“มะข่วง” หลายคนอาจยังไม่เคยเห็น

“คมดงเสือ”

(16 ส.ค. 54)

 

ผมได้มีโอกาสเดินทางไปเที่ยวหาแม่ยายผม ที่ อ.ทุ่งเสลี่ยม จ.สุโขทัย เมื่อสัปดาห์ที่สองคนเดือนสิงหาคม ที่ผ่านมา จากพิษณุโลกไปถึงบ้านทุ่งเสลี่ยม ให้เวลาประมาณชั่วโมงครึ่งได้  อ.ทุ่งเสลี่ยม นั้น คนท้องถิ่น เขาจะเรียกว่า “เหมืองนา” ซึ่งก็ค่อยแน่ใจว่ามันแปลว่าอะไร เป็นอำเภอที่ค่อนข้างใหญ่ อาณาเขตติดกับ อ.เถิน จ.ลำปาง ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่ ก็จะเป็นคนเหนือ พูดคำเมือง กันแล้ว  ซึ่งผมค่อนข้างฟังออกแต่พูดไม่ได้ (ประมาณมั่วได้ครับ)

 

ผมไปที่ไหน ชอบไปเดินตลาด หาของแปลกๆ ดู และที่นี้ก็เหมือนกัน เป็นตลาดชาวบ้าน ก่อนถึงตัวอำเภอทุ่งเสลี่ยม ประมาณ 8 กม. ในตลาดสด ก็จะมีอาหาร ผัก ผลไม้ ปลามากมาย เห็นแล้ว ก็สดชื่น บ่งบอกว่าเศรษฐกิจระดับรากหญ้าที่เราคุ้นเคยเป็นอย่างดี ผู้คนมีความสุข หน้าตาอิ่มเอิบ และแล้ว! ผมก็จะดุจตา ไปเจอเจ้าเมล็ดดำ เล็กๆที่แม่ค้าขายผัก เขานำมาขายเป็นพวง ไม่รู้ว่าเป็นอะไร ผมจึงได้ถามดู จับใจความได้ว่า เมล็ดดังกล่าวคือ “มะข่วง” ผมก็ไม่เข้าใจเท่าไร ว่ามานเอาไว้ทำไร เขาบอกว่าเอาไว้ใส่แกงหน่อไม้ จะให้รสชาติ ที่หอมหวานดี “อืมก็น่าจะใช่ เพราะผมก็ไม่เคยชิมเหมือนกัน”

 

ผมลองสืบค้นเจ้าพ่อ GooGle ว่า มะข่วง คืออะไร ก็ได้มาว่า เป็นไม้ต้นขนาดกลางถึงขนาดใหญ่ชนิด Zanthoxylum rhetsa (Roxb.) DC. ในวงศ์ Rutaceae ต้นและกิ่งก้านเป็นหนาม ใบเป็นใบประกอบ มีใบย่อย ๕-๘ คู่ ผลเล็ก ขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง ๖-๗ มิลลิเมตร ผิวขรุขระ มีกลิ่นฉุนคล้ายกลิ่นลูกผักชี เมล็ดกลมดําเป็นมัน ผลใช้เป็นเครื่องแกงเพื่อชูรส, พายัพเรียก มะข่วง หรือ หมากข่วง.

ก็พอเข้าใจอะไรบ้างแล้วครับ จึงได้นำมาบอกกล่าวแฟนผู้อ่านคอลัมน์ “คุยภาษาบ้านนา” ให้ได้ชมกัน ซึ่งหากมีเกล็ดเล็กๆน้อยๆ ที่น่าเสนอ ก็สามารถร่วมคุยกันได้ครับ หรือต้องการส่งเรื่องมาให้ผมเสนอ ก็ส่งมาได้ที่ [email protected]  หรือ [email protected]

แสดงความคิดเห็น