ประชุม กยน.พื้นที่ต้นน้ำ10 จังหวัด

ประชุม กยน.พื้นที่ต้นน้ำ

เมื่อเวลา 10.00 น.ของวันที่ 13 ก.พ.55) ที่ห้องประชุม 771  ศาลากลางจังหวัดพิษณุโลก ผู้ว่าราชการจังหวัดในพื้นต้นน้ำ 10 จังหวัด ประกอบด้วยจังหวัดเชียงใหม่ เชียงราย สุโขทัย อุตรดิตถ์ ตาก น่าน แพร่ ลำปาง ลำพูน และพะเยา ได้ประชุมร่วมกับคณะทำงานจากส่วนกลางและส่วนราชการที่เกี่ยวข้อง เพื่อบูรณาการข้อมูลและแนวทางการแก้ไขปัญหาอุทกภัย นำเสนอต่อนางสาวยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ที่ลงพื้นที่ติดตามการแก้ไขปัญหาอุทกภัยในวันพรุ่งนี้ (14 ก.พ.55) ณ โรงแรมอมรินทร์ลากูน จังหวัดพิษณุโลก

ประชุม กยน.พื้นที่ต้นน้ำ

ซึ่ง ดร.อานนท์ สนิทวงศ์ ณ อยุธยา ผู้แทน กยน.กล่าวกับที่ประชุมว่าในช่วงเดือนกรกฎาคมถึงเดือนกันยายน คาดการณ์ว่าประเทศไทยจะได้รับอิทธิและมีพายุเข้ามาในพื้นที่แม้ว่าจะน้อยกว่าปีที่ผ่านมาแต่ก็อยู่ในเกณฑ์ที่มากดังนั้นจึงต้องเตรียมการในเรื่องของพื้นที่รับน้ำ พร้อมทั้งเปิดเวทีให้ผู้ว่าราชการแต่ละจังหวัดได้นำเสนอข้อมูลและแนวทางในการแก้ไขปัญหา

 

ประชุม กยน.พื้นที่ต้นน้ำ

ด้าน นายเกษม วัฒนธรรม ผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ ซึ่งได้นำเสนอเป็นคนแรก กล่าวว่า ในภาพรวบจังหวัดได้เสนอโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูพื้นที่ป่าและระบบนิเวศน์ที่เสียหายไปกว่า 9 หมื่นไร่ และการสร้างแหล่งกักเก็บน้ำ เนื่องจากน้ำท่าในจังหวัดแพร่แต่ละปีมีปริมาณมากถึง 1,540 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ศักยภาพในการรับน้ำรับได้เพียง 205 ล้านลูกบาศก์เมตรเท่านั้นจึงเป็นสาเหตุการเกิดปัญหาอุทกภัย ฉะนั้นรัฐบาลต้องพิจารณาหาที่กักเก็บน้ำให้ได้ 1,540 ล้านลูกบาศก์เมตร ซึ่งแนวทางหลักคือการก่อสร้างเขื่อนซึ่งมี 2 แนวทาง ได้แก่การก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นซึ่งจะสามารถรับน้ำได้ 1,170 ล้านลูกบาศก์เมตร แต่ต้องมีการพิจารณาแก้ไขปัญหากับราษฎร 870 ครัวเรือนที่ยืดเยื้อมานาน หากแก้ไขได้ก็จะมีแหล่งกักเก็บน้ำขนาดใหญ่ที่สามารถบริหารจัดการน้ำได้ หรืออีกแนวทางคือการก่อสร้างเขื่อนเขื่อนลำน้ำยม และเขื่อนยมตอนล่างที่กรมชลประทานได้สำรวจไว้ แต่เขื่อนแม่น้ำน้ำทั้ง 2 เขื่อน เก็บน้ำรวมกันได้ประมาณ 666 ล้านลูกบาศก์เมตรซึ่งน้อยกว่าเขื่อนแก่งเสือเต้น สำหรับข้อเสนอการก่อสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นเพื่อแก้ไขปัญหาอุทกภัยประเทศไทยของผู้ว่าราชการจังหวัดแพร่ สอดคล้องกับความเห็นของผู้ราชการจังหวัดสุโขทัยและอีกหลายจังหวัดที่เข้าร่วมประชุมครั้งนี้

////

แสดงความคิดเห็น