ดันแผนเร่งด่วนแก้ท่วมยม-น่านใช้งบ3,231 ล้านบ.

แก้ไขน้ำท่วมลุ่มน้ำยม-น่าน

เวลา  09.00 น.วันที่ 31 สิงหาคม 2554 ที่โรงแรมลาพาโลมา อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีกรมชลประทาน นายจตุพร  บุรุษพัฒน์   อธิบดีกรมทรัพยากรน้ำ ร่วมเป็นประธาน   สัมมนาแนวทางและโครงการเร่งด่วนการบริหารจัดการน้ำและพัฒนาลุ่มน้ำยม ลุ่มน้ำน่าน ปีงบประมาณ 2555 

 

 เป็นการประชุมเชิงปฏิบัติการ หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ประกอบด้วย ผู้ว่าราชการจังหวัด   เจ้าหน้าที่ชลประทาน กรมทรัพยากรน้ำ ผู้นำท้องถิ่น จากพื้นที่  8 จังหวัดภาคเหนือตอนล่าง ประกอบด้วย จังหวัดแพร่ น่าน อุตรดิตถ์ พิษณุโลก พิจิตร สุโขทัย กำแพงเพชร   และนครสวรรค์   จำนวนกว่า 500 คน   เพื่อพิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยซ้ำ และการบริหารจัดการลุ่มน้ำให้มีประสิทธิภาพ 

แก้ไขน้ำท่วมลุ่มน้ำยม-น่าน

 

นายชลิต ดำรงศักดิ์ อธิบดีชลประทาน กล่าวว่า การมาสัมมนาในวันนี้ เนื่องจาก นายกรัฐมนตรีและคณะได้ติดตามสถานการณ์น้ำท่วมในหลายพื้นที่ จึงให้ทางกระทรวงเกษตรและสหกรณ์และกระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม พิจารณาแนวทางการแก้ไขปัญหาการเกิดอุทกภัยซ้ำซาก โดยเร่งศึกษาทบทวนโครงการที่สามารถดำเนินการได้ระยะเร่งด่วน จึงเดินทางมารับฟังความคิดเห็นของส่วนราชการในพื้นที่ จะได้ทราบปัญหา ความต้องการ เพื่อวางแผนบรรเทาปัญหาน้ำท่วมและการขาดแคลนน้ำได้อย่างตรงจุด โดยแผนงบประมาณในครั้งนี้ต้องเร่งทำส่งรัฐบาลให้ทันภายในวันที่ 16 กันยายน 2554 นี้ เพื่อจะได้ดำเนินการโครงการได้ทันปี งบประมาณ 2555  นี้

 

โดยมีกรมทรัพยากรน้ำเสนอแผนงานโครงการเร่งด่วนพื้นที่ลุ่มน้ำยม-น่าน  ประกอบด้วยโครงการ อนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำโครงการก่อสร้างอ่างเก็บน้ำโครงการก่อสร้างฝ่ายน้ำล้น และติดตั้งระบบเตือนภัยวิกฤติน้ำ จำนวน 29 โครงการ วงเงิน2,189.59 ล้านบาท    แบ่งเป็นลุ่มน้ำยม  มีแผนงาน 16 โครงการ  งบประมาณ 1,743.94 บาท   สามารถเก็บกักน้ำได้ 54.39ล้าน ลบ.ม.   ลบงโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ 11 โครงการ สามารถเก็บกักน้ำได้ 36.5 ลบ.ม   งบประมาณ 1,044.1  ล้านบาท  โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้น 2 โครงการ สามารถเก็บกักน้ำได้ 2.99 ล้านลบ.ม   งบประมาณ 111.4 ล้านบาท  โครงการสร้างอ่างเก็บน้ำ 2 โครงการ สามารถเก็บกักน้ำได้ 14.84 ล้าน ลบ.ม   งบประมาณ 519 ล้านบาท โครงการเตือนภัย ในพื้นที่ลาดเชิงเขา  จำนวน 112 สถานี ครอบคลุมพื้นที่  326 หมู่บ้าน งบประมาณ 69.44 ล้านบาท

 

แก้ไขน้ำท่วมลุ่มน้ำยม-น่าน

ลุ่มน้ำน่าน มีแผนโครงการ 13  โครงการ งบประมาณ 445.66 ล้านบาท โครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูแหล่งน้ำ  10 โครงการ งบประมาณ 221.09 ล้านบาท โครงการก่อสร้างฝายน้ำล้น งบประมาณ66.8 ล้านบาท  โครงการจัดทำแผนแม่บทแก้ไขปัญหาวิกฤติน้ำ ลุ่มน้ำน่าน งบประมาณ 35 ล้านบาท โครงการเตือนภัย ในพื้นที่ลาดเชิงเขา จำนวน 198  สถานี ครอบคลุมพื้นที่ 575หมู่บ้าน  งบประมาณ 122.76 ล้านบาท  นอกจากนี้ ยังมีโครงการอนุรักษ์ฟื้นฟูหนอง บึง ขุดสระน้ำ อ.บางระกำ จ.พิษณุโลก งบประมาณ 1,042 ล้านบาท   

 

อธิบดีกรมชลประทานกล่าวต่อว่า ท่านนายกรัฐมนตรีได้ให้ให้ทางกรมชลประทานประสานกับกรมทรัพย์ยากรน้ำเพื่อหาเพื่อเร่งแก้ไขปัญหาน้ำท่วมอย่างเร่งด่วน ซึ่งต้องแก้ไขและบริหารจัดการน้ำทั้งลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่าน เพราะต้องสองลุ่มน้ำมีความเกี่ยวโยงกัน   สำหรับแนวทางที่คณะรัฐมนตรีได้ให้ไว้เรื่องการสร้างสถานที่กักเก็บน้ำที่ลุ่มน้ำยม ส่วนเรื่องการสร้างแก่งเสือเต้นนั้นมีปัญหาเรื่องความเดือดร้อนของประชาชนในพื้นที่ตอนนี้ได้มีการปรับเปลี่ยนแนวทางคือการสร้างเขื่อนขนาดกลางบริเวณเหนือจุดที่จะสร้างเขื่อนแก่งเสือเต้นออกไป  25 กิโลเมตร จะสามารเก็บน้ำได้ 500 ล้านลูกบาศก์เมตร และสร้างเขื่อนตอนล่างห่างจากจุดที่จะสร้างแก่งเสือเต้นลงไป 12.5 กิโลเมตร ก็จะสามารถเก็บน้ำได้ ประมาณ 100 ล้านลูกบาศก์เมตร   เมื่อเทียบกับแก่งเสือเต้นที่จะสามารถเก็บน้ำด้ 1,200 ล้านลูกบาศก์เมตร  แต่ก็จะสามารถบรรเทาความเดือดร้อนของประชาชนลงได้มีมติให้ดำเนินการสร้างเขื่อนทั้งสองแห่งน่าจะแล้วเสณ็จภายใน 3 ปี   ซึ่งปัญหาส่วนใหญ่การสร้างโครงการต่างๆขึ้นอยู่กับประชาชนในพื้นที่ ว่าประชาชนมีความต้องการมากน้อยเพียงใด ที่เราต้องมาประชุมในวันนี้เพื่อเร่งสรุปและนำเสนอเพื่อนำโครงการต่างๆให้ผ่านปีงบประมาณ 2555 ให้เร็วที่สุด

สำหรับสถานการน้ำในขณะนี้เมื่อคืนที่ผ่านมามีฝนตกลงมาในเขตจ.เพชรบูรณ์มาก ทำให้มีน้ำป่าได้บ่าเข้าท่วมบ้านเรือนราษฎรใน ต.ชมพู อ.เนินมะปราง และปริมาณน้ำวังทองเพิ่มสู.ขึ้นอย่างรวดเร็ว  ปริมาณน้ำที่อ.วังทอง จ.พิษณุโลก  ส่วนปริมาณน้ำในแม่น้ำยมและแม่น้ำน่าน ได้มีปริมาณที่ทรงตัวและลดลงซึ่งตอนนี้ปัญหาเรื่องน้ำจะลงไปอยู่ที่จ.นครสวรรค์จำนวนมากและมีปริมาณน้ำเพิ่มขึ้นอีก  วันนี้ปริมาณน้ำจะผ่านเขื่อนเจ้าพระยาอยู่ที่ 2,100-2,200 ลูกบาศก์เมตร/วินาที  เพื่อเร่งระบายน้

 

การจัดการปัญหาในลุ่มน้ำยมและลุ่มน้ำน่านนั้น ต้องทำ 3 ประการควบคู่กันไป ประการแรกแหล่งต้นน้ำที่เสื่อมโทรต้องดูแล แหล่งต้นน้ำเดิมต้องปลูกใหม่ ถ้าไม่ดูแลจะเกิดความถี่ของดินถล่ม น้ำป่าไหลหลาก  ประการที่สอง ส่วนสิ่งที่เสื่อมโทรไปแล้วก็ต้องปลูกป่าเพิ่ม คู คลอง ก็ต้องทำให้ดีฟื้นฟู และประการสุดท้ายต้องใส่สิ่งก่อสร้างใหม่ลงไป ที่ผ่านมาเราไม่ได้มองสองส่วนแรก เรามองแต่สิ่งก่อสร้างใหม่ ทำให้ปัจจุบัน เราไม่สามารถบริหารจัดการน้ำได้

แสดงความคิดเห็น