วันที่ 3 กันยายน ที่สถาบันวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร ศ.ดร.สุจินต์ จินายนต์ อธิการบดีมหาวิทยาลัยนเรศวร พร้อม ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร ได้แถลงข่าวกับสื่อมวลชนถึงรางวัล ProSPER.Net – Scopus Young Scientist Award 2012 ว่า เป็นของ 2 สถาบันร่วมกัน คือ สถาบัน ProSPER.Net (The network for the Promotion of Sustainability in Postgraduate Education and Research) ซึ่งเป็นเครือข่ายนักวิจัยนานาชาติภายใต้ United Nation University ของ สหประชาชาติ และ Scopus ซึ่งเป็นฐานข้อมูลงานวิจัยที่ใหญ่ที่สุดในโลก รางวัลนี้มอบทุกปีให้นักวิจัยรุ่นใหม่ในภูมิภาคเอเชีย แปซิฟิก (ยกเว้นประเทศสหรัฐอเมริกา และแคนนาดา) ที่ทำงานวิจัยที่สำคัญต่อการพัฒนาที่ยั่งยืน ซึ่งปีนี้เป็นปีที่ 4 ที่มีการมอบรางวัล ในแต่ละปีจะมีการมอบรางวัล 3 กลุ่มวิจัยที่เกี่ยวข้องกับการพัฒนาที่ยั่งยืน หลักเกณฑ์ในการตัดสินคือจำนวนครั้งที่มีผู้อ้างถึงผลงานวิจัย (number of citations), จำนวนและคุณภาพของบทความวิจัย (number and quality of publications), และผลกระทบของงานวิจัยต่อสังคม (documented social impact)
ศ.ดร.สุจินต์ กล่าวว่า โดยในส่วนของผลกระทบของงานวิจัยต่อสังคมนั้นผู้เข้ารอบสุดท้าย 3 คน และต้องไปนำเสนอในรอบสุดท้ายต่อหน้าคณะกรรมการจากนานาประเทศ ซึ่งปีนี้เป็นจัดที่ United Nation University ประเทศญี่ปุ่น โดยผู้ที่ชนะเลิศของทั้ง 3 กลุ่มวิจัยจะได้รับเงินรางวัล US$1,000 จาก ProSPER.Netและได้ทุนทำวิจัยที่ประเทศเยอรมันจาก Alexander von Humboldt Foundation เป็นระยะเวลา 18 เดือน ซึ่งครอบคลุมถึงทุนวิจัย ค่าเดินทาง และ ค่าครองชีพ (เดือนล่ะ 3,150 EUR) โดยโดยในปีนี้มีผู้สมัครประมาณ 10,098 กว่าคน จาก ประมาณ 2,017 ประเทศในภูมิภาค (รูปที่ 1) และปีนี้เป็นปีแรกที่มีนักวิจัยไทยเป็นหนึ่งในสองคนที่เข้ารอบสุดท้าย
และปรากฏว่า ดร.ธนพล เพ็ญรัตน์ อาจารย์คณะวิศวกรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยนเรศวร นักวิจัยไทยคนแรกที่ได้รับรางวัลชนะเลิศ (Grand Prize Winner) เป็นเจ้าของรางวัล ProSPER.Net – Scopus Young Scientist Award 2012 สาขา Sustainable Infrastructure มีบทความวิชาการตีพิมพ์ในวารสารวิชานานาชาติการ 22 เรื่อง บทในหนังสือนานาชาติ 3 บท มีผู้อ้างถึงบทความรวมทั้งสิ้น 902 ครั้ง และมี H-Index เท่ากับ 14 (โดยอ้างถึงฐานข้อมูล Scopus เดือนสิงหาคม 2555
ดร.ธนพล กล่าวว่าปัจจัยที่ทำให้ชนะการประกวดดังกล่าวคือผลกระทบของงานวิจัยต่อสังคม โดย ดร.ธนพล ได้การนำเสนอภาพรวมของงานวิจัยที่กำลังทำอยู่ ภายใต้รูปแบบในหัวเรื่อง “งานวิจัยบูรณาการณ์เพื่อการฟื้นฟูน้ำใต้ดินและพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตราย (Integrated Research for Groundwater and Land Restoration) ซึ่งประกอบด้วย 5 โครงการวิจัยใน 3 ระดับ คืองานวิจัยระดับนโยบาย, ระดับการใช้งานในพื้นที่จริง, และระดับห้องปฏิบัติการ โดยทุกโครงการวิจัยทำในประเทศไทย และเพื่อประเทศไทย
โดยงานวิจัยระดับนโยบายประกอบด้วยงานวิจัยเรื่อง “การจัดทำฐานข้อมูลเทคนิคในการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอันตรายและการประเมินภาวะการคุกคามของสารอันตรายต่อสิ่งแวดล้อมเพื่อการจัดการพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายในน้ำใต้ดิน” สนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อม กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ซึ่งเป็นการจัดทำฐานข้อมูลด้านเทคนิคในการฟื้นฟูดินและน้ำใต้ดินที่ปนเปื้อนสารอันตรายอันแรกของประเทศไทยและจะมีการเผยแพร่ในรูปแบบออนไลน์ที่ทุกคนสามารถเข้าถึงได้ นอกจากนี้งานวิจัยนี้ยังเป็นงานวิจัยแรกที่มีการใช้กรอบการจัดการดังกล่าวในการจัดลำดับความอันตรายของพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายที่จำเป็นต้องได้รับการฟื้นฟูในประเทศไทยโดยเริ่มที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุด
งานวิจัยระดับการใช้งานในพื้นที่จริงประกอบด้วยงานวิจัยเรื่อง “วางระบบโครงข่ายตรวจสอบปริมาณสารอินทรีย์ระเหยในไอสารในดิน (soilgas monitoring network) โดยขุดเจาะชั้นดิน โดยใช้เครื่องขุดเจาะแบบต่อเนื่อง (Geoprobe) และ ติดตั้งระบบและทดสอบประสิทธิภาพในการบำบัดสารอินทรีย์ระเหยในดิน โดยใช้ระบบ Soil Vapor Extraction (SVE) เคลื่อนที่” สนับสนุนโดย ศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อม กรมส่งเสริมคุณภาพสิ่งแวดล้อมอีกเช่นกัน ซึ่งเป็นงานวิจัยที่แสดงการใช้เทคนิค Soil Vapor Extraction ในการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนเป็นครั้งแรกในประเทศไทย และได้ทำการประดิษฐ์เครื่อง Soil Vapor Extractionเครื่องแรกของไทยที่ทำในสำหรับใช้ในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดด้วยเช่นกัน
สุดท้ายงานวิจัยระดับห้องปฏิบัติการมีด้วยกัน 3 เรื่องคือ 1) งานวิจัยเรื่อง “การประเมินความเหมาะสมของการใช้อนุภาคนาโนของเหล็กประจุศูนย์ร่วมกับการเหนี่ยวนำความร้อนทางแม่เหล็กไฟฟ้าในการเร่งการฟื้นฟูน้ำใต้ดินและดินในพื้นที่นิคมอุตสาหกรรมมาบตาพุดที่ปนเปื้อนด้วยมลสารอินทรีย์ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบ” สนับสนุนโดยกองทุนวิจัย มหาวิทยาลัยนเรศวร และ มูลนิธิโทเรเพื่อการส่งเสริมวิทยาศาสตร์ ประเทศไทย 2) งานวิจัยเรื่อง “การศึกษาเชิงพื้นฐานของการใช้อนุภาคแม่เหล็กนาโนที่ถูกปรับปรุงด้วยโพลีเมอร์ในการกำจัดแหล่งกำเนิดของสารอันตรายประเภทสารอินทรีย์ระเหยที่มีคลอรีนเป็นองค์ประกอบจากน้ำใต้ดินและดินที่ปนเปื้อนโดยการใช้ความร้อนที่สร้างด้วยการเหนี่ยวนำทางแม่เหล็กไฟฟ้า” สนับสนุนโดย ศูนย์นาโนเทคโนโลยีแห่งชาติ สำนักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ 3) งานวิจัยเรื่อง “การใช้ประโยชน์จากระบบแนวกันชนหญ้าแฝกรอบนิคมอุตสาหกรรมเพื่อการเฝ้าระวังและตรวจสอบการปนเปื้อนดินและน้ำใต้ดินด้วยสารอันตราย” สนับสนุนโดย สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดําริ
ซึ่งสองโครงการแรกเป็นการใช้นาโนเทคโนโลยีในการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายประเภทสารอินทรีย์ระเหยที่ก่อมะเร็งได้ และโครงการสุดท้ายเป็นการใช้ระบบหญ้าแฝกในการเฝ้าระวังการเคลื่อนที่และการแพร่กระจายของสารดังกล่าวในพื้นที่ปนเปื้อนเขตนิคมอุตสาหกรรม ซึ่งถึงแม้ทั้งสามโครงการจะยังอยู่ในขั้นการทดลองในห้องปฏิบัติการแต่ก็มีศักยภาพในการใช้งานจริงในอนาคต
ดร.ธนพล กล่าวถึงความภูมิใจในครั้งนี้ว่า “นอกจากรางวัลแล้ว ประสบการณ์ที่ได้ฟังการนำเสนอของนักวิจัยหลายๆชาติที่ทำงานวิจัยดีๆและมีผลกระทบต่อสังคมในด้านสิ่งแวดล้อมและการพัฒนาที่ยั่งยืน และข้อเสนอแนะดีๆจากนักวิจัยที่มีชื่อเสียงจากหลายประเทศเป็นประสบการณ์ที่มีค่ามาก และและผมรู้สึกดีใจภูมิใจที่ได้ทราบว่าฟังเหตุผลในการตัดสินให้ได้รับรางวัลว่าคือการทำงานวิจัยที่ทำมีคุณค่าและผลกระทบต่อสังคมในสายตาของหน่วยงานอย่าง United Nation University และ Scopus สุดท้ายผมขอขอบคุณและได้ทำงานกับหน่วยงานชั้นนำของประเทศหลายหน่วยงานโดยเฉพาะอย่างยิ่งศูนย์วิจัยและฝึกอบรมด้านสิ่งแวดล้อมที่ทำให้งานวิจัยของเราของเราได้ใช้ประโยชน์จริง และก็รู้สึกโชคดีที่ได้รับการผึกหัดหลายๆทักษะที่จำเป็นในการทำวิจัยและนำเสนอจากที่ขอขอบคุณอาจารย์ที่ปรึกษาตอนเรียนปริญญาเอก กับ คือ Prof. Gregory V. Lowry, Prof. Robert D. Tilton และ Prof. David A. Dzombak ที่ Carnegie Mellon University, USA ที่ให้ความรู้และปลูกฝังการเป็นนักวิจัยที่ดี และท้ายที่สุดก็รู้สึกโชคดีที่ได้ทำงานขอขอบคุณที่มหาวิทยาลัยนเรศวรที่สนับสนุนการวิจัยและตั้งเป้าหมายเป็นมหาวิทยาลัยวิจัย โดยเฉพาะอย่างยิ่งคณะวิศวกรรมศาสตร์ที่เข้าใจอาจารย์ที่ทำวิจัยและสนับสนุนให้ไปทำวิจัยร่วมกับหน่วยงานต่างๆ และการทำวิจัยในต่างพื้นที่”
ลำพังนักวิจัยเองคงไม่สามารถทำงานวิจัยการฟื้นฟูพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตรายให้ประสบความสำเร็จเป็นรูปธรรมได้แต่เพียงผู้เดียว เนื่องจากเป็นงานที่ต้องการแรงผลักทั้งด้านเทคโนโลยี นโยบาย ความเชื่อใจกันของทุกฝ่าย และงบประมาณค่อนข้างสูง และเป็นเรื่องใหม่ของประเทศและเป็นประเด็นเปราะบาง นักวิจัยเป็นเพียงส่วนสำคัญที่จะทำงานกับทุกฝ่ายทั้งเจ้าของพื้นที่ปนเปื้อนสารอันตราย ประชาชนที่ได้รับผลกระทบ และเจ้าหน้าที่รัฐ เพื่อการแก้ปัญหา มุ่งสู่การพัฒนาต่อไป
////////////