โรงเรียนจุฬาภรณพิษณุโลกเข้มวิทย์ภูมิภาคสู่สากล

เมื่อวันที่ 7 พ.ค. 55  ที่หอประชุมเฉลิมพระเกียรติ โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยพิษณุโลก ได้จัดให้มีการประชุมผู้ปกครอง ในโอกาสกิจกรรมปฐมนิเทศปรับสภาพนักเรียน โดยเริ่มมาตั้งแต่วันที่ 4-7 พ.ค. โดยมีนักเรียนที่ผ่านการสอบคัดเลือกในระดับมัธยมศึกษาปีที่ 1 จำนวน 4 ห้อง 88 คน นักเรียนชั้นมัธยมปีที่ 4 จำนวน 6 ห้อง 146 คน ทั้งหมดเป็นนักเรียนทุนที่เรียนด้วยทุนห้องเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 9 ห้องเรียน ซึ่งมีนักเรียนชั้นมัธยมศึกษาปีที่ 4 จำนวน 1 ห้องเรียน ที่เป็นนักเรียนวัตถุประสงค์พิเศษของโรงเรียนที่เรียนด้วยทุนของผู้ปกครองนักเรียนเอง แต่ผ่านกระบวนการคัดเลือกตามขั้นตอนครบถ้วนเพื่อคุณภาพเท่าเทียมกัน มี ดร.สมเกียรติ บุญรอด ผอ.เขตพื้นที่การศึกษามัธยมศึกษา เขต 39 เป็นประธานเปิดงาน นายวิโรจน์ นาคคงคำ  ผอ.โรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยพิษณุโลก กล่าวรายงาน และ ดร.ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ที่ปรึกษาด้านวิชาการโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เป็นวิทยากรให้ความรู้เกี่ยวกับการพัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยพิษณุโลกให้เป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค

ดร.ธงชัย ชิวปรีชา ที่ปรึกษาด้านวิชาการโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค กล่าวว่า ตามที่รัฐบาลมีมติให้พัฒนาโรงเรียนจุฬาภรณราชวิทยาลัยเป็นโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค ซึ่งมีเป้าหมายสองสามประการ อันดับแรกเด็กที่มีความถนัดมีศักยภาพสูงด้านคณิตวิทย์ อดีตที่ผ่านมาเด็กจะเรียนในโรงเรียนตามปกติทั่วไป ทำให้ขาดโอกาสที่จะได้รับการพัฒนาตนเองทางด้านคณิตวิทย์อย่างเต็มศักยภาพ ที่จริงแล้วเด็กเหล่านี้ถ้าเราพัฒนาเต็มศักยภาพแล้ว เขาจะเป็นบุคลากรที่มีคุณค่ายิ่งของประเทศชาติ เริ่มการสรรหาจากโครงการ สสวท. และสุดท้ายมหิดลวิทยานุสรณ์  มีการกระจุกในเมืองใหญ่อย่างกรุงเทพ จริงแล้วเด็กที่มีศักยภาพสูงมีกระจายทั่วประเทศ ถ้าเราไม่กระจายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาคแล้ว เด็กที่ศักยภาพสูงด้อยโอกาสยากจนก็จะขาดโอกาส เจตนาจริงๆการที่เราขยายโอกาสกระจายโรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค 12 แห่ง เพื่อให้โอกาสเด็กที่มีศักยภาพสูงในด้านนี้ ได้มีโอกาสเรียนในเมืองกรุงเทพได้ ฉะนั้นจึงมีเพียง 2 ประเด็นคือ สรรหาเด็กที่มีศักยภาพสูงมาพัฒนาให้เต็มศักยภาพ เพื่อพัฒนาไปสู่อาชีพนักวิจัยนักประดิษฐ์เป็นองค์ความรู้ของประเทศชาติ และอีกประเด็นเป็นการให้โอกาสสร้างโอกาสให้กับเด็กที่มีศักยภาพสูงในด้านนี้ ที่มีฐานะยากจนอยู่ในภูมิภาค

ดร.ธงชัย ชิวปรีชา กล่าวอีกว่า ในอนาคตเป้าหมายเราไม่อยู่แค่อาเวียน เด็กที่จบจากโครงการนี้ โรงเรียนวิทยาศาสตร์ภูมิภาค เราอยากเห็นเขาศึกษาต่อจนถึงระดับปริญญาเอก ออกมาเป็นนักวิจัยนักประดิษฐ์ ระดับเดียวกับนักวิจัยนานาชาติ ไม่เฉพาะในอาเซียน นักวิจัยเราต้องแข่งขันกับเกหลีได้ ญี่ปุ่นสหรัฐอเมริกา และยุโรปได้  เป็นเรื่องที่เราต้องสร้างคนเหล่านี้  อย่างไรก็ตามประเทศอาเซียนอยู่ใกล้ชิดเรา อยากเห็นเด็กที่จะเป็นผู้นำได้มีความรู้อาเซียน สามารถดำรงทำงานอยู่กับคนในอาเซียนได้ ในหลักสูตรก็จะมีรายวิชาต่างๆ รายวิชาอาเซียนให้เด็กเหล่านี้  จริงๆแล้วศักยภาพวิทย์คณิตเราต้องพัฒนาให้เทียมเท่าโรงเรียนชั้นนำของโลก มหาวิทยาลัยอินซานียะห์ มหาวิทยาลัยอิลลินอยส์ มหาวิทยาลัย KHA ของเกาหลี เป้าหมายของเราออยู่ตรงโน้น ตอนนี้เรามีนักวิจัย 3-4 หมื่นคนน้อยมาก เกาหลีมี 2 แสนคน จากวันนี้เราเริ่มต้นจาก ม.1 กว่าจะไปจบปริญญาเอกใช้เวลา 16 ปี กว่าจะได้ 2 แสนคนอีกนาน 30-40 ปี ณ วันนี้อุดมศึกษาผลิตปริญญาเอกปีละ 500-600 คนไม่พอ วันนี้เราเริ่มที่มัธยมต่อยอดไปต้องสร้าง อย่างเกาหลีเริ่มต้นช่วงสงครามเกาหลีเหนือเกาหลีใต้ใช้เวลา 30-40 ปี กว่าจะก่อร่างสร้างตัวถึงทุกวันนี้

 

“ถ้าเราเริ่มคัดวันนี้ไปถึงระดับนั้นได้ใช้เวลา 30-40 ปี ถ้าได้รับการสนับสนุน และคนไทยเห็นค่าความสำคัญ ถ้าไม่มีการสนับสนุนไม่เห็นค่าก็จะอยู่แบบนี้ต่อไป ขณะที่คนมองภาพไม่เห็นว่าไปประกอบอาชีพนักวิจัยนักประดิษฐ์แล้วชีวิตจะเป็นอย่างไร  อาชีพนักวิจัยนักประดิษฐ์เกาหลีญี่ปุ่นจะเห็นว่าชีวิตอยู่ในระดับดีมากดีกว่าอาชีพหมอเสียอีก อยากให้สังคมเริ่มศึกษาว่าอย่างเกาหลีผลิตซัมซุง ฮุนได ญี่ปุ่นผลิตสินค้ามาขายให้กับเรา ทำไมเราผลิตได้แค่ข้าว ยางพารา มันสำปะหลัง อยากให้สังคมคิดว่าเราจะทำยังไง” ดร.ธงชัย ชิวปรีชา กล่าว

 

 

แสดงความคิดเห็น