บสย.ประเมินลูกค้าเหนือล่างเจอน้ำท่วมสูญกว่า 250 ล้าน

 

รับมือค้าเสรีอาเซียน

วันที่ 23 กันยายน 2554 ที่สำนักงาน บสย.สาขาพิษณุโลก นายคมสัน วัฒนวนาพงษ์ ผู้จัดการบรรษัทประกันสินเชื่ออุตสาหกรรมขนาดย่อม(บสย.)สำนักงานสาขาพิษณุโลก เปิดแถลงข่าวการจัดงาน“เขตการค้าเสรี โอกาสของ SMEs”และ ผลดำเนินงานปี 2554 ในเขตภาคเหนือตอนล่าง 9 จังหวัด

นายคมสัน วัฒนวนาพงษ์ ผู้จัดการ (บสย.) สาขาพิษณุโลกกล่าวว่า บสย.ร่วมกับธนาคารแห่งประเทศไทย สำนักงานภาคเหนือ จังหวัดเชียงใหม่ และชมรมธนาคารภาคเหนือ 17 จังหวัด กำหนดจัดงานสัมมนาและตลาดนัดการเงิน “เขตการค้าเสรี : โอกาสของ SMEs” ในวันศุกร์ที่ 7ตุลาคม 2554 เวลา 12.30 – 18.00 น. ณ ห้องคอนเวนชั่น โรงแรมอมรินทร์ลากูน โดยเชิญ นายประสาร ไตรรัตน์วรกุล ผู้ว่าการธนาคารแห่งประเทศไทย ให้เกียรติเป็นวิทยากรปาฐกถาพิเศษ, นายณรงค์ เจียรวนนท์ กรรมการ บม.ทรู คอร์ปอเรนั่น และ บ.ซีพี ออลล์ พร้อมกับนายวิบูลย์ เพิ่มอารยวงศ์ กรรมการและผู้จัดการทั่วไป ของ บสย .ร่วมบรรยายพิเศษครั้งนี้ ซึ่งถือว่า ไม่บ่อยครั้งนัก ที่ในส่วนภูมิภาคจะจัดงานเขตการค้าเสรีในภาคการเงิน เพราะทุกครั้งจะเน้นถึงภาคธุรกิจการค้า

รับมือค้าเสรีอาเซียน

 

ด้านผลดำเนินงาน บสย. ณ.วันที่ 22 กย.54 ในภาคเหนือล่าง 9 จังหวัด มียอดอนุมัติสินเชื่อ 2,703 ล้านบาท มีลูกค้าที่ได้รับการค้ำประกัน1,080 ราย เพิ่มขึ้นจากปีที่ผ่านมา 77 % ซึ่งตลอดทั้งปี ตั้งเป้าไว้ 3,500 ล้านบาท ก็คาดว่า จะสามารถดำเนินการได้ตามเป้าหมาย จังหวัดนครสวรรค์ถือว่า มีลูกค้าใช้บริการสูงสุด คือ 525 ล้านบาท รองมาคือ กำแพงเพชร ยอดค้ำประกันสินเชื่อจำนวน 416 ล้านบาท และพิษณุโลก 408 ล้านบาท ซึ่งเป็นผลจากนโยบายรัฐบาลให้สินเชื่อแก่ธุรกิจ SMEs สุดสุดถึง 3 เท่าตัว แต่หลักทรัพย์ค้ำประกันนั้นคงเดิม โดยที่ลูกค้าใช้บริการขอสินเชื่อจากธนาคารพาณิชย์หลายแห่ง ขณะที่ยอดหนี้เสียน้อยมาก อยู่ในระดับ 1.4%

สำหรับธุรกิจที่ได้รับการอนุมัติสูงสุดคือ ภาคธุรกิจเกษตร ประมาณ 900 ล้านบาท จากยอดรวม (2,703ล้านบาท) ถือว่า ภาคเกษตรเป็นธุรกิจที่ใหญ่ แต่ล่าสุด ลูกค้ากำลังได้รับผลกระทบจากอุทกภัยน้ำท่วม เบื้องต้น มีภาคธุรกิจในจังหวัดพิษณุโลกและสุโขทัยได้รับผลกระทบโดยตรง แต่จังหวัดนครสวรรค์และชัยนาท กำลังรอประเมินตัวเลขความเสียหาย

รับมือค้าเสรีอาเซียน

 

ภาพรวมของลูกค้าบสย.ใน 9 จังหวัดที่เสียหายจากภัยน้ำท่วม ทราบแล้วประมาณ  150 ราย คาดว่า ตัวเลขถึง 500 ราย (จากที่มียอดลูกค้าทั้งสิ้น 5,000 ราย) สำหรับมูลค่าความเสียหายยังไม่ชัดเจน ประเมินเบื้องต้นน่าจะเฉลี่ยในระดับ 5 แสนบาทต่อราย หรือ คิดรวมแล้วเสียหาย 250ล้านบาท

แนวทางช่วยเหลือนี้ หากเป็นลูกค้าของบสย.ก็ยืดค่าธรรมเนียมค้ำประกันออกไป 6 เดือน อีกทั้งลูกค้า SMEs ยังสามารถขอวงเงินสินเชื่อดอกเบี้ยต่ำจากธนาคาร SMEs แบงค์ ซึ่งมีวงเงินถึงพันล้านบาท หรือเฉลี่ยต่อรายไม่เกิน 1 ล้านบาท

แสดงความคิดเห็น