เวทีสันติประชาธิปไตยระดับภูมิภาค เครือข่ายจังหวัดภาคเหนือตอนล่าง

เวลา 14.00 น. วันที่ 8 กันยายน นายโคทม อารียา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษามหาวิทยาลัยมหิดล นายสุพจน์ ศรีเทศ ผู้แทนเวทีสันติประชาธิปไตยพิษณุโลก นายพิชัย นวลนภาศรี  ผู้แทนเวทีสันติประชาธิปไตยพิจิตร พร้อมด้วยเครือข่ายนักวิชาการ ข้าราชการ  นักธุรกิจ พ่อค้า NGO และแกนนำประชาชนได้ร่วมประชุมเวทีสันติประชาธิปไตยระดับภูมิภาค เครือข่ายจังหวัดพิษณุโลก ภาคเหนือตอนล่าง จังหวัดสุโขทัย  ตาก  พิจิตรพิษณุโลกและแกนนำสำคัญจาก อุตรดิตถ์  กำแพงเพชร เพชรบูรณ์ นครสวรรค์ อุทัยธานี ร่วมประชุมตามโครงการเวทีสันติประชาธิปไตย (อึด ฮึด ฟัง)“เขาและเธอ คือ   “ลำโพงของประชาชนรวมพลังสร้างรัฐธรรมนูญของประชาชน สู่….อนาคตประเทศไทย NEW THAILAND”   โดยความร่วมมือและสนับสนุนของ โครงการสะพานเสริมสร้างประชาธิปไตย (SAPAN) และ USAID ซึ่งเป็นการเปิดพื้นที่การพูดคุยอย่างอึด ฮึด ฟัง (สานเสวนา) ระหว่างผู้ที่เห็นต่าง ต้องการเห็นการเปลี่ยนแปลงบ้าน เมืองไปในทางสร้างสรรค์ ระหว่าง วันที่ 8-9 กันยายน 2555 ณ ห้องคอนเวนชั่น   โรงแรมท๊อปแลนด์ จ. พิษณุโลก

ประพจน์  ศรีเทศ  ผู้แทนเวทีสันติประชาธิปไตยพิษณุโลก กล่าวว่า สำหรับเวทีที่ จ.พิษณุโลก นับเป็นครั้งแรกที่มีกลุ่มการต่อสู้ทางแนวความคิด 2 ขั้วของพรรคการเมือง  อาทิ  กลุ่มคนเสื้อแดงและกลุ่มพันธมิตรเสื้อเหลือง ในพื้นที่ภาคเหนือตอนล่างได้มาร่วมเวทีในครั้งนี้  เพื่อต้องการแก้วิกฤตทางการเมืองไทยและรัฐธรรมนูญเพื่อหาทางออกร่วมกันอย่างสันติ สงบ เป็นประชาธิปไตย โดยหวังให้ในระยะ 10 ปี ข้างหน้า (2555-2565) กฎกติกาที่บัญญัติในรัฐธรมนูญต้องมีความยืดหยุ่น ทุกฝ่ายมิได้มีเสีย อยู่ร่วมกันได้ “บ้านหลังใหม่”คนไทยพอยิ้มให้กันได้ ต้องอดทน อดกลั้น และเสียสละ ไม่ใช้ความรุนแรง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ ต้องเพื่อประโยชน์ส่วนรวมไม่ใช่เพื่อคนใดคนหนึ่ง รัฐธรรมนูญต้องเป็นที่ยอมรับของประชาชนส่วนใหญ่และนำไปสู่สัญญาประชาคมของคนไทยทั้งชาติ

ซึ่งในการประชุมดังกล่าว  รศ.ดร. โคทม  อารียา สถาบันสิทธิมนุษยชนและสันติศึกษา  มหาวิทยาลัยมหิดล    ได้กล่าวในเวทีลำโพงประชาชน อธิปราย : ถกแถลงเสวนา: “ประเด็นการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ”รายงาน บอกกล่าว เล่าเรื่อง  : สังคมไทย : กับความขัดแย้ง การแก้ไขรัฐธรรมนูญ การปรองดอง?    ความเห็นต่างทางสังคมกับการแก้ไขรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ส่วนที่ 1 (1) ที่มาของสมาชิกวุฒิสภา (ส.ว.) ควรมีที่มาอย่างไร?(2) ประเด็น หรือ มาตราอะไร ของรัฐธรรมนูญ พ.ศ. 2550 ที่ควรมีการ ปรับปรุง แก้ไข หรือควรคงไว้ ? อาทิ มาตรา 68 , มาตรา 309 เป็นต้น     นอกจากนี้  ประเด็นบทบาท อำนาจหน้าที่ ของกรรมการองค์กรอิสระ ควรมีการปรับปรุงแก้ไข ประเด็นไหน  อย่างไร หรือ ดีอยู่แล้วควรคงไว้  ?  : องค์กรอิสระ ศาลรัฐธรรมนูญ / ศาลยุติธรรม / ศาลปกครอง/ ป.ป.ช. / กกต. / ผู้ตรวจการแผ่นดิน / กรรมการสิทธิมนุษยชน   ประเด็น  “ประชาชน” กับสิทธิ เสรีภาพ ความเสมอภาค และศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์    ซึ่งการประชุมเป็นการเปิดให้มีการแสดงความคิดเห็นอย่างอิสระเพื่อนำไปสู่การแก้ไขอย่างสันติต่อไป

/////

แสดงความคิดเห็น