นายปรีชา เรืองจันทร์ ผู้ว่าราชการจังหวัดพิษณุโลก กล่าวว่า สภาวะฝนตกหนักส่งผลกระทบต่อความเสียหายของพืชผลการเกษตรเป็นจำนวนมาก โดยจังหวัดพิษณุโลกมีอำเภอที่ได้รับความเสียหาย ได้แก่ อำเภอเมืองพิษณุโลก อำเภอพรหมพิราม และอำเภอบางระกำ ซึ่งเป็นอำเภอที่มีลักษณะเป็นพื้นที่ราบลุ่ม โดยเฉพาะอย่างยิ่งอำเภอบางระกำจะถูกน้ำท่วมขังเกือบทั้งปี
สำหรับความเสียหายที่เกิดจากสถานการณ์อุทกภัย ปี 2554 ณ ปัจจุบัน จังหวัดพิษณุโลกได้รับผลกระทบจากความเสียหายทั้ง 9 อำเภอ 80 ตำบล 652 หมู่บ้าน โดยมีครัวเรือนที่ได้รับผลกระทบจำนวน 33,722 ครัวเรือน พื้นที่การเกษตรเสียหาย 321,001 ไร่ การให้ความช่วยเหลือ ในเบื้องต้น จนถึงวันที่ 25 สิงหาคม 2554 จังหวัดพิษณุโลกได้ดำเนินการช่วยเหลือผู้ประสบภัยจำนวน 411,560 บาท พืชและการเกษตรอื่นๆ 3,367,353 บาท ปศุสัตว์ 14,320 บาท ประมง 1,666,385 บาท ด้านการป้องกันและบรรเทาสาธารณภัย 126,398,869 บาท และด้านการปฏิบัติการให้ความ ช่วยเหลือผู้ประสบภัยอีก 313,185 บาท รวมใช้งบประมาณในการให้ความช่วยเหลือในเบื้องต้นเป็นเงินจำนวน 132,171,612 บาท
นายปรีชา กล่าวว่า จากข้อมูลการเกิดอุทกภัยมีผลกระทบต่อพื้นที่การเกษตรและประชาชนเป็นจำนวนมาก สำหรับการแก้ไขอย่างเป็นระบบทั้งในระยะเร่งด่วนและในระยะยาว จะดำเนินการด้วยการปรับปรุงระบบผันน้ำยม – น่าน เพื่อบริหารจัดการน้ำให้น้ำไหลได้สะดวก และบริหารจัดการผันน้ำอย่างเป็นระบบโดยเฉพาะอย่างยิ่งต้องใช้ระบบ Water Way ซึ่งมีแนวคิดที่ว่าบนถนนมีเส้นทางด่วนเพื่อให้รถเคลื่อนตัวได้สะดวกเรียกว่า Motor Way ในขณะเดียวกันน้ำก็จำเป็นจะต้องมีระบบผันน้ำให้ใหลลงสู่อ่าวไทยอย่างรวดเร็วก็จะเป็นจะต้องมี Water Way เช่นเดียวกัน ซึ่งจะต้องดำเนินงานอย่างเร่งด่วน
1) จะต้องดำเนินการปรับปรุงและสร้างเส้นทางการเดินของน้ำโดยผันน้ำจากแม่น้ำยม สู่แม่น้ำน่านบริเวณคลองหกบาท อำเภอสวรรคโลก จังหวัดสุโขทัย ลงแม่น้ำน่าน ณ อำเภอตรอน จังหวัดอุตรดิตถ์ มีโครงการที่จะต้องดำเนินการ คือ ก่อสร้างประตูระบายน้ำคลองผันน้ำสวรรคโลก-พิชัย พร้อมอาคารประกอบ งบประมาณเป็นเงินจำนวน 150.00 ล้านบาท
2) จะต้องผันน้ำจากแม่น้ำยมในเขตอำเภอบางระกำลงสู่แม่น้ำน่านด้วยการขุดลอกคลองระบายน้ำ DR 2.8 และ DR 15.8พร้อมปรับปรุงอาคาร 30 ล้านบาท และปรับปรุงประตูระบายน้ำบางแก้วงบประมาณ 150 ล้านบาท
3) ดำเนินการก่อสร้างแก้มลิง บึงตะเคร็งเพื่อเป็นแหล่งกักเก็บน้ำและใช้ประโยชน์ทั้งในฤดูฝน และในฤดูแล้งบนพื้นที่สาธรณประโยชน์ 1,300 ไร่ งบประมาณ 200ล้านบาท ซึ่งจะทำให้สามารถเก็บกักน้ำไว้ใช้ประโยชน์ถึง 6,000,000 ลูกบาศก์เมตร และใช้งบประมาณเป็นเงินรวม 530 ล้านบาท
4) ปรับปรุงแหล่งเก็บกักน้ำขนาดเล็กอื่นๆ เพื่อให้ครอบคลุมทุกพื้นที่ทั้งจังหวัด เช่น แก้มลิงบึงขี้แร้ง บึงกุงกรัก บึงระมาณ บึงธรรมโรง และบึงที่สำคัญในแต่ละอำเภอ เพื่อจัดทำเป็นแก้มลิงรองรับน้ำไว้ใช้ประโยชน์ทั้งในฤดู