นศ.บูมบางระกำโมเดล ตามกระแสหรือแก้ปัญหา

สัมมนาบางระกำโมเดล

วันนี้(21 ก.ย.)ที่ศูนย์ประสานแผนอำเภอบางระกำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก  นักศึกษามหาวิทยาลัยราชภัฏ พิบูลสงคราม สาขา รัฐประศาสนศาสตร์  เอกการบริหารงานยุติธรรมและกฎหมาย  ชั้นปีที่ 4ได้ร่วมกันจัดสัมมนาวิชาการทางรัฐประศาสนศาสตร์ ในหัวข้อ บางระกำโมเดล ตามกระแสหรือแก้ปัญหา  เพื่อรับฟังแนวความคิดจากหน่วยงานภาครัฐ ระดับอำเภอบางระกำ ผู้นำท้องถิ่น  และตัวแทนประชาชนในพื้นที่ อ.บางระกำ ถึงแนวคิดบางระกำโมเดล ว่าจะสามารถแก้ไขปัญหาอุทกภัยได้อย่างถ่องแท้เพียงใด  โดยมีวิทยาสำคัญประกอบด้วย นายรัชพงศ์  ศิริมี ปลัดอำเภอบางระกำ นายวิบูลย์  ตั้งเกษมวิบูลย์ นายก อบต.บางระกำ  นายเทียน ไพโรจน์ นายกเทศมนตรีเทศบาลตำบลบางระกำ แสดงแนวความคิด

 

น้ำยังท่วมสูง
ร่วมสัมมนา

นายรัชพงศ์  ศิริมี ปลัดอำเภอบางระกำ  ก ล่าวว่า นายกรัฐมนตรีได้เลือก อ.บางระกำ เป็นอำเภอต้นแบบในการวางแผนแก้ไขปัญหาน้ำท่วมระยะยาวแบบครบวงจร เนื่องจากอำเภอบางระกำ มีปัญหาปลายด้านทั้งปัญหาน้ำท่วมซ้ำซาก และปัญหาภัยแล้ง โดยดำเนินโครงการด้วยการใช้หลัก 2R2P คือการเตรียมพร้อม การเผชิญเหตุ การฟื้นฟูหลังน้ำลด และการป้องกันระยะยาว โดยให้ทุกหน่วยงานแก้ไขปัญหาอุทกภัยร่วมกัน พร้อมทั้งพิจารณาให้อ.บางระกำ เป็นพื้นที่นำร่องแก้ไขปัญหาอุทกภัยอย่างบูรณาการภายใต้ชื่อ บางระกำโมเดล  ซึ่งขณะนี้ทางรัฐบาลได้อนุมัติงบประมาณเพื่อทำแก้มลิงไว้แล้วกว่า 925 ล้านบาท

 

วิบูลย์ ตั้งเกษมวิบูลย์

นายวิบูลย์  ตั้งเกษมวิบูลย์ นายก อบต.บางระกำ   กล่าวว่า ต.บางระกำ มีประชาชน 3,800 ครัวเรือน ถูกน้ำท่วมขังจำนวน 3,200 ครัวเรือน ซึ่งเป็นปัญหาที่ชาวบ้านต้องเผชิญกับน้ำท่วมเป็นประจำทุกปี  แนวคิดการแก้ไขปัญหา ตามมุมอมองของตนเอง คงไม่ต้องมีการปรับวิถีชีวิต แต่ให้ปรับเปลี่ยนพื้นที่ ให้ชาวบานสามารถอยู่กับพื้นที่ที่มีน้ำได้  ด้วยการทำถนนให้สูง เช่น ขณะนี้น้ำท่วมจาก พื้นถนน 2 เมตร เราก็ถมถนนให้สูงขึ้นอีก  2 เมตรให้พ้นน้ำ เพื่อให้ประชานที่ถูกน้ำท่วมมาอาศัยบนถนนได้   จากที่ประชาชนต้องนั่งเรือไกล 2-3 กิโลเมตรเพื่ออาศัยอยู่บนพื้นที่สูง  ก็ทำถนนให้ใกล้กับชาวบ้าน นั่งเรืออย่างน้อย 200-300 เมตร ก็ได้ที่พักหลบจากพื้นน้ำแล้ว   ถนนที่ทำจะต้องมีประตูระบายน้ำ และปรับพื้นที่ให้สามารถเก็บน้ำปล่อยปลา ทำพื้นที่ให้เกิดประโยชน์ ตามแนวคิด ในน้ำมีปลาในนามีข้าว แผ่นดินของเราอันแสอุดมสมบูรณ์  เพราะปัญหาน้ำท่วมพื้นที่เกษตรเสียหายทุกคนพอ จะยอมรับได้ แต่การไม่มีที่พักอาศัยหลบน้ำช่วงน้ำมามากสำคัญกว่า จึงอยากให้ปรับพื้นที่ให้เข้ากับท้องถิ่น บางระกำโมเดล จึงไม่จำเป็นต้องทุ่มงบประมาณแก้ไขปัญหาเสียทุกเรื่อง ส่วนเรื่องแก้มลิง ก็เป็นอีกแนวคิดที่สามารถแก้ไขปัญหาได้แต่ต้องใช้เวลานาน วันนี้ตามความคิดผมควรต้องเร่งทำถนนให้สูงก่อน

ร่วมสัมมนา

/////

มีภาพวีดีโอครับ

[media id=70 width=480 height=360]

แสดงความคิดเห็น