เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 18 มิ.ย.2555 ที่วิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร จ.พิษณุโลก ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ร่วมกับกระทรวงสิ่งแวดล้อมการอนุรักษ์ธรรมชาติและความปลอดภัยทางปรมาณู รัฐบาลเยอรมัน ได้จัดโครงการปกป้องสภาวะภูมิอากาศ ตามโครงการพัฒนาสาธิตระบบผลิตไฟฟ้าด้วยพลังงานความร้อนแสงอาทิตย์และชีวมวล โดยใช้เทคโนโลยีรางพาราโบลิก โดยทางรัฐบาลเยอรมันเป็นผู้สนับสนุนงบประมาณทั้งหมด เพื่อให้ทางมหาวิทยาลัยนเรศวร ได้ดำเนินการพัฒนาการผลิตกระแสไฟฟ้า นอกเหนือจากการผลิตจากแผงโซล่าเซลล์ โดยให้ดำเนินการพัฒนาการผลิตไฟฟ้า เพื่อนำพลังงานไฟฟ้ามาทำความร้อน และความเย็นจากพลังงานแสงอาทิตย์ และชีวมวล โดยใช้เทคโนโลยีรางพาราโบลิก และใช้น้ำซึ่งเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อมเป็นสารทำงาน ซึ่งเป็นกระบวนการผลิตกระแสไฟฟ้า ที่ใช้ตามโรงงาน ขนาด 20 กิโลวัตต์และเป็นการลดก๊าชคาร์บอนไดออกไซด์ อีกด้วย
นายวิสุทธิ์ แช่มสะอาด อาจารย์ประจำวิทยาลัยพลังงานทดแทน มหาวิทยาลัยนเรศวร กล่าวว่า วิทยาลัยพลังงานทดแทน ถือว่าเป็นการพัฒนาความสามารถของการผลิตกระแสไฟฟ้าในระดับท้องถิ่นอีกประเภทหนึ่ง นอกจากเหนือจากการผลิตกระแสไฟฟ้าจากแผงโซล่าเซลล์ แต่การกระบวนการผลิตไฟฟ้าโดยใช้แผงพาลาโบลิก นี้ถือว่าเป็นแห่งแรกของระดับมหาวิทยาลัย ที่สามารถพัฒนาความรู้ความสามารถให้กับนิสิต นักศึกษา ได้เป็นอย่างดี โดยทางเจ้าหน้าที่ของประเทศเยอรมัน ก็จะได้มีการอบรมให้ความรู้ในการทำงาน เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดอีกด้วย