วันผู้สูงอายุ

อายุขยับขึ้นมาหลัก 4 ก็เสียววาบ ๆ ใกล้ขึ้นหลัก 5 หลัก 6 เดี๋ยวก็คงถึงวัยส.ว. ใกล้สงกรานต์ทีไร บรรยากาศความอบอุ่นก็ดูใกล้เข้ามาทุกที บ้านนอกอย่างเรา สงกรานต์ทีก็คิดถึงคนแก่ที ประเทศไทยเราก็ให้ความสำคัญกับคนสูงวัยมากโข มีวันผู้สูงอายุ วันครอบครัว มีเบี้ยรายเดือนให้ผู้สูงอายุ อย่างนี้ก็แก่แล้วน่าจะมีความสุข

สืบค้นข้อมูลกับพี่กูเกิ้ล ได้ความว่า ในประเทศไทยเริ่มจุดประกายเรื่องผู้สูงอายุ ในสมัย จอมพล ป. พิบูลสงคราม เป็นนายกรัฐมนตรี โดยมีการกำหนดนโยบายที่จะส่งเสริมสนับสนุนให้ประชาชนมีสภาพความเป็นอยู่ที่ดี มีคุณภาพ และดำรงชีวิตในสังคมได้อย่างปกติสุข และได้มอบให้กรมประชาสงเคราะห์จัดตั้งสถานสงเคราะห์คนชรา บ้านบางแค เป็นแห่งแรกในปี พ.ศ. 2496 โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้ ต่อมา ในปี พ.ศ. 2525 ได้มีการจัดประชุมสมัชชาโลกว่าด้วยผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย ซึ่งได้พิจารณาประเด็นสำคัญเกี่ยวกับผู้สูงอายุไว้ 3 ประการ คือ ด้านมนุษยธรรม ด้านการพัฒนา และด้านการศึกษา นอกจากนี้ องค์การอนามัยโลก ยังได้กำหนดให้ปี 2525 เป็นปีรณรงค์เพื่อส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุโดยกำหนดคำขวัญว่า “Add life to Years” เพื่อให้ประเทศต่างๆ ช่วยกันส่งเสริมสุขภาพผู้สูงอายุ ซึ่งคณะกรรมการอำนวยการวันอนามัยโลกของกระทรวงสาธารณสุข ได้มีมติให้ใช้คำขวัญเป็นภาษาไทยว่า “ให้ความรัก พิทักษ์อนามัย ผู้สูงวัยอายุยืน


ในส่วนของรัฐบาลไทยสมัยนั้น ซึ่งตรงกับรัฐบาลของ พล.อ.เปรม ติณสูลานนท์ ก็ได้เห็นความสำคัญต่อนโยบายดังกล่าว โดยคณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 14 ธันวาคม 2525 อนุมัติให้วันที่ 13 เมษายนของทุกปีเป็นวันผู้สูงอายุแห่งชาติ และได้มีการแต่งตั้งคณะกรรมการจัดงานวันผู้สูงอายุแห่งชาติ มีปลัดกระทรวงมหาดไทยเป็นประธานและจัดให้มีกิจกรรมต่างๆ สำหรับผู้สูงอายุของทุกปี
องค์การสหประชาชาติกำหนดให้ทุกวันที่ 1 ตุลาคมของทุกปี เป็น “วันผู้สูงอายุสากล” เริ่มมาตั้งแต่ปี 1999 หรือ พ.ศ. 2542 ทั้งนี้ ในปี พ.ศ. 2525 องค์การสหประชาชาติได้จัดประชุมสมัชชาโลกเกี่ยวกับผู้สูงอายุ ณ กรุงเวียนนา ประเทศออสเตรีย และได้ให้ความหมายของคำว่า …

“ผู้สูงอายุ” หมายถึง บุคคลทั้งเพศชายและเพศหญิงที่มีอายุตั้งแต่ 60 ปี ขึ้นไป แบ่งเป็น 2 กลุ่มคือ ผู้สูงอายุตอนต้น คือ บุคคลที่มีอายุ 60-69 ปี ทั้งชายและหญิง และผู้สูงอายุตอนปลาย คือ บุคคลที่มีอายุ 70 ปี ขึ้นไปทั้งชายและหญิงรัฐบาลในสมัย พล.เอกเปรม ติณสูลานนท์ นอกจากจะอนุมัติให้วันที่ 13 เมษายน ของทุกปี เป็นวันผู้สูงอายุ แล้วกำหนดให้ “ดอกลำดวน” เป็นสัญลักษณ์ของผู้สูงอายุด้วย
สำหรับสาเหตุที่เลือก “ดอกลำดวน” เนื่องจากต้นลำดวนหรือหอมหวล (Melodorum fruticosum Lour) ตามชื่อไทยพื้นเมือง มีชื่อวิทยาศาสตร์ว่า Sphaerocoryne clavipes.จัดอยู่ในวงศ์ Annonaceae. เป็นพืชยืนต้นที่มีอยู่มาก ในสวนสมเด็จพระศรีนครินทราบรมราชชนนี ให้ความร่มเย็น ลำต้นมีอายุยืน มีใบเขียวตลอดปี ดอกสีเหลืองนวล กลิ่นหอมเย็น กลีบแข็งแรงไม่ร่วงง่าย เปรียบเหมือนกับผู้ทรงวัยวุฒิที่คงคุณธรรมคุณงามความดีให้กับลูกหลานไว้เป็นแบบอย่างสืบต่อไป 
บ้านผมเองเหลือผู้สูงอายุไม่มากครับ ทุกวันก็มีความสุขกับครอบครัวสุขสบายดี ทุกสงกรานต์ลูกหลานก็มาพร้อมหน้า รดน้ำดำหัวขอพรผู้หลักผู้ใหญ่ประจำครอบครัว ผมมีภาพประทับใจ การจัดงานรดน้ำดำหัวผู้สูงอายุที่ต.บ้านไร่ อ.บางกระทุ่ม จ.พิษณุโลก เมื่อ 11 เมษายน 2554 มาให้ชมกันครับ คนเด็ก จัดกิจกรรมให้คนแก่ได้ยิ้มเบิกบานสำราญใจดีจริง ๆ

 

แสดงความคิดเห็น