วันที่ 30 สิงหาคม 2555 ที่โรงแรมอมรินทร์ลากูน จ.พิษณุโลก สำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยาง(สกย.)พิษณุโลกและธนาคารเพื่อการเกษตรและสหกรณ์(ธกส.)ใน 9 จังหวัดภาคเหนือตอนล่างจัดประชุมตัวแทนสถาบันเกษตรกรยางพาราในภาคเหนือและภาคตะวันออกพร้อมพนักงานสกย.รวมแล้วประมาณ
300 คนเพื่อเข้ารับการอบรมหลักสูตรมาตรฐานการผลิตและการบริหารจัดการตลาดยางพารา
ทั้งนี้สืบเนื่องจากรัฐบาลสนับสนุนวงเงิน 15,000 ล้านบาทเพื่อรับซื้อผลผลิตยางพาราจากสมาชิกฯสถาบันเกษตรกรแล้วนำไปจำหน่ายกับองค์การสวนยาง(อสย.)หรือนำผลผลิตที่ได้มาแปรรูปและเก็บรักษาเพื่อจำหน่ายในเวลาที่เหมาะสมภายในโครงการพัฒนาศักยภาพและรักษาเสถียรภาพยางพาราโดยสกย.เป็นผู้ให้ความรู้และความเข้าใจแก่สถาบันเกษตรกรในการคัดเลือกคุณภาพยางพาราและซื้อยางพาราจากสมาชิกเพื่อที่จะขอเงินกู้จาก ธกส.ไปรับซื้อผลผลิตจากสมาชิกและนำไปขายต่อแก่องค์การสวนยาง(อสย.)
ทั้งนี้สถาบันเกษตรกรได้จัดตั้งเป็นนิติบุคคลสามารถรวมรวบยางพาราเพื่อส่งขาย อสย.แล้วทั่วประเทศ 419 สถาบันส่วนสถานบันเกษตรที่กำลังยื่นขอจดทะเบียนทั่วประเทศแล้วกว่า 700 สถาบัน
เพิ่งอนุมัติก่อตั้งสถาบันเกษตรกรแล้วกว่า 600 สถาบัน
นายสุรพล ฝันเชียร ผู้อำนวยการสำนักงานกองทุนสงเคราะห์การทำสวนยางพิษณุโลก เปิดเผยว่า
ผู้บริโภคยางพาราสูงสุดในโลก คือ ประเทศจีน โดยนำวัตถุดิบยางไปผลิตเพื่อส่งออกเป็นสินค้าต่างๆ
ดังนั้นเมื่อเศรษฐกิจจีนลดความร้อนแรง ผลทำให้ภาวะตลาดยางพาราไม่ร้อนแรง โครงการ 1.5 หมื่นล้านบาทของรัฐบาลจึงพยายามรักษาเสถียรภาพราคายางพาราอยู่ในระดับที่เหมาะสมณ.วันนี้ ราคายางพาราที่ อสย.รับซื้อ 100 บาทต่อกิโลกรับ ขณะราคาตลาด 73 บาท ส่วนยางก้นถ้วย 100% สูงถึง 92 บาท แต่ราคาตลาดต่ำกว่ามากซึ่งการรับซื้อที่สูงห่างจากราคาตลาดมากเพราะวางเกณฑ์คุณภาพยางพาราไว้สูง ส่วนคุณภาพของผลผลิตจริงอาจไม่ถึง ต้องถอยไปตามสัดส่วนเกณฑ์คุณภาพยาง
การอบรมวันนี้เพื่อให้ตัวแทนสถาบันเกษตรกร มีความรู้เกี่ยวกับยางพารา สามารถคัดคุณภาพยางพาราให้ได้มาตรฐาน มิฉะนั้นหากสถาบันฯรับซื้อยางพารากับสมาชิก โดยให้ราคาสูงเกินไป เมื่อนำไปขายให้กับ องค์การสวนยาง จะได้ราคาต่ำกว่า จะทำให้ขาดทุนได้เพราะอสย.มีหลักเกณฑ์มาตรฐานอยู่
ฉะนั้นตัวแทนสถาบันเกษตรกรต้องมีความเข้าใจประเมินคุณภาพราคายางพาราก่อน
“กสย.ไม่อยากเห็นสถาบันเกษตรกรเจ๊ง โครงการ 1.5หมื่นล้านบาทเป็นโอกาสของเกษตรกรชาวสวนยาง ฉะนั้นอย่าทิ้งโครงการและอยากให้เดินหน้าโครงการต่อ หลังจากหมดโครงการในเดือนมีนาคม 56
ฉะนั้นสถาบันเกษตรกรควรเก็บเกี่ยวผลกำไรไว้ต่อยอดต่อไป”
สำหรับสถาบันเกษตรกรที่พิษณุโลก ก่อตั้งและรวบรวมยางพาราแล้ว 2 แห่งคือ สหกรณ์เกษตรยางพาราพิษณุโลกและสหกรณ์ลูกค้าธกส.ยางพาราพิษณุโลกและยังมีอีก5 กลุ่มยื่นขอก่อตั้งสถาบันเป็นนิติบุคคลคือ สหกรณ์บ้านชมพู 55,สหกรณ์น้ำริน, บ้านใหม่ชัยเจริญ, สหกรณ์อินโดจีนและสหกรณ์บ้านใหม่ชัยมงคล
แสดงความคิดเห็น