วิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านท่าช้าง

เห็ดนางฟ้าในโอ่ง

ด้วยเบื่ออาชีพลูกจ้าง แม้จะได้เงินต่อเดือนมากพอควร แต่ก็เสียโอกาสในใช้ชีวิตร่วมครอบครัว วิมล  ฟักทอง แม่บ้านวัย 33 ปี จึงตัดสินใจลาออกจากงานมาหาอาชีพใหม่เอาดาบหน้า ลงด้วยการเรียนรู้เพาะเห็ดฟางแบบเริ่มต้นนับหนึ่งเมื่อปี 2549 ผ่านมาเพียง 5 ปี ได้พัฒนาจากทำคนเดียวมาเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดฟางบ้านท่าช้าง ที่เข้มแข็งและแข็งแรงในด้านธุรกิจเป็นอย่างมาก สร้างรายได้ให้ตนเองและสมาชิกกลุ่ม ได้เงินใช้เป็นรายวัน รายเดือน และรายปี

ออกบูธขายก้อนเห็ดตามงานต่างๆ

 

นางวิมล  ปักทอง ประธานกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดฟางบ้านท่าช้าง ม.2 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก เปิดเผยว่า เดิมตนประกอบอาชีพเซลขับรถ เก็บเช็คขายสินค้าของเด็กเล่น ต้องตระเวนขับรถไปทั่ว 17 จังหวัดภาคเหนือ สามีก็ทำงานประจำ แม้จะมีเงิน30,000-40,000 บาทต่อเดือน แต่ก็ต้องสูญเสียโอกาสในการใช้ชีวิตครอบครัวแบบพร้อมหน้ากันพ่อ-แม่-ลูก

ทำเชื้อก้อนเห็ดขาย

จึงเกิดความเบื่อในงานเดิม จึงตัดสินใจลาออกแล้วหางานใหม่ กับมาอยู่บ้าน มองว่าอาชีพเพาะเห็นฟางเป็นทางเลือกที่ดี ทำงานที่บ้าน มีเวลากับครอบครัว จึงเริ่มต้นทดลองทำเรื่อยมาจากการนับหนึ่งใหม่หมด ศึกษาวิธีการเพาะเห็ด การผสมก้อนเห็ดด้วยขี้เรื่อย การผสมเชื้อเห็ด และเริ่มมีลูกค้าจากการขายดอกเห็ดสด ๆ และขายก้อนเชื้อเห็ด

 

เมื่อทำมาตั้งแต่ปี 2549 เริ่มสะสมกำไร มีเงินทุนขยายโรงเรือนเหาะเห็ด มีเงินทุนในการสั่งซื้ออุปกรณ์จากแหล่งจำหน่ายโดยตรง ทำให้สามารถสั่งซื้ออุปกรณ์การเพาะเห็ดต่าง ๆ ทั้งเห็ดฟาง เห็ดนางฟ้า เห็ดฮังการี เห็ดภูฐานดำ เป็นต้น ได้ในราคาถูกขึ้น ต้นทุนต่ำลง เริ่มขยายกิจการให้ใหญ่ขึ้น และเริ่มประสบความสำเร็จในตัวเอง ชาวบ้านได้เห็นเป็นแบบที่ดี หน่วยงานราชการพัฒนาชุมชน เข้ามาแล้วสนับสนุนให้จดเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชน ระดมสมาชิกเป็นชาวบ้านในพื้นที่มาร่วมทุน จดทะเบียนเป็นกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดฟางบ้านท่าช้างเมื่อปี 2553 รัได้รับงบประมาณสนับสนุนจากพัฒนาชุมชนจำนวน 50,000 บาทและรับสมัครสมาชิก เปิดขายหุ้นละ 100 บาท ปัจจุบันมีหุ้นประมาณ 5,800 หุ้น จากสมาชิก 72 คน

 

ทำเชื้อก้อนเห็ดขาย

นางวิมล เผยต่อว่า สำหรับตนที่เป็นผู้เริ่มต้น และเป็นผู้ลงทุนในด้านอุปกรณ์ต่าง ๆ มาตั้งแต่แรก ได้ตีค่าอุปกรณ์ต่าง ๆ เป็นหุ้น รวมแล้วตนถือหุ้นในกลุ่มวิสาหกิจฯประมาณ 40 % และตนทำหน้าที่ในการบริหารงานกลุ่ม เป็นตัวหลักในการหาตลาดลูกค้าต่าง ๆ ซึ่งการบริหารงานนั้น ในแต่ละวัน กลุ่มจะมีสมาชิกมาทำงานประจำจำนวน 7 คน ได้ให้รายแรงเป็นรายวันแก่ผู้ทำงาน ผู้ชายวันละ 200 บาท ผู้หญิงวันละ 180 บาท และถึงสิ้นปี จะปันผลกำไรให้สมาชิกร้อยละ 3 ต่อหนึ่งหุ้น ส่วนตนก็ได้รับรายได้จากการบริหารจัดการและเงินปันผลเช่นกัน

 

สำหรับผลผลิตของกลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดฟางบ้านท่าช้างนั้น มาจากลูกค้าหลัก ๆ ที่ซื้อก้อนเชื้อที่กลุ่มผลิต แล้วนำไปเพาะเลี้ยงต่อเพื่อเก็บดอกเห็ดขาย ขายได้เฉลี่ยเดือนละ 15,000 ก้อน ในราคาก้อนละ 8 บาท มีรายได้จากขายก้อนเห็ดประมาณเดือนละ 100,000 บาท นอกจากนี้ ยังมีรายได้อีกส่วนในการเก็บดอกเห็ดขาย

 

เห็ดนางฟ้าดอกโต ๆ ผลผลิตในโอ่ง

นางวิมล เผยต่อว่า ข้อดีในการจัดตั้งเป็นวิสาหกิจชุมชนคือ ได้รับการสนับสนุนจากหน่วยงานภาครัฐ ทั้งการสนับสนุนให้ออกบูธตามงานขายสินค้าโอท็อปตามอำเภอต่าง ๆ ในพิษณุโลก ได้รับความรู้การบริหารจัดการ ได้กลุ่มสมาชิกที่เข้ามาเป็นแรงงาน สามารถขยายตลาดได้มากและเร็วขึ้น และได้รับความน่าเชื่อถือมากขึ้น ขณะนี้กลุ่มวิสาหกิจฯได้ขอกู้เงินจากธนาคารออมสินจำนวน 500,000 บาท เพื่อนำมาสร้างโรงเรือนแห่งใหม่ และได้รับการอนุมัติเงินกู้แล้ว มีกำหนดชำระเงินคืนภายใน 5 ปี อาจจะต้องประชุมสมาชิกขอลดเงินปันผลในแต่ละปี

 

นอกจากการทำก้อนเห็ดขายเป็นหลักแล้ว กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเพาะเห็ดบ้านท่าช้างยังเป็นต้นแบบในการเพาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง ที่ใช้โอ่งดิน ที่อาจจะแตกร้าวเป็นวัสดุเหลือใช้ มาโอ่งดินมาทำเป็นโรงเรือน แล้วนำก้อนเห็ดมาวางบนไม้ในโอ่ง

เห็ดนางฟ้าดอกโต ๆ ผลผลิตในโอ่ง

โดยวางแบบนอนตะแคง จากนั้นรดน้ำไหลลงไปด้านล่างของไม้ และปิดปากโอ่งด้วยกระสอบ น้ำที่อยู่ด้านล่างของโอ่ง เป็นตัวให้ความชื้นกับเชื้อเห็ดอย่างสม่ำเสมอ เห็ดสามารถออกดอกได้เหมือนโรงเรือนเพาะเห็ดทั่วไป วิธีนี้อาจจะได้เห็ดปริมาณน้อยกว่าการเพาะในโรงเรือน แต่เป็นการนำวัสดุเหลือใช้มาใช้ประโยชน์ ประหยัดพื้นที่และมีต้นทุนต่ำ สนใจเรียนรู้วิชาชีพการเพาะเห็ด สามารถติดต่อได้ที่กลุ่มวิสาหกิจชุมชนเห็ดบ้านท่าช้าง ม.2 ต.ท่าช้าง อ.พรหมพิราม จ.พิษณุโลก 65150 โทรศัพท์ 081-6758839 084-6225879 หรืออีเมล์ [email protected]

น่าสนใจเหาะเห็ดนางฟ้าในโอ่ง

แสดงความคิดเห็น