เวลา 10.00 น.วันที่ 29 ตุลาคม 2555 ที่หอประชุมบึงราชนก อ.วังทอง จ.พิษณุโลก คณะกรรมการการเลือกตั้งองค์การบริหารส่วนจังหวัดพิษณุโลก ได้จัดเวทีแสดงวิสัยทัศน์เชิงสมานฉันท์ เลือกตั้งนายกอบจ.พิษณุโลก 18 พฤศจิกายน 2555 โดยเชิญผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก ทั้ง 5 ราย มาแสดงวิสัยทัศน์รายละ 15 นาที ให้ประชาชนทั่วไปและสื่อมวลชนทำข่าวเผยแพร่ รวมถึงบันทึกเทปเพื่อเผยแพร่ในเว็ปไซด์ของอบจ.พิษณุโลก โดยนายอาคม ตรีเจิญ ปลัดอบจ.พิษณุโลก ผู้อำนวยการการเลือกตั้งประจำอบจ.พิษณุโลก ได้ทำหนังสือเชิญผู้สมัครทั้ง 5 ราย พร้อมมอบคำถามให้ผู้สมัครเหมือนกัน ล่วงหน้า เป็นแนวทางในการแสดงวิสัยทัศน์ครั้งนี้ ได้แก่ ให้แนะนำประวัติส่วนตัว มีวิสัยทัศน์ในการพัฒนาเมืองพิษณุโลกในวาระ 4 ปีอย่างไร มีเรื่องใดมีความสำคัญและจำเป็นต้องดำเนินการเร่งด่วน และเปิดโอกาสให้เชิญชวนประชาชนให้มาเลือกตนเอง
สำหรับวันนี้ มีผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก มาร่วมแสดงวิสัยทัศน์ 4 ราย โดยอบจ.พิษณุโลก ใช้วิธีให้ผู้สมัครจับสลากเรียงลำดับขึ้นพูดดังนี้ ลำดับที่ 1 นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ลำดับที่ 2 นายราม ตันรัตนวงศ์ ลำดับที่ 3 น.ส.วีรี ฐิติปุญญา ลำดับที่ 4.นายเรืองฤทธิ์ ศิริสวัสดิ์ ส่วนนายธวัชชัย กันนะพันธุ์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลกอีกราย ไม่ได้มาร่วมเวทีแสดงวิสัยทัศน์ในวันนี้

นายมนต์ชัย วิวัฒน์ธนาฒย์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก หมายเลข 3 กล่าวว่า ตนเป็นคนพิษณุโลก เกิดที่พิษรุโลก เรียนหนังสือที่พิษณุโลก รร.อนุบาลพิษณุโลก รร.พิษณุโลกพิทยาคม ป.ตรีม.กรุงเทพ ป.โทนิด้า และเข้าสู่ถนนการเมืองได้ 16 ปีแล้ว เป็นกำนันต.สมอแข ช่วงปี 2539-2543 เป็นส.ส.ช่วง 2548-2553 นับแต่เข้าสู่ถนนการเมืองมา ได้เห็นว่าพิษณุโลกได้รับการดูแลเอาใจใส่จากอบจ.มากน้อยแค่ไหน การมาทำงานอบจ.พิษณุโลก ต้องเข้าใจสภาพบริบทของพิษณุโลก รู้จักพี่น้องประชาชนคนพิษณุโลก มีความผูกพัน ประชาชน ต้องรู้จักผู้นำที่เลือกเข้าไปด้วย
นายมนต์ชัย กล่าวต่อว่า ถ้าเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก จะเข้าไปพัฒนาคุณภาพชีวิตประชาชนให้ดี เด็ก เยาวชน ผู้สูงอายุ ผู้ด้อยโอกาส ผู้พิการ ควรได้รับโอกาสจากอบจ.พิษณุโลกที่มีงบประมาณปีละ 700 ล้านบาท สุขภาพประชาชนต้องดีถ้วนหน้า เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางของการรักษาพยาบาล แต่ยังขาดแคลนเครื่องไม้เครื่องมือไปดูแล และขาดการส่งเสริมการออกกำลังกาย ด้านสิ่งแวดล้อม อนาคตเมืองพิษณุโลกจะมีการลงทุนอีกมาก เทศบาลนครพิษณุโลกก็ดำเนินการเรื่องพัฒนาสวนสาธารณะและระบบกำจัดขยะ แต่ที่ผ่านมาก็แทบไม่เพียงพอ ตนจะผลักดันให้มีการสร้างศูนย์กำจัดขยะส่วนรวมของจังหวัดพิษณุโลก ที่อปท.ขนาดเล็ก สามารถมาใช้ร่วมกันได้ การส่งเสริมการท่อเที่ยว ประเพณี ศิลปวัฒนธรรม ต้องการผลักดันให้เกิดขึ้นในพิษณุโลก ในครั้งนี้ ในฐานะหัวหน้าคณะพลังพิษณุโลก ได้ส่งสจ.ลงสมัครทั้ง 30 เขต การประสานความร่วมมือกับทุกระดับ ในอดีตตั้งแต่ตนเป็นกำนันและเป็นส.ส. ไม่เคยได้คุยกับอบจ.พิษณุโลกเลย แต่ถ้าตนเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก จะประสานการพูดคุยกับผู้แทนทุกระดับ กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ส.ส. นายกอปท. เพื่อกำหนดแผนพัฒนาบ้านเมืองให้ตรงกับความต้องการ ด้านการศึกษา จะจัดมีครูอย่างครบครันในระดับประถมศึกษา ขณะที่นร.ชั้นม.6 จะมีศูนย์ติวเตอร์บริการ เพื่อเรียนต่อในระดับอุดมศึกษา

นายราม ตันรันตวงศ์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลกหมายเลข 1 กล่าวว่า ตนเป็นสจ.พิษณุโลกมา 3 สมัย และเป็น
รองนายกอบจ.พิษณุโลกมา 2 สมัย บ้านเกิดที่ต.หัวรอ จบการศึกษารร.อนุบาลพิษณุโลกและไปเรียนต่อที่รร.อำนวยศิลป์พระนคร รร.บดินเ
ดชาสิงหเสรณี และไปเรียนต่อด้านการตลาดระดับอนุปริญญาที่ประเทศสิงคโปร์ และมาเรียนจบจบป.ตรีที่ม.ราชฏพิบูลสงคราม ปริญญาโทนิด้า เป็นสจ.สมัยแรกเมื่อปี 2538 การจะบริการงานในตำแหน่งนายกอบจ.พิษณุโลกนั้น ต้องรู้เราก่อน อบจ.พิษณุโลกมีข้าราชการพนักงานเท่าไหร่ มีงบประมาณเท่าไหร่ รู้จักพื้นที่ประชาชนทั้ง 9อำเภอ เมื่อออกพื้นที่แล้ว ทำให้ทราบว่า หากตนเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก จะดำเนินการด้านโครงสร้างพื้นฐานเป็นลำดับแรก โดยเฉพาะเรื่องน้ำสำคัญที่สุด หลายแห่งยังขาดแคลนน้ำอุปโภค-บริโภคอย่างมาก รองลงมาเป็นเรื่องถนนและระบบไฟฟ้า
นายราม กล่าวต่อว่า ในวาระ 4 ปี ของนายกอบจ.พิษณุโลก อยากทำให้เมืองพิษณุโลกเป็นศูนย์กลางด้านยุทธศาสตร์ที่สำคัญของประเทศไทย จะบูรณะพระราชวังจันทร์ ทำให้สมศักดิ์ศรีบ้านเกิดของสมเด็จพระนเรศวรมหาราช จะประสานงานกับจังหวัด ส.ส. หอการค้า สภาอุตสาหกรรม สมาคมธุรกิจท่องเที่ยว ในการประสานทิศทางให้พิษณุโลกเป็นหนึ่งในการเป็นเมืองศูนย์กลางสี่แยกอินโดจีน และอยากผลักดัน ให้เกิดการค้าชายแดนไทย-ลาว ที่บ้านร่มเกล้า อ.ชาติตระการ จ.พิษณุโลก เริ่มต้นจากจุดผ่อนปรนก่อน เริ่มจากการสานสัมพันธ์ระหว่างประชาชนสองประเทศ

น.ส.วีรี ฐิติปุญญา ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก หมายเลข 4 กล่าวว่า ตนเป็นหัวหน้ากลุ่มพิษณุโลกพัฒนา ที่ส่งผู้สมัครสจ.ลงเลือกตั้งพร้อมกันไปด้วย เป็นบุตรสาวของนายสุรินทร์ ฐิติปุญญา อดีตส.ว.พิษณุโลก อดีตนายกอบจ.พิษณุโลกสมัยที่ผ่านมา จบการศึกษาป.ตรี ม.อัสสัมชัญ และปริญญาโทรัฐศาสตร์ม.รามคำแหง มีประสบการทำงานบริงานธุรภิจครอบครัว ทั้งโตโยต้าและนิสสันพิษณุโลก และตลอด 4 ปี ที่นายสุรินทร์ ฐิติปุญญา เป็นนายกอบจ.ตนก็มาทำงานทางการเมือง เป็นเลขานุการนายกอบจ.พิษณุโลก จากประสบการณ์ภาคธุรกิจและงานการเมือง ถ้าเป็นนายกอบจ.พิษณุโลก เชื่อมั่นว่าสามารถบริหารงานได้ตามความพึงพอใจสูงสุดของประชาชน
น.ส.วีรี กล่าวถึงนโยบายว่า จะทำด้านโครงสร้างพื้นฐาน เช่น 4 ปีที่นายสุริทร์ ได้บริหารงานอบจ.พิษณุโลกมา ได้ทำถนนสายยุทธศาสตร์วังทอง-ชาติตระการ ล่นระยะทาง 70 กม. จะสานนโยบายด้านนี้ต่อ ด้านสาธารณสุข ส่งเสริมให้ผู้สูงอายุสามารถช่วยเหลือตนเองได้ จัดตั้งกองทุนฟื้นฟูสมรรณภาพให้ผู้สูงอายุประกอบอาชีพได้ ด้านการศึกษา 4 ปีที่ผ่านมา ได้จัดงบประมาณสนับสนุนโรงเรียนทุกอำเภอปีละ 40 ล้านบาท ตนจะเข้ามาสานต่อนโยบายนี้ ด้านกีฬา จะปรับปรุงสนามกีฬาในความดูแลของอบจ.พิษณุโลก ด้านการท่องเที่ยว จะพัฒนาบึงราชนก ให้เป็นสวนสาธารณะที่ใหญ่ที่สุดในพิษณุโลก สนับสนุนการจัดกีฬาทางน้ำ สร้างกิจกรรมแอดเวนเจอร์ ท่องเที่ยวผจญภัย ด้านการเตรียมการรับเปิดประชาคมอาเซียน จะเปิดศูนย์ภาษาสอนภาษาจีน-อังกฤษ ในการคำศัพท์ง่าย ๆ เพื่อเจราจาทางธุรกิจ และจัดศูนย์จำหน่ายสินค้าโอท็อปทุกอำเภอ

นายเรืองฤทธิ์ ศิริสวัสดิ์ ผู้สมัครนายกอบจ.พิษณุโลก หมายเลข 2 กล่าวว่า ตนเป็นคนพื้นเพที่บ้านทรัพย์ไพรวัลย์ ต.แก่งโสภา อ.วังทอง แต่ปัจจุบันได้ย้ายบ้านมาอยู่ที่ ต.สมอแข อ.เมืองพิษณุโลก จบป.โทม.เกริก เคยเป็น สจ.มา 3 สมัย เป็นรองนายกอบจ. 2 สมัย ที่ผ่านมา อบจ.พิษณุโลก มีงบประมาณมาก ตลอดวาระนายกอบจ.พิษณุโลก มีงบประมาณร่วม 4,000 ล้านบาท ในอดีตที่ผ่านมา มีนายกอบจ.มาจากการเลือกโดย สจ. 3 ราย และเลือกตั้งจากประชาชนโดยตรง 2 ราย แต่การใช้งบประมาณโดยเฉพาะด้านการส่งเสริมการท่องเที่ยวกลับทำได้เฉพาะพาคณะต่าง ๆ ไปศึกษาดูงานด้านการท่องเที่ยวที่อื่น ๆ การส่งเสริมการท่องเที่ยวพิษณุโลกขาดการดูแลอย่างจริงจัง
นายเรืองฤทธิ์ กล่าวต่อว่า ต้องการเข้ามาบริหารด้านการศึกษา โดยเฉพาะโรงเรียนกีฬาอบจ.พิษณุโลกที่อ่อนแออย่างมาก จำทำโรงเรียนกึ่งสาธิตอบจ.พิษณุโลกกระจายทั้ง 9 อำเภอ สนับสนุนครู อาจารย์เก่ง ๆ ในระดับมหาวิทยาลัยเข้าไปสอน การพัฒนาแหล่งน้ำอุปโภค-บริโภค และช่วยเหลือภัยแล้ง จะใช้วิธีตั้งงบประมาณด้านน้ำมันโดยอบจ.พิษณุโลกเอง พร้อมประสานเครื่องจักรจากกองพลพัฒนาที่ 3 เพื่อช่วยพื้นที่ประสบภัยแล้ง อดีตที่ผ่านมา อบจ.พิษณุโลกมีเครื่องจักร พร้อมออกไปช่วยเหลืออบต.ต่าง ๆ แต่ต้องให้อบต.เหล่านั้นตั้งงบประมาณด้านน้ำมันเอง และจะดูแลเรื่องเงินเดือนอสม.ที่อบจ.พิษณุโลกรับผิดชอบไม่ให้ล่าช้า จะพัฒนาแหล่งท่องเที่ยวบึงราชนกให้ยิ่งใหญ่ ด้วยการประสานงบประมาณจากส่วนกลาง