พิจิตรอ่วม!น้ำยมและน้ำน่านท่วมชาวบ้านเดือดร้อน 12 อำเภอ

ศูนย์อำนวยการเฉาพะกิจช่วยเหลือผู้ประสบอุทกภัย วาตภัย และดินถล่ม  จังหวัดพิจิตร สรุปสถานการณ์อุทกภัยในพื้นที่จังหวัดพิจิตร  ตั้งแต่ 2  สิงหาคม 2554  เนื่องจากหย่อมความกดอากาศต่ำกำลังแรงที่อ่อนกำลังลงจากพายุดีเปรสชั่น “นกเตน”ปกคลุมภาคเหนือ ตั้งแต่วันที่ 31 กรกฏาคม 54 และร่องมรสุมพากผ่านภาคเหนือช่วงวันที่ 8 สิงหาคม 54 เป็นต้นมา ส่งผลให้ฝนตกติดต่อกันหลายวัน เป็นเหตุให้เกิดน้ำไหลหลากและเอ่อท่วมในพื้นที่ 12 อำเภอ 73 ตำบล  446 หมู่บ้าน  พื้นที่ทางการเกษตรนาข้าวได้รับผลกระทบ 141,409 ไร่ พืชสวน   112 ไร่  บ่อปลาได้รับความเสียหาย 15  บ่อ ถนนลูกรัง ชำรุด 39 สาย  ท่อระบายน้ำ 4 แห่ง  ราษฏรได้รับผลกระทบจำนวน  31,908  ครัวเรือน มีผู้เสียชีวิตจากการจมน้ำ 8 ราย

 

สถานการณ์ปัจจุบันอุทกภัยยังส่งผลกระทบ พื้นทีราบลุ่มแม่น้ำยม แม่น้ำยมเอ่อเข้าท่วมในพื้นที่ทั้งสองฝั่ง ระดับน้ำเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง  มีพื้นที่ถูกน้ำท่วม 5 อำเภอ 24  ตำบล 176  หมู่บ้าน   ประกอบด้วย  วชิระบารมี  อำเภอสามง่าม  โพธิ์ประทับช้าง   อำเภอบึงนาราง และอำเภอโพทะเล  ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ Y 17 อำเภอสามง่าม ระดับน้ำ 6.84   เมตร   สูงกว่าจุดวิกฤติ 1.28 เมตร   ที่สถานีวัดน้ำ Y5 อำเภอโพทะเล  ระดับน้ำ  8.80 เมตร  สูงกว่าจุดวิกฤติ   1.85 เมตร

พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำน่าน น้ำในแม่น้ำน่านมีระดับสูงมีผลให้พื้นที่ราบลุ่มแม่น้ำเกิดน้ำท่วม 3 อำเภอ 33  ตำบล  201  หมู่บ้าน  สามอำเภอประกอบด้วย อำเภอเมืองพิจิตร  อำเภอตะพานหิน  และอำเภอบางมูลนาก  ระดับน้ำที่สถานีวัดน้ำ N 7A อำเภอเมืองพิจิตร ระดับน้ำ 11.39  เมตร  สูงกว่าจุดวิกฤติ  1.18 เมตร  ที่สถานีวัดน้ำ N 8A อำเภอบางมูลนาก  ระดับน้ำ 11.63   เมตร  สูงกว่าจุดวิกฤติ 76 เซนติเมตร

 

 

แสดงความคิดเห็น