หลายปีที่ผ่านมา โรงพยาบาลพุทธชินราช จ.พิษณุโลก ได้ดำเนินการจัดการในเรื่องการแก้ไขปัญหาสิ่งแวดล้อมโดยเฉพาะเรื่องของขยะเหลือทิ้ง ไม่ว่าจะดำเนินการขัดแยกขยะก่อนทิ้ง การเผากำจัดขยะติดเชื้อ แต่ที่เป็นปัญหา คือขยะทางชีวภาพ ได้แก่ ขยะที่เหลือจากการทำอาหารให้กับผู้ป่วยรับประทานภายในโรงพยาบาล ทางโรงพยาบาลพุทธชินราชจึงได้พยายามหาวิธีการจนในที่สุด จากการศึกษาดูงาน ได้จัดทำโครงการเลี้ยงไส้เดือนขึ้น เพื่อใช้กำจัดขยะชีวภาพภายในโรงพยาบาล
นายมนูญ พูลทรัพย์ นักวิชาการชำนาญพิเศษ กล่าวว่า โครงการไส้เดือนกินผัก เริ่มก่อตั้งมาได้ประมาณ 1 ปี โดยการสนับสนุนของนายแพทย์ ประเสริฐ ขันเงิน ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธชินราช โดยได้ก่อสร้างอาคารกองทุนขยะเพื่อสิ่งแวดล้อม บริเวณด้านหลังโรงพยาลซึ่งสร้างเป็นโรงเรียนเพื่อกำจัดขยะจำเศษผักและเศาผลไม้ที่เหลือจากการประกอบอาหารให้คนไข้ภายในโรงพยาบาล
จากปัญหาที่โรงพยาบาลต้องจัดการเรื่องขยะที่มีมากถึงวันละ 2,000 กิโลกรัม ทางโรงพยาลจึงต้องใช้จำนวนคนและเงินในการคัดแยกและกำจัดขยะในแต่ละวัน ซึ่งขยะทั่วไปได้ร่วมมือกับทางเทศบาลนครพิษณุโลกในการกำจัดขยะ ส่วนขยะสดจำพวกเศษอาหารและเศษผักผลไม้ที่เกิดจากห้องครัวของโรงพยาบาลที่ต้องปรุงอาหารให้กับคนไข้ถึงวันละ 3 เวลาทำให้มีเศษอาหารคิดเป็น 40 เปอร์เซ็นต์ของขยะทั้งหมดของโรงพยาบาล
จึงได้มีการศึกษาดูงานโดยในช่วงแรกได้มีการนำไส้เดือนแดงมาเลี้ยงก่อน และเริ่มขยายพันธุ์ไส้เดือนโดยการเตรียมพื้นที่และดินร่วนมาใส่ในภาชนะให้มีความหนาประมาณ 10-15 เซนติเมตร และนำมูลวัวแช่น้ำมาผสมกันดินในอัตราส่วน 8:2 ผสมดินกับมูลวัวให้เข้ากันแล้วเติมน้ำให้มีความชิ้น 80-90 % หมักไว้นาน7-14 วัน จากนั้นนำไส้เดือนมาปล่อยไว้ในบ่อภาชนะที่มีเศษผักเศษอาหาร เพื่อให้ไส้เดือนได้ย่อยสลาย เป็นเวลา 14 วัน จากนั้นได้แยกไส้เดือนออกมาและนำเศษอาหารที่ไส้เดือนได้ย่อยสลายไปตากแดดให้แห้งและบรรจุใส่ถุง
ส่วนปุ๋ยที่ได้จากการย่อยสลายของไส้เดือนแดงจะนำไปใช้กับต้นไม้ในโรงพยาบาลเพื่อลดใช้สารเคมีเป็นการลดภาวะโลกร้อน และส่วนที่เหลือก็จำหน่ายกับเจ้าหน้าที่โรงพยาบาลนำไปทำปุ๋ยใช้เพาะเลี้ยงต้นไม้ในบ้านพักส่วนตัว