บางระกำ 2555

น้ำท่วมบางระกำปี 2555 อยู่ในเกณฑ์ปานกลาง คาดจะขท่วมขังนานประมาณ 40 วัน

ปี 2554 มหาอุทกภัยที่คนไทยจดจำได้แม่นยำมากที่สุด น้ำท่วมทั่วประเทศทำลายสถิติแทบทุกอย่างที่เคยจดบันทึกกันมา และบางระกำ ก็ได้รับการกล่าวถึงมากเช่นกัน จนแถบจะเป็นสัญลักษณ์ของน้ำท่วม ปีที่แล้วบางระกำโมเดล เป็นชื่อที่คนพูดกันมาก ปีนี้ ก็พูดกันมากอีกเช่นกัน  หลากหลายคำถาม บางระกำโมเดลเป็นงัย คืบหน้าไปกี่เปอร์เซ็นต์แล้ว มีบางระกำโมเดลแล้วงัย ทำไมน้ำยังท่วมอีก

 

บางระกำโมโดลขึ้นอยู่กับมุมมองครับ ถ้ามองด้านบวกจากมุมของคนคิดและคนทำ บางระกำโมเดลคือวิธีการบริหารจัดการแก้ไขปัญหาน้ำท่วมน้ำแล้ง ด้วยการเตรียมพร้อม การให้ความช่วยเหลือ การฟื้นฟูเยียวยา และการแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน ส่วนมุมเชิงลบ มักจะกล่าวถึงในลักษณะว่ามีบางระกำโมเดลแล้วไม่เห็นแก้ไขปัญหาน้ำท่วมบางระกำได้เลย

น้ำหลากท่วมทุ่งริมถนนหนองพยอม-ตะแบกงาม ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ ที่เดียวกันเมื่อปีก่อนมีแต่น้ำตาชาวนา ข้าวเสียหายมหาศาล ส่วนปีนี้ น้ำมาช้าเก็บเกี่ยวได้ก่อน

 

ภาพรวมของน้ำท่วมพิษณุโลกปี 2555 ถือว่าอยู่ในเกณฑ์ปลานกลางถึงต่ำ เมื่อเทียบกับปี 2554 น้ำที่ท่วมของอำเภอบางระกำในเดือนกันยายน 2555 นี้ คิดเป็นเพียงปริมาณ 25 % เมื่อเทียบกับปี 2554 ถ้าเทียบเชิงพื้นที่ น้ำท่วมบางระกำปีนี้ 50,000 กว่าไร่ ปี 2554 น้ำท่วม 290,000 ไร่ หรือ ถ้าเทียบในปริมาณน้ำ น้ำท่วมทุ่งบางระกำ ณ ขณะนี้ มีประมาณ 140 ล้านลูกบาศก์เมตร ปีก่อน มีประมาณ 600 ล้านลูกบาศก์เมตร ขณะที่ข้าวที่เป็นพืชเศรษฐกิจหลัก ก็ได้รับความเสียหายน้อยมาก น้ำมาช้า เก็บเกี่ยวข้าวกันเสร็จแล้ว ขณะที่ปีก่อน ไปบ้านไหน ๆ เจอแต่น้ำตาชาวนา

 

ชลประทานเขามีสถิติการเก็บข้อมูลน้ำท่วมของอำเภอบางระกำย้อนหลัง 10 ปี 2545-2555 โดยใช้เกณฑ์ความสูงของแม่น้ำยม ที่ล้นตลิ่ง ณ สถานีวัดระดับน้ำฝายบางบ้า บ้านบางบ้า ม.1 ต.ชุมแสงสงคราม อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก เป็นตัวนับวันเริ่มต้นและวันสิ้นสุดน้ำท่วมของอ.บางระกำ ใช้หน่วยวัดความสูงของน้ำคือ เมตรจากระดับน้ำทะเลปานกลาง หรือ ม.รทก. โดยกำหนดระดับน้ำวิกฤติ ความสูงที่แม่น้ำยมล้นตลิ่งและเริ่มนับวันน้ำท่วมที่  40.50 ม.รทก.

 

เช่น ปี 2545 เริ่มต้นท่วม 2 กันยายน สิ้นสุด 4 พฤศจิกายน ระยะเวลาน้ำท่วม 94 วัน ส่วนสถิติระดับน้ำสูงสุดวันที่ 21 กันยายน 2545 อยู่ที่ + 43.19 ม.รทก. หรือ สูงกว่าตลิ่ง 2.69 เมตร เป็นปีที่น้ำท่วมบางระกำสูงสุงที่สุด  แต่ไม่ใช้น้ำท่วมนานที่สุด ขณะที่ปี 2554 เป็นปีที่น้ำท่วมขังบางระกำนานที่สุด อยู่ที่ 141 วัน เริ่มต้นวันที่ 1 กรกฏาคม สิ้นสุดน้ำท่วมวันที่ 18 พฤศจิกายน 2554 น้ำสูงกว่าตลิ่งสูงสุดวันที่ 10 ตุลาคม 2554 ที่ 2.48 เมตร และเป็นปีที่หนักหนาสาหัสที่สุด พี่น้องบางระกำอยู่กับนานนานที่สุด พื้นที่ปลูกข้าวเสียหายมากที่สุด เรียกว่าทำลายสถิติแทบทุกอย่าง ยกเว้นระดับน้ำสูงสุด

 

ทีนี้ลองมาไร่เรียงแต่ละปีดูว่า น้ำท่วมขังอ.บางระกำนานกี่วัน  ปี 2545 ท่วม 94 วัน ปี 2546 ท่วม 36 วัน ปี 2547 ท่วม 31 วัน ปี 2548 ท่วม 65 วัน ปี 2549 ท่วม 79 วัน  ปี 2550 ท่วม 59 วัน ปี 2551 ท่วม 70 วัน ปี 2552 ท่วม 37 วัน ปี 2553 ท่วม 86 วัน ปี 2554 ท่วม 141 วัน และปี 2555 เริ่มท่วมตั้งแต่วันที่ 9 กันยายน 2555 คาดการณ์ว่าจะท่วมขังไม่นานประมาณ 30 กว่าวัน

 

แล้วหลังจากนี้บางระกำจะเป็นอย่างไร ก็ยังคงต้องปรับตัวเข้ากับกระแสน้ำขึ้นลงของน้ำยมครับ การบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งของลุ่มน้ำยมในเขตสุโขทัย พิษณุโลก มีทิศทางชัดเจนมากขึ้น คือ การผันน้ำจากแม่น้ำยมออกสู่แม่น้ำน่าน ยามถึงฤดูการน้ำหลาก ใช้กลไกประตูระบายน้ำหาดสะพานจันทร์ ประตูน้ำกั้นแม่น้ำยมที่อ.สวรรคโลก จ.สุขัทย ผันน้ำออกทางซ้าย ลงสู่คลองหกบาท ส่วนหนึ่งไปไหลลงแม่น้ำน่านที่อ.พิชัย จ.อุตรดิตถ์ อีกส่วนหนึ่ง ไหลลงแม่น้ำยมสายเก่า หรือ คลองเมม หรือ คลองบางแก้ว ผ่านทางอ.พรหมพิราม เข้าสู่อ.บางระกำ เป็นการช่วยลดปริมาณแม่น้ำยมช่วงไหลอ่านอ.เมืองสุโขทัย  ส่วนน้ำที่บ่าทุ่งมาท่วงขังแอ่งกระทะบางระกำนั้น ก็จะมีการระบายออกสู่แม่น้ำน่าน ผ่านคลอง DR 15.8 และคลอง DR 2.8

 

ในทางกลับกัน เมื่อถึงฤดูแล้ง พื้นที่บางระกำจำเป็นต้องอาศัยแหล่งน้ำจากแม่น้ำน่าน  ผ่านเครือข่ายคูคลองเหล่านี้ มาหล่อเลี้ยงนาข้าว

 

วันนี้ไปเรื่อย ๆ อีกหลายปี อ.บางระกำ ก็ต้องใช้วิธีการบริหารจัดการของสองลุ่มน้ำควบคู่กันไป แม้ว่าวันนี้ จะมีการพูดถึงการสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น ที่จ.แพร่ เพื่อเป็นเครื่องมือในการบริหารจัดการน้ำของลุ่มน้ำยม สำหรับความเห็นส่วนตัวของผมแล้ว ไม่ว่าจะสร้าง หรือ ไม่สร้างเขื่อนแก่งเสือเต้น การบริหารจัดการน้ำท่วมน้ำแล้งในอ.บางระกำ ก็ต้องใช้วิธีบริหารควบคู่กันระหว่างสองลุ่มน้ำนี้  ตระเวนพื้นที่สอบถามความเห็นพี่น้องบางระกำ ถ้าเลือกได้ ก็ขอแบบน้ำไม่ท่วมดีกว่า แต่ทุกวันน้ชาวบางระกำไม่แต่ แต่เมื่อต้องอยู่กับน้ำพี่น้องเกษตรกรบางระกำรับได้กับวิธีการนี้ จะท่วม 4 เดือน แล้วแห้ง 8 เดือน และขอทำนาให้ได้ปีละ 2 รอบ รอบที่สองขอให้เก็บเกี่ยวข้าวนาให้เสร็จก่อน เมื่อน้ำมาก็ไร้ปัญหา

น้ำมาเราหาปลา แต่ถ้าเลือกได้ขอน้ำไม่ท่วมดีกว่า และถึงจะท่วมก็ให้อยู่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม ขอทำนาให้ได้ปีละ 2 รอบ

แสดงความคิดเห็น