ผู้ว่ากฟผ.นั่งตำแหน่งนายกสมาคมนร.เก่าพ.พ.

สุทัศน์  ปัทมสิริวัฒน์ ผู้ว่าการไฟฟ้าฝ่ายผลิตแห่งประเทศไทย ( กฟผ. ) ศิษฐ์เก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม ได้รับการโหวตจากคณะกรรมการ ให้นั่งตำแหน่ง นายกสมาคมนักเรียนเก่าพิษณุโลกพิทยาคมคนใหม่ ในงานราตรีคืนสู่เหย้า 112 ปี พ.พ. โรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคม เมื่อวันที่ 26 พฤศจิกายนที่ผ่านมา

 

นายกสมาคมนักเรียนเก่าโรงเรียนพิษณุโลกพิทยาคมคนนี้ ตกเป็นข่าวมาก ในช่วงวิกฤติน้ำท่วมประเทศไทยช่วงเดือนกันยายน-ตุลาคมที่ผ่านมา ด้วยกฟผ. ร่วมเป็นผู้บริหารน้ำในเขื่อนใหญ่สองเขื่อน ได้แก่เขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิติ์ แต่ก็ได้ยืนยันว่าการบริหารน้ำในเขื่อนไม่ได้ผิดพลาด า เหตุการณ์น้ำท่วมหลาย จ.ในภาคกลางตอนบน และ กทม. ไม่ได้เกิดจากการระบายน้ำออกจากเขื่อนภูมิพล และเขื่อนสิริกิตติ์ ตามที่มีการวิพากษ์วิจารณ์กัน ในการระบายน้ำจากเขื่อน ได้ดำเนินการภายใต้คณะอนุกรรมการติดตามและวิเคราะห์แนวโน้มสถานการณ์น้ำ โดยมี รองอธิบดีกรมชลประทานเป็นประธาน ประกอบด้วย 9 หน่วยงาน ได้แก่ กรมชลประทาน กฟผ. กรมอุตุนิยมวิทยา สถาบันสารสนเทศทรัพยากรน้ำและการเกษตร สำนักการระบายน้ำ กทม. กรมอุทกศาสตร์กองทัพเรือ กรมทรัพยากรน้ำ กรมป้องกันและบรรเทาสาธารณะภัย และ สำนักงานคณะกรรมการพิเศษเพื่อประสานงานโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริ (กปร.) โดยได้ชี้แจงเน้นย้ำว่า การระบายน้ำในเขื่อน เพื่อประโยชน์การชลประทาน เกษตรกรรม อุปโภคบริโรค ซึ่งการผลิตไฟฟ้าเป็นเพียงผลพลอยได้

 

“ในข้อเท็จจริง ปริมาณน้ำที่ไหลผ่านจาก 2 เขื่อน มีปริมาณที่น้อยมาก หากเทียบกับปริมาณน้ำที่วิ่งผ่านภาคกลางปัจจุบัน และไม่น่าจะเกิน 20 เปอร์เซ็นต์ โดยตนพยายามชี้ให้ กมธ. ได้ทราบถึงปริมาณน้ำที่อยู่นอกระบบชลประทาน ในแม่น้ำที่ไม่มีระบบชลประทาน หรือท้ายเขื่อน ที่มีมากถึง 80 เปอร์เซ็นต์ ก็หวังว่า จะมีความเข้าใจสถานการณ์ดีขึ้น หากตั้งสมมติฐานว่า กฟผ. ระบายน้ำก่อนในช่วงต้นฤดูฝนเต็มที่ หรือ เขื่อนทั้งสองเก็บน้ำไว้ทั้งหมด มวลน้ำที่ไหลเข้าสู่ภาคกลางนั้นยังคงมีมากว่า 20,000 ล้าน ลบ.ม. ในขณะเดียวกัน หากไม่มีเขื่อนทั้งสองแห่งรองรับน้ำไว้ ปริมาณน้ำกว่า 10,000 ล้าน ลบ.ม. ที่เก็บกักไว้ในปี 2554 จะไหลลงสู่พื้นที่ภาคกลางทั้งหมดเช่นกัน จึงเห็นได้ว่าการที่เกิดน้ำท่วมในปีนี้มาจากภัยธรรมชาติที่หลีกเลี่ยงได้ยาก กฟผ. ในฐานะที่เป็นหนึ่งในคณะอนุกรรมการฯ ยืนยันได้ว่าการบริหารจัดการน้ำได้พิจารณาจากภาพรวมทุกด้าน ตามหลักวิชาการ และในส่วนของ กฟผ. ได้ปฏิบัติตามมติคณะอนุกรรมการฯ” นายสุทัศน์กล่าว

นายสุทัศน์ ชี้ว่า สถานการณ์น้ำท่วมภาคกลางที่เกิดขึ้นในช่วงเดือน ก.ย.-ต.ค. เขื่อนภูมิพลมีการระบายน้ำเพียง 2,722 ล้าน ลบ.ม. เขื่อนสิริกิติ์ ระบายน้ำเพียง 2,725 ล้าน ลบ.ม. ปริมาณน้ำที่ระบายจาก 2 เขื่อนรวมกันเพียง 5,447 ล้าน ลบ.ม. ในขณะที่ท้ายเขื่อนมีฝนตกหนัก และมีน้ำจากแม่น้ำวัง แม่น้ำยม และน้ำทุ่ง ไหลลงสู่แม่น้ำเจ้าพระยา จ.นครสวรรค์ จึงทำให้มีปริมาณน้ำถึง 21,039 ล้าน ลบ.ม. ไหลไปรวมกับน้ำจากแม่น้ำสะแกกรัง 2,738 ล้าน ลบ.ม. และแม่น้ำป่าสัก อีก 3,165 ล้าน ลบ.ม. ไหลเข้าสู่พื้นที่ภาคกลาง ซึ่งจะเห็นได้ว่าปริมาณน้ำส่วนใหญ่ ถึงร้อยละ 80 เป็นปริมาณน้ำฝนที่ตกนอกระบบชลประทาน ไม่สามารถควบคุมได้ ซึ่งเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในปีนี้

 

 

ประวัติ การศึกษา  ปี 2517 ปริญญาตรี    วิศวกรรมศาสตร์ สาขาวิศวกรรมเครื่องกล จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย การอบรมพิเศษ  l ปี 2552 Advanced  Management Program Harvard Business School ปี 2550 Director Certification Program สมาคมส่งเสริม  สถาบันกรรมการบริษัทไทย  ปี 2549 Senior Executive Development Program-2 มูลนิธิพัฒนาทรัพยากร ระหว่างประเทศ  ปี 2546 ASEAN Excutive Development Programmer, Thammasat Business Shcool

 

ประวัติการทำางานใน กฟผ. ที่สำคัญ1 ต.ค. 2551  รองผู้ว่าการผลิตไฟฟ้า 21 ธ.ค. 2550   ผู้ช่วยผู้ว่าการบริหารสาย งานผลิตไฟฟ้า 1 ต.ค. 2549  ผู้ช่วยผู้ว่าการธุรกิจเดิน เครื่องและบำรุงรักษา 18 ก.พ. 2548  ผู้อำนวยการฝ่ายบำรุงรักษา เครื่องกล 1 ต.ค. 2539  ผู้ช่วยผู้จัดการฝ่ายบำรุง รักษาเครื่องกล-บำรุงรักษา 1 เม.ษ. 2533  หัวหน้ากองกังหันไอน้ำฝ่าย บำรุงรักษาเครื่องกล

แสดงความคิดเห็น