วันที่ 20 กันยายน 2555 ที่โรมแรมเรือนแพ รอยัล ปาร์ค จ.พิษณุโลก สำนักงานคณะกรรมการส่งเสริมการลงทุนภาคที่ 1 จัดการสัมมนา เรื่อง AEC และ EWEC โอกาสของการลงทุนไทยใน CLMV โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อสร้างองค์ความรู้และเตรียมความพร้อมสำหรับนักลงทุนไทยที่สนใจไปลงทุนในกลุ่มประเทศโดยมีหนักลงทุนจากภาคเหนือตอนล่างเข้าร่วมรับฟังสัมมนาร่วม100 คน
นายสมมาตย์ ตั้งสกุล ผู้อำนวยการศูนย์เศรษฐกิจการลงทุนภาคที่ 1 (บีโอไอ ) กล่าวว่า การเสวนาวันนี้เพื่อให้นักลงทุนได้ตื่นตัวและเปิดโอกาสรับรู้การลงทุนใน AEC ส่วนนักลงทุนไทยในภาคเหนือตอนล่างจะประสงค์ประดูงานต่างประเทศรอบๆเพื่อนบ้าน หรือกลุ่มประเทศ CLMV คือ กัมพูชา, ลาว, เมียนมาร์, เวียดนามก็สามารถติดต่อที่ บีโอไอสำนักงานพิษณุโลกเพื่อนำเสนอกลุ่มธุรกิจและเป้าหมายการลงทุนในต่างประเทศพร้อมกับเสนอไปยังสำนักงานใหญ่เพื่อรวบรวมนักธุรกิจให้เป็นกลุ่มใหญ่จัดโปรแกรมไปดูงานต่างประเทศในกลุ่มอาเซียนเพียงออกค่าใช้จ่ายค่าเดินทางและที่พักเองส่วนค่าอาหารและพาหนะหรือไกด์ทางบีโอไอสนับสนุนตลอดการเดินทาง
นายรัตนตรัย หลวงลาดบัณดิต ตัวแทนจากธนาคารพัฒนาแห่งเอเชีย (ADB)กล่าว่า ระเบียงเศรษฐกิจใน 6 ประเทศแนวตะวันออก-ตะวันตกเกิดขึ้นนับตั้งแต่ปี 1998มุ่งหมายให้พัฒนาด้านการขนส่ง จากนั้นพัฒนาเป็น ระบบลอจิสติกส์และพัฒนาเป็น ฮับ เปิดโอกาสให้ร่วมมือกันระหว่างรัฐกับเอกชนเปิดเสรีการค้าเชื่อมต่อระหว่างประเทศ เชื่อมคมนาคม เปิดโอกาสการลงทุน ส่งเสริมการลงทุน ฯลฯ เป้าหมายให้ประชาชนในกลุ่มอาเซียนหลุดพ้นจากความยากจน ซึ่งก็ผ่านไปแล้วถือเป็นพื้นฐาน ขั้นต่อไปคือ ก้าวสู่ความเป็น AEC สิ่งที่ต้องดำเนินการต่อไปคือ แก้ไขพิธีการต่างๆ ระเบียบของภาษีและศุลกากรที่ยังพัฒนา
เพิ่มความสะดวกรวดเร็วการขนส่งให้ดีกว่าเดิมว่าประเทศไทยจะต้องมี”เมืองเศรษฐกิจพิเศษ” เหมือนกับ
เมืองเศรษฐกิจพิเศษอย่าง เมียวดีของสหภาพพม่า นโยบายรัฐบาลไทยต้องเดินไปในทิศทางเดียวกัน
ส่วนจังหวัดพิษณุโลกถือเป็นจังหวัดที่มีศักยภาพกว่าจังหวัดอื่นๆหากมองในแนวระเบียงเศรษฐกิจ
6 ประเทศแนวตะวันออก-ตะวันตก(EWEC)เพียงแต่นักธุรกิจไม่ต้องลงทุนเองทั้งหมด อาศัยความร่วมมือจากต่างประเทศก็ได้
อุปสรรคของ AEC ก็คือ ข้อกฎหมาย ส่วนกรณี SMEs ไทยไปลงทุนในต่างประเทศโดยที่ธนาคาร ADB ปล่อยกู้นั้น ตอนนี้ยังไม่มียังอยู่ในขั้นตอนศึกษาที่จะสนับสนุบได้หรือไม่ อย่างไร
นายวิโรจน์ จิรัฐกาลโชติ ที่ปรึกษาหอการค้าจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า การเข้าไปทำธุรกิจในอาเซียนจะต้องรู้ระเบียบ ข้อกฎหมาย สังคมและวัฒนธรรมก่อน เพราะจะมีผลโดยตรงกับคนทำธุรกิจ
สำหรับนักธุรกิจไทยในต่างแดนในอาเซียนน้อยมาก อย่าง สปป.ลาว ลงทุนมากเป็นอันดับ 4 เท่านั้นจากนักลงทุนทั่วโลก
นายวีรวิ เพ็ญชาติ ที่ปรึกษา บริษัท DFDL Mekong เปิดเผยว่า ประเทศพม่ากำลังร่างกฎหมายการลงทุนใหม่ จากที่ไม่เคยกฎระเบียบมาก่อน กำลังแก้ไขร่างกฎหมายการลงทุนก่อนผ่านสภาฯ
อาจปรับลดเม็ดเงินลงทุนต่างประเทศลงจาก 5 ล้านเหรียญสหรัฐ เพราะสูงเกินไปพร้อมกับปรับเงื่อนไขกรรมสิทธิ์เช่าที่ดิน อาจนำไปวางเป็นหลักทรัพย์ค้ำประกัน ส่วนประเทศกัมพูชา นั้นมีกฎหมายการลงทุนของนักลงทุนต่างประเทศอยู่แล้ว ไม่มีการยึดทรัพย์สินของนักลงทุนต่างประเทศแน่นอน นอกจากนี้สิทธิการเช่านำไปเป็นหลักประกันแถมยังเสียภาษีเพียง 20 %
—————————————————————
แสดงความคิดเห็น