วันที่ 10 กรกฎาคม 2555 นายแพทย์ธีระ ศิริอาชาวัฒนา หัวหน้ากลุ่มศัลยกรรมมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม มอบเกียรติบัตรแก่ บริษัท เอไอเอ ประเทศไทย และโรงพยาบาลพุทธชินราช พิษณุโลก พร้อมทั้งแถลงข่าวสื่อมวลชน เกี่ยวกับ โครงการเอไอเอ 85 รอยยิ้ม ซึ่งเป็นโครงการที่ เอไอเอ ประเทศไทยร่วมสร้างร้อยยิ้มแก่เด็กไทย ที่เผชิญกับโรคปากแหว่งเพดานโหว่ เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ ในวโรกาสทรงเจริญพระชนมมายุ 85 พรรษา โดยเอไอเอประเทศไทยมอบ เงินทุนสนับสนุนการผ่าตัดผ่านมูลนิธิสร้างรอยยิ้ม 1,700,000 บาท ดำเนินการที่โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก และโรงพยาบาลมหาราช จ.นครศรีธรรมราช แห่งละ 85 คน
มล.จิรเศรษฐ ศุขสวัสดิ์ ประธานเจ้าหน้าที่ฝ่ายปฏิบัติการ เอไอเอ ประเทศไทย เปิดเผยว่า โครงการ เอไอเอ สร้างรอยยิ้มเป็นโครงการที่ เอไอเอ มูลนิธิสร้างรอยยิ้มประจำประเทศไทยและโรงพยาบาลในจังหวัดต่าง ๆ ดำเนินการมาอย่างต่อเนื่องมาตั้งแต่ ปี 2547 ปัจจุบันได้ดำเนินโครงการรวม 22 ครั้ง ซึ่งเป็นหนึ่งในนโยบายสำคัญ ๆ ที่ต้องเผชิญโรคปากแหว่างเพดานโหว่ ได้ดำเนินการสำเร็จไปแล้ว 1,677 ราย ภายใต้เงินสนับสนุนรวมกว่า 16 ล้านบาท และในปีนี้นับเป็นโอกาสอันเป็นมงคล จึงได้สร้างสรรค์โครงการขึ้นเป็นพิเศษในชื่อ “เอไอเอ 85 รอยยิ้ม” เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในวโรกาสทรงเจริญพระชนมายุ 85 พรรษา โดยได้รับความร่วมมือจากโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ดำเนินการฝ่าตัดทำศัลยกรรมผู้ป่วยโรคปากแหว่งเพดานโหว่ที่ต้องทนทุกข์ ให้สามารถเข้าสังคมได้เสมอเหมือนผู้อื่นและมีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
“จากข้อมูลด้านสาธารสุขและการแพทย์พบข้อมูลที่น่าตกใจว่าในเด็กที่เกิดใหม่ในประเทศไทย จำนวน 500 คน จะพบผู้ที่ปบปัญหาเป้นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ 1 คน นั่นคือในทุก ๆ ปี จะมีผู้พืการทางใบหน้าเพิ่มขึ้นประมาณ 2,500 คน และคนที่เป็นโรคนี้ส่วนใหญ่มีฐานะยากจนและจะประกอบอาชีพเกษตรกรรม ถึงแม้ว่ารัฐบาลจะให้การช่วยเหลือในด้านการรักษา แต่ก็ยังไม่มีค่าเดินทางมาทำการผ่าตัด ทางเอไอเอ นอกจากจ่ายค่ารักษาพยาบาลแล้วยังช่วยเหลือเรื่อค่าพาหนะในการเดินทาง ค่าอาหารคนไข้และผู้เฝ้าไข้ รวมทั้งค่าใช้จ่ายในการพักฟื้นให้ด้วย “มล.จิรเศรษฐ
ด้านโรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ขอเชิญชวนให้ผู้ป่วยเป็นโรคปากแหว่งเพดานโหว่ ได้มาแจ้งรายชื่อเพื่อรอคิวทำการรักษา เนื่องจากมีโครงการช่วยเหลือจากทางภาคเอกชนเข้ามาสนับสนุนการผ่าตัดโรคปากแหว่งเพดานโหว่าอย่างต่อเนื่อง ซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยได้รับโอกาสามารถรับการรักษารวดเร็วขึ้น ไม่ต้องรอนานเป็น 6 เดือนหรือ1-2 ปีเช่นในอดีตที่ผ่านมา