เยี่ยม2นร.ใต้โรงเรียนอุปถัมป์จุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยพิษณุโลก

ที่โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย ต.มะขาม อ.เมือง จ.พิษณุโลก นายอนุศักดิ์  อายุวัฒนะ รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนาการศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ ( สพก.จชต.) พร้อมคณะมาตรวจเยี่ยมผลการเรียนและชีวิตความเป็นอยู่ของ 2 นักเรียนจาก 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่มาศึกษา ณ โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยพิษณุโลก ภายใต้โครงการโรงเรียนอุปถัมป์ ( ครอบครัวอุปถัมป์ ) ปีการศึกษา 2554 มีนายธงชัย  พงษ์ประพันธ์  ผอ.โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยพิษณุโลก และพ.ต.อ.เชิดศักดิ์  พูลเผ่าดำรง ผกก.สภ.พรหมพิราม บรรยายสรุป

 

โรงเรียนอุปถัมป์

 

นายอนุศักดิ์  อายุวัฒนะ รองผู้อำนวยการ สำนักพัฒนากรศึกษาเขตพัฒนาพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้ เปิดเผยว่า เนื่องจากสถาณการณ์ความไม่สงบในพื้นที่จังหวัดชายแดนภาคใต้ ทำให้มีการหยุดเรียนบ่อย นักเรียนไม่ได้รับการเรียนการสอนอย่างเต็มศักยภาพ ปี 2548 นักงานคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐานจึงนำนักเรียนชั้นมัธยมในเขตพิเศษเฉพาะกิจจังหวัดชายแดนภาคใต้เข้ามาเรียนในโรงเรียนที่มีชื่อเสียงในกรุงเทพมหานครฯ เพื่อจัดารการสอนให้นักเรียนเตีรยมเข้าระดับอุดมศึกษา นักเรียนได้เรียนรู้ความเป็นไทย และการอยู่ร่วมกันอย่างสมานฉันท์ ต่อมาปี 2550 ได้จัดโครงการครบครัวอุปถัมป์ และปี 2551 ได้ปรับมาเป็นโครงการโรงเรียนอุปถัมป์ รับนักเรียนจากใต้ตั้งแต่ชั้นม.4-6 เข้ามาเรียนจากโรงเรียนอุปถัมป์ที่เปิดรับทั่วประเทศ  ในปี 2554 มีโรงเรียนเข้าร่วมโครงการเพิ่มเป็น 73 โรงเรียน และคัดเลือกนักเรียนจากใต้มาเรียน 250 คน

 

โรงเรียนอุปถัมป์

สำหรับโรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัยพิษณุโลกนั้น ในปีการศึกษา 2552 ได้รับนักเรียนในโครงการ 1 คน คือ น.ส.ซีตาร์  คาน ( ซีตาร์ ) ในชั้นม .4 นักเรียนจากจ.นราธิวาส และปีการศึกษา 2553 รับเพิ่มอีก 1 คน คือน.ส.อารีฟะ  เลาะบือสา ( ฟา ) นักเรียนจากจ.ยะลา ทั้งสองได้มาเรียนกินนอนอยู่ที่โรงเรียนจุฬาภรณ์ราชวิทยาลัย โดยมีครูดวงใจ  พรหมมา ครูชำนาญการพิเศษเป็นผู้ดูแล และผลการเรียน การปรับตัวการใช้ชีวิตเป็นที่น่าพึงพอใจ ทั้งสองสามารถปรับตัวแลกเปลี่ยนวัฒนธรรมกับเพื่อนนักเรียนได้เป็นอย่างดี ผลการเรียนมีสถิติดีขึ้นตามลำดับ

 

น.ส.ซีตาร์  คาน เปิดเผยว่า พอใจมากที่ได้เข้ามาร่วมโครงการโรงเรียนอุปถัมป์ ทำให้ผลการเรียนดีขึ้น  ได้เรียนรู้แลกเปลี่ยนวัฒนธรรมต่างถิ่น และสามารถปรับตัวได้ เป้าหมายอยากเรียนต่อที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ส่วนน.ส.อารีฟะ  เลาะบือสา เปิดเผยว่า อยากให้นักเรียน 3 จังหวัดชายแดนใต้สมัครเข้ามาในโครงการนี้ มีประโยชน์ต่อการศึกษาและอนาคตของนักเรียน เป้าหมายตนอยากเรียนต่อจนจบทำงานเป็นล่ามแปลภาษา

 

แสดงความคิดเห็น