ผู้ว่าเตรียมดูแลหลังน้ำลดประชาชนต้องแจ้งขอรับการช่วยเหลือ

เมื่อเวลา 11.30 น. วันที่ 26 ก.ย. 55 นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าราชการ จ.พิษณุโลก พร้อมนายบรรดิษฐ์ อินต๊ะ ผู้อำนวยการชลประทานพิษณุโลก นายอนันต์ พรหมดนตรี ผอ.สำนักงานทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมพิษณุโลกเดินทางไปตรวจสอบประตูระบายน้ำบางแก้ว อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก หลังจากกระแสน้ำที่ไหลมาจาก จ.สุโขทัย จาก อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เข้าท่วมพื้นที่ อ.บางระกำ ขยายวงกว้าระดับน้ำในช่วงสองสามวันที่ผ่านมาได้เพิ่มระดับสูงขึ้น และในขณะนี้กำลังลดระดับลงเรื่อยๆ

 

นายชัยโรจน์ มีแดง ผู้ว่าฯ  กล่าวว่า จังหวัดพิษณุโลกประสบอุทกภัยพื้นที่แรก ที่ ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม ได้ตั้งหน่วยศูนย์บัญชาการส่วนหน้า เพื่ออยู่กับเหตุการณ์ โดยเฉพาะท้องถิ่นมีเครื่องมือเครื่องมือ  ส่วนของบางระกำตั้งที่ชุมแสงคราม จุดที่ 3 ต.บางระกำ บ้านปกคลอง บ้านวังกุ่ม  ที่พรหมพิรามน้ำลดระดับ ไหลมาเข้าบางระกำ ได้รับผลกระทบประมาณ 30 กว่าครอบครัว เป็นจุดที่ต้องเฝ้าระวัง ทีมงานของจังหวัดและอำเภอ และท้องถิ่นมีความพร้อม

ผู้ว่าฯ กล่าวอีกว่า เป็นห่วงเรื่องสุขภาพ นอกจากความปลอดภัยเรื่องทรัพย์สิน การขนย้ายข้าวของ เป็นห่วงว่าพอมีน้ำเข้ามา โรที่มากับน้ำ น้ำกัดเท้า โรคผิวหนัง หรือแม้กระทั่งสัตว์เลื้อยคลานมากัดมาต่อย ต้องระมัดระวัง และเรื่องระบบทางเดินหายใจ โรคหวัด เชื้อไวรัส ส่วนเรื่องความปลอดภัยชีวิตและทรัพย์สิน ได้ให้นายอำเภอซักซ้อมกับทางเจ้าหน้าที่ตำรวจ ต้องหน่วยลาดตระเวนหรือสายตรวจเข้าไปดู เพราะประชาชนที่อพยพมาอยู่บนถนน ทิ้งบ้านที่ถูกน้ำท่วมเอาไว้ ต้องใช้เรือลาดตระเวนดู

 

นอกจากนั้นผู้ว่าสองแคว กล่าวถึง การดูแลช่วยเหลือหลังน้ำลด ว่า หลังน้ำลดอันที่หนึ่งดูแลเรื่องส่วนรวม ถนนหนทาง โรงเรียน วัด จะเข้าไปบูรณะซ่อมแซมให้ มีทั้งของอำเภอ 1 ล้าน ถ้าไม่พอจังหวัดมีงบอีก 50 ล้านบาท ตอนนี้ให้ไปแล้วอำเภอละ 1 ล้านบาท เหลือ 41 ล้านบาท ทั้งหมดต้องมาเข้าขบวนการตรวจสอบ ผ่านการรับรองของพื้นที่ ว่ามีการเสียหายจริง ถนนหนทางพังจริงต้องมาเข้าประชุม คณะกรรมการช่วยเหลือผู้ประสบภัยอำเภอ(คชพอ.) พอมีการรับรองก็ส่งไปที่จังหวัด และมีคณะกรรมการจังหวัด และมีคณะกรรมารออกมาสุ่มตรวจ ถ้ามีการยืนยันรับรองก็จะอนุมัติเงิน

 

“ในส่วนของประชาชน  หลักการเดิมก็คือ ตัวบ้านเรือนที่ถูกน้ำท่วม จะต้องรอดูมติคณะรัฐมนตรีว่าจะช่วยเหลือบ้านถูกน้ำท่วม 5,000 บาทเหมือนที่แล้วหรือไม่ อันนี้ไม่ใช่ระเบียบ แต่เป็นมติคณะรัฐมนตรี ซึ่งจะมีเป็นปีๆ ถ้าปีนี้ถ้ามีมติใครบ้านน้ำท่วมจ่าย 5,000 บาท ก็สามารถจ่ายได้ ในส่วนพืชผลการเกษตรเสียหาย เนื่องจากส่วน 90 เปอร์เซ็นต์เป็นนาที่เก็บเกี่ยวไปแล้วผลกระทบน้อย แต่อาจจะมีบางรายเก็บเกี่ยวล้าช้า หรือไปเริ่มทำนารอบที่ 3 ทำนาครั้งที่ 3  ซึ่งรัฐบาลยังไม่มีนโยบายจ่ายชดเชย แต่ถ้าใช้เกณฑ์ปกติก็ยังใช้ได้อยู่ ระเบียบกระทรวงการคลัง จ่ายไร่ละ 600 กว่าบาท แต่ที่ได้ 2,000 กว่าบาทเป็นมติคณะรัฐมนตรีมาช่วยเป็นพิเศษ ส่วนกรณีบ้านเรือนก็เหมือนกันโดยระเบียบก็มีต้องไปดูเสียหายอะไรบางส่วนหรือเสียหายทั้งหลัง หากเสียหายทั้งหลังได้ไม่เกิน 30,000 บาท ต้องภาพถ่ายและมีคนรับรอง ถ้าเป็นบางส่วนไม่เกิน 20,000 ตามความเสียหายเป็นจริง ยกตัวอย่างปรากฏว่าประตูหายไป 1 บานราคา 2,000 บาทก็จ่ายแค่ 2,000 บาทเท่านั้น  แต่ที่สำคัญผู้ที่ได้รับความเสียหายต้องมายื่นจำนง ถ้าไม่มาแจ้งก็ไม่ได้” ผู้ว่ากล่าว

แสดงความคิดเห็น