากวิหารพระพุทธชินราช เขียนมุขบันทึกประวัติการสร้าง,ซุ้มประตูทรงปราสาทลวดลายไทยจากของเดิมที่มี,เสาลายไทยพุ่มข้าวบิณฑ์ บัวหัวเสา, กำแพงแก้วและฐานใบเสมาบริเวณรอบโบสถ์บูรณะใหม่ทั้งสิ้น
แต่ที่เน้นพิเศษโดดเด่นคือภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังทั้งศิลปะลายไทยช่วงบนเหนือหน้าต่างที่สวยงามคือลายพุ่มข้าวบิณฑ(ดอกบัวตูม)ประกอบเทวดาพนม ในซุ้มเรือนแก้วที่ลงทองบริสุทธิ์แท้รอบอุโบสถ โดยได้เล่นกับแสงไฟที่ได้จัดไว้อย่างมีเจตนา หากท่านได้เดินชมเทพนมจะเคลื่อนองค์ตามไปเลื่อย อย่างมีมิติ สีทองลายไทยสดสวยงาม
ช่วงกลางระหว่างหน้าต่าง เป็นจิตรกรรมฝาผนังประวัติสมเด็จพระนเรศวรมหาราชตอนตางตั้งแต่ทรงพระเยาว์วัยในเมืองสองแควจวบจนถึงวันที่พระชนม์ที่เมืองหาง จากด้านขวา วนรอบผนังไปฝั่งด้านซ้าย และเหนือประตูเป็นตอนสำคัญนั่นคือการประกาศอิสระภาพ สู่ความเป็นไท พ.ศ.2127
ที่เด่นและยิ่งใหญ่อีกคือภาพการทำยุทธหัตถีที่เล่าความสามารถของพระนเรศวรกับการรถพุ่งบนหลังช้างไชยานุภาพ ท่ามกลางทหารพม่าล้อมรอบ มีกำลังพลมากมายแต่ พระนเรศวรและพระเอกาทศรถสามารถนำชัยชนะฟันคอพระมหาอุปราชาขาดสะพายแล่ง ทัพพม่าต้องถอยพ่ายไป ถึอเป็นการทำยุตหัตถี1ในสี่ที่เกิดขึ้นในประวัติศาสตร์ชาติไทย
การให้ภาพองค์พระนเรศวรมีพระพักตร์คล้าย พันโทวันชนะ สวัสดี ผู้พัน”เบิร์ด” เป็นการถ่ายทอดงานศิลป์ที่สรรสร้างของช่าง ที่นำเอาอิทธิพลของหนังตำนานพระนเรศวรที่โด่งดัง ซึ่งหากกาลเวลาผ่านไปสามารถบ่งบอกยุคสมัยรัตนโกสินทร์ ในปัจจุบันนี้ให้คนยุคต่อไปในอนาคตได้อย่างชัดเจน จากภาพจิตรกรรมนี้
เป็นที่น่าสนใจอย่างยิ่ง มีรูปหล่อสัมฤทธิ์ของพระท่านเจ้าอาวาสของวัดทุกรูปทุกท่าน ที่มรณะภาพแล้ว หน้าองค์พระประธาน “หลวงพ่อโต”
**แต่ท่านเจ้าอาวาสปัจจุบัน พระธรรมเสนานุวัตร นั้นสื่อออกมาด้วยภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนั่ง ตอน พระนเรศวรและพระเอกาทศรถได้กราบนมัสการพระพุทธชินราชฯ ท่านเจ้าอาวาส นั่งบนอาสนะเป็นประธานพระสงฆ์ ในพระวิหาร
นี่คืออัตตะลักษณ์ของงานช่างศิลป์ที่สรรสร้าง สื่อถึงท่านได้เป็นผู้บูรณะในปัจจุบันนี้
ส่วนแถบท่อนล่างผนังอุโบสถ์ จิตรกรรมลายไทยเฟืองอุบะศิลปะอยุธยาแบบปูนปั้นที่วัดจุฬามณีที่เลื่องลือ ลองพื้นสีเขียวแกมฟ้าอ่อน บอกความเป็นศิลปะพิษณุโลกอย่างดีเยี่ยม
ด้านหน้า เดิมจั่วด้านหน้าพระอุโบสถ์เป็นลูกฟักสี่เหลี่ยมไม่มีลายหรือภาพใดๆ ปัจจุบันได้ให้อัญเชิญ ตราพระราชรัญจกร “พระเกี้ยว”บนพาน สีทองแกะนูนต่ำ ของสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวล้นเกล้ารัชกาลที่5 ฉายแสงเด่นตระการอย่างมีความหมาย และยังมีที่บานหน้าต่างทุกๆบาน
พระอุโบสถ์หลวงพ่อโต ที่คงอยู่เคียงเป็นศรี คู่ร่วมประวัติฯของวัดพระศรีรัตนมหาธาตุวรมหาวิหาร กาลเวลาและ การบูรณะเปลี่ยนแปลงตามรัชสมัย สู่อนาคตกาลให้ลูกหลานได้สืบประวัติศาสตร์ตามรอย บรรพกษัตริย์ จากพงศาวดาร,จดหมายเหตุเอกสารต่างๆ ………. สู่ภาพถ่ายในอดีตกาล สู่เรื่องเล่าความยิ่งใหญ่เมืองร่วมประวัติศาสตร์….พิศณุโลก
กล้าณรงค์ ภักดิ์ประไพ
รถท่องเที่ยวชมเมืองพิษณุโลก
23 พฤศจิกายน 2555