วันที่ 27 เมษายน 2555 รายงานความคืบหน้าเรื่องหลุมไฟ ต.หนองกะท้าว อ.นครไทย จ.พิษณุโลก ปรากฎว่าในวันนี้ยังมีประชาชนเดินทางมาชมพื้นที่ดังกล่าวกันอย่างต่อเนื่องแต่เบาบางลงกว่าวันแรก ๆ ในวันนี้ทางศูนย์ป้องกันบรรเทาสาธารณภัยเขต 9 พิษณุโลก ได้ประสานกับทางเทศบาลนครไทย และองค์การบริหารส่วนตำบลหนองกระท้าวนำรถน้ำจำนวน 2 คัน มาฉีดพ่นน้ำบริเวณหลุมไฟ เพื่อเป็นการลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟล์ ที่พบอยู่บริเวณหลุมไฟ ซึ่งตรวจให้เจือจางลง และเป็นการดับความร้อนในชั้นดินให้เย็นลง
นายบรรพต โคตรเทิ้ง ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยจังหวัดพิษณุโลก ได้กล่าวว่า การฉีดพ่นน้ำในครั้งนี้ได้รับการปรึกษาจากทางสำนักงานควบคุมโรคที่ 9 เป็นที่เรียบร้อยว่าสามารถทำได้ เพื่อเป็นการลดความร้อนในชั้นดิน อีกทั้งยังสามารถลดความเข้มข้นของก๊าซคาร์บอนไดซัลไฟล์ที่เกินมาตรฐาน เพราะจากที่ทำการตรวจสอบพบว่าค่าของก๊าซซัลไฟล์ลดลง ดังนั้นการฉีดพ่นน้ำเข้าไปจะสามารถช่วยลดได้อีก แต่การฉีดพ่นบริเวณหลุมไฟต้องทำแบบเป็นพ่นกระจายเพื่อป้องกันการฝุ้งกระจายของเศษฝุ่นและออกและควันไปกระทบประชาชนที่อยู่บริเวณใกล้เคียง ซึ่งหลังจากการฉีดน้ำแล้วหากพบว่าชุ้นดินระดับความร้อนลดลงก็จะทำการฉีดพ่นต่อไปเมื่อชั้นดินเย็นตัว ก็จะทำการใช้รถแบคโฮล์ชุดแยกชั้นดินแล้วนำไปกระจายตามที่ต่างๆ เพื่อป้องกันไม่ให้เกิดปัญหาขึ้นอีก แต่ในเบื้องต้นต้องรอชั้นดินเย็นตัวก่อน ในช่วงนี้ก็จะนำรถแบ็คโฮลงมาขุดทำแนวกั้นไฟห่างจากหลุมไฟประมาณ 3 เมตร เพื่อเป็นการป้องกันและเตือนไม่ให้ประชาชนเข้าใกล้รวมทั้งสัตวฺเลี้ยงต่างๆอีกด้วย
โดยหลังจากทำการฉีดพ่นน้ำพบว่าชั้นดินที่ฉีดพ่นไปเริ่มเย็นตัวและแข็งบางพื้นที่ทางเจ้าหน้าที่สามารถขึ้นไปยืนเหยียบได้ แต่อย่างไรก็ยังต้องกันประชาชนไม่ให้เข้าใกล้บริเวณดังกล่าว
ในขณะที่ทางนายวินัย ทองชุบ นักวิชาการชำนาญการสาธารณสุข สำนักงานควบคุมโรคที่ 9 ได้นำเจ้าหน้าที่ลงพื้นที่อีกครั้งเพื่อเก็บตัวอย่างน้ำรอบบริเวณและแหล่งน้ำใกล้เคียงพร้อมทั้งแนะนำให้ประชาชนงดใช้น้ำบริเวณใกล้เคียงกับหลุมหลบไฟโดยช่วงนี้ให้ใช้น้ำปะปาของอบต.ไปก่อน เพราะผ่านการฆ่าเชื้อด้วยคลอรีนน่าจะปลอดภัยกว่าน้ำที่ตักจากแหล่งน้ำใกล้เคียงหลุมไฟ ส่วนด้านการเฝ้าระวังด้านสุขภาพทาง สำนักงานป้องกันควบคุมโรคที่ 9 ทำงานร่วมกับรพ.สมเด็จพระยุพราชนครไทย ยังเฝ้าระวังอยู่ตลอดเวลา
นอกจากนี้ทางกรมควบคุมมลพิษ กระทรวงทรัพยากรธรรมชาตินักวิชาการสิ่งแวดล้อมชำนาญการพิเศษ และนายโนริมาซะ ชิโมมูระ อาสาสมัครญี่ปุ่นอาวุโส จาก JICA และผู้เชี่ยวชาญจากส่วนปฏิบัติการฉุกเฉิน จากกรมควบคุมมลพิษ นำเครื่องมือตรวจวัดสารเคมีมาตรวจวัดในพื้นที่
นายโนริมาซะ ชิโมมูระ อาสาสมัครญี่ปุ่นอาวุโส จาก JICA ชี้ว่า จากสภาพที่เห็นน่าจะเป็นการทับถมของขี้เลื่อยของโรงเลื่อยเก่า ทำให้เกิดปรากฎการณ์ดังกล่าวขึ้น ซึ่งเมื่อมีการทับถมจำนวนมากก็จะเกิดการลุกไหม้ดังกล่าว และจากตรวจวัดพบในชั้นใต้ดิน อุณหภูมิสูงถึง 200 องศา
/////