นายกรัฐมนตรีประชุมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง

นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี

เมื่อเวลา 18.30 น.ของวันที่ 13 ก.ย. ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก นางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี และคณะร่วมประชุมสรุปงานกับกระทรวงพาณิชย์และหัวหน้าส่วนราชการในจังหวัดพิษณุโลก ในโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง ปี 2555 ก่อนที่จะลงพื้นที่ตรวจโรงสีที่เข้าร่วมโครงการในพื้นที่ อ.บางระกำ และ อ.วัดโบสถ์ ในวันพรุ่งนี้( 14 ก.ย.)

 

ประชุมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง

นาง วัชรี วิมุกตายน อธิบดีกรมการค้าภายใน และว่าที่ปลัดกระทรวงพาณิชย์   กล่าวว่า โครงการรับจำนำข้าวเปลือก นาปี 54/55 และนาปรังปี 55 ซึ่งจากการตรวจสอบพบว่า เกษตรกรทั้งที่ร่วมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกมีรายได้จากการขายข้าวเพิ่มขึ้น กว่า 200,224 ล้านบาท จากปริมาณข้าวที่รับจำนำ คือ ข้าวหอมมะลิ  3,087 ตัน  ราคาตันละ 20,000 บาท ข้าวเปลือกเจ้า  15,118 ตัน ราคาตันละ  14,800 ตัน  ซึ่งส่งผลให้ราคารับจำนำที่ได้รับต่อตันเพิ่มขึ้นในส่วนของข้าวหอมมะลิ 7-8 พันบาทต่อตัน ขณะที่ ผุ้ที่อยู่นอกโครงการจำนำ ก็มีรายได้เพิ่มขึ้นจากการขายตันละ 3,000  บาท เป็นความจริงที่ไม่มีใครพูดถึง

ประชุมโครงการข้าวเปลือกนาปรัง

ในขณะที่โครงการรับจำนำข้าวเปลือก ทางรัฐบาลมีการตั้งคณะทำงานขึ้นมาตรวจสอบ ทั้งแบบโดยตรงและแบบเจาะลึก มีชุดเฉพาะกิจ 15 ชุด ตรวจสอบเพื่อป้องกันและปราบปราม และมีหน่วยปฏิบัติการพิเศษอีก 2 ชุดที่ตรวจสอบเรื่องร้องเรียนจากการทุจริตทั้งหมด ทั้งในส่วนของภาคประชาชน และคณะทำงานตามโครงการรับจำนำข้าวเป็นหน่วย ฉก.ที่ดำเนินการ ทันที ไม่เฉพาะจากสายด่วน  1569

ที่ผ่านมาจากการตรวจสอบโรงสีทั่วประเทศ  298 แห่งจาก 1,330 แห่ง พบว่า 9 จังหวัด คือ กาญจนบุรี นครนายก นครปฐม กำแพงเพชร นครสวรรค์ พัทลุง อ่างทอง พิษณุโลก อุดรธานี  ได้ส่ง DSI ลงไปดำเนินการในเชิงลึก และดำเนินคดี  โดยที่จังหวัดอุดรธานี พบปัญหาการทุจริตหักสิ่งเจือปนสูง ได้ตรวจสอบและคืนเงินจำนวน 4 ล้านบาท ให้กับเกษตรกร 1,400 ราย แล้ว  ส่วนอ่างทอง พิษณุโลก พบทุจริตช่างตวงวัด พ.ร.บ. ค้าข้าว และการขึ้นทะเบียนเกษตรกรไม่ตรงข้อเท็จจริงที่ จ.กาญจนบุรี  ซึ่งมีโรงสี เกี่ยวข้อง 21แห่ง จาก 1,330 แห่ง คิดเป็นสัดส่วน ร้อยละ1 เท่านั้น  สำหรับในส่วน จ.กาญจนบุรี ทางคณะกรรมการตรวจสอบแห่งชาติ พบว่าการสวมสิทธิเกษตร โดยมี ผู้นำท้องถิ่น ร่วมดดำเนินการกับเจ้าหน้าที่ ซึ่งมีเกษตรกรสารภาพแล้ว 10 ราย  ส่วน จ.นครนายก สวมสิทธิเกษตรกรจากน้ำท่วม มีภรรยาข้าราชการตำรวจเป็นหัวโจก มีนายหน้าออกไปชักชวนเกษตรกรในการสวมสิทธิ โดยให้ค่าจ้างเกษตรกรรายละ 500-1,000 บาท  ที่ จ.เพชรบูรณ์ เป็นอีกคดี ที่สื่อมวลชน กำลังให้ความสนใจ เป็นพฤติกรรมของโรงสีมานะยิ่งเจริญดี ที่แอบอ้างโครงการรับจำนำแล้วฉ้อโกงเกษตรกรจำนวน 162 ราย เป็นเงิน 21.5 ล้านบาท   ขณะนี้กำลังเร่งดำเนินการทางคดีให้เกษตรกรแล้ว

ประชุมโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรัง

สำหรับโครงการรับจำนำข้าวเปลือกนาปรังปี 2555 จังหวัดพิษณุโลก นั้น ได้มีโรงสีทีเปิดจุดรับจำนำตามโครงการ จำนวนทั้งสิ้น 20 ราย มีปริมาณรับจำนำข้าวเปลือกจากเกษตรกรสะสมตั้งแต่วันที่ 1 มีนาคม -11 กันยายน 2555 มีเกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาจำนำ ทั้งสิ้น 85,300 ราย ปริมาณข้าวเปลือก จำนวน 977,029,421 ตัน แยกเป็นเกษตรกรที่มาจำนำ (ปกติ) จำนวน 59,323 ราย ปริมาณข้าวเปลือก จำนวน 645,716,377 ตัน และเกษตรกรที่นำข้าวเปลือกมาจำนำ (กรณีพิเศษ) จำนวน 25,977 ราย ปริมาณข้าวเปลือก 331,313,044 ตัน

 

โดยหลังจากนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ฟังผลการดำเนินงานแล้ว ได้กล่าวว่า เกษตรกรมีความพอใจกับโครงการรับจำนำที่ทำให้มีรายได้เพิ่มขึ้น ส่วนเรื่องการปรับ เพื่อให้เกิดการโปร่งใส การทำงานเชิงลึก ในการติดตามตรวจสอบทุจริต  การทำข้อมูลเชิงลึก โดยให้ทาง  ธกส กระทรวงเกษตร กระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงมหาดไทย  นำข้อมูลตัวเลขทั้งหมดพิมพ์ข้อมูลลงคอมพิวเตอร์ เพื่อลิงค์ข้อมูลรวมกันทั้ง 4 หน่วยงาน  จะได้เห็นยอดจำนวนการผลิตข้าวของเกษตรกรทั่วประเทศ    ข้อมูลการรับจำนำ ข้อมูลการตลาด  เพื่อตรวจสอบดูความผิดปกติ  ตรวจสอบข้อมูลในเชิงลึกได้ง่าย   อยากให้หน่วยงานทั้งหมดนำข้อมูลเก็บลงคอมพิวเตอร์เพื่อเชื่อมโยงข้อมูล จะได้ตรวจสอบตั้งแต่ต้นทางถึงปลายทาง และขอให้ทำข้อมูลย้อนหลังด้วย เพื่อป้องกันการทุจริตทั้งระบบ

 

////

 

แสดงความคิดเห็น